จับตา Digital Trends ความท้าทายใหม่ที่ใครก็เลี่ยงไม่ได้

SME in Focus
05/02/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 2685 คน
จับตา Digital Trends ความท้าทายใหม่ที่ใครก็เลี่ยงไม่ได้
banner

การระบาดของโควิด 19 ทำให้การใช้ชีวิตเปลี่ยนใหม่เป็นแบบ “new normal” หรือการใช้ชีวิตประจําวันโดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสเพื่อควบคุมการแพร่เชื้อไวรัส ซึ่งมีความจําเป็นต้องพึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น อาทิ การทํางานหรือเรียนหนังสือจากที่บ้านผ่านโปรแกรมประชุมออนไลน์ การสั่งซื้ออาหารและสินค้าต่างๆ ผ่านแอพพลิเคชั่นและช่องทางออนไลน์มากขึ้น รวมถึงการทําธุรกรรม การเงินออนไลน์ และการชําระเงินผ่านแอปพลิเคชันของธนาคารแทนการจ่ายเงินสด สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยเร่งเร้าให้เข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล ที่สำคัญเรื่องนี้ยังเป็นตัวกําหนดทิศทางเศรษฐกิจโลกอีกด้วย

ซึ่งมีประเด็นที่ต้องพิจารณาอยู่จากสถานการณ์ในปัจจุบัน เช่น การใช้ข้อมูลเท็จในการโฆษณาสินค้าเกินความเป็นจริง หรือการบิดเบือนและ/หรือป้อนข้อมูลที่มีเนื้อหารุนแรงเพื่อผลประโยชน์ และสืบเนื่องจากวิกฤติโควิดทําให้บริษัทผู้ให้บริการออนไลน์ยักษ์ใหญ่ อาทิ Google และ Apple มีอํานาจเทียบเท่าหรือเหนือกว่ารัฐบาล ในเรื่องของการกําหนดมาตรฐานของแอปพลิเคชั่นเพื่อติดตามการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด และมีบทบาทสําคัญในชีวิตของผู้บริโภคมากขึ้น ส่งผลให้ภาครัฐตื่นตัวในการออกมาตรการเพื่อควบคุมอิทธิพลของบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ และเปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพเข้ามาแข่งขันได้มากขึ้น

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ด้วยเหตุนี้ ที่ผ่านมาสหภาพยุโรปหรืออียู ได้เสนอร่างกฎหมายการให้บริการดิจิทัล (Digital Services Act – DSA) เพื่อเพิ่มความรับผิดชอบของโซเชียลมีเดียและผู้ให้บริการออนไลน์ ในการกรองข่าวปลอม (fake news) ถ้อยคําที่แสดงความเกลียดชัง (hate speech) โดยผู้ให้บริการออนไลน์ อาทิ Facebook Twitter ต้องมีเครื่องมือในตรวจสอบและลบข้อมูลที่ไม่เหมาะสม/ข้อมูลที่มีการบิดเบือนความจริงออกทันที โดยผู้ให้บริการต้องให้เหตุผลในการลบข้อมูลนั้นออกแก่ผู้ใช้ด้วย และมีบทลงโทษหากผู้ให้บริการออนไลน์ละเลยไม่จัดวางกลไกที่เหมาะสม เพื่อแก้ไขปัญหาข่าวปลอม การลดการผูกขาดของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่

โดยร่างกฎหมายการตลาดดิจิทัล (Digital Market Act – DMA) เพื่อควบคุมบริษัทออนไลน์ยักษ์ใหญ่ หรือบริษัทที่เป็นผู้คุมประตู (Gatekeeper) ระหว่างผู้ใช้กับผู้ให้บริการจํานวนมาก ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Google บริษัท Amazon และบริษัท Booking.com เนื่องจากปัจจุบันบริษัทเหล่านี้สามารถเก็บข้อมูล ความสนใจของผู้ใช้และเลือกนําเสนอโฆษณาของบริษัทตนเอง ทําให้บริษัท SME ไม่มีทางเข้าถึงผู้บริโภคได้

ดังนั้นกฎหมายฉบับนี้จะห้าม “บริษัทผู้คุมประตู” ไม่ให้มีแนวปฏิบัติที่ถือว่ากระทบต่อการแข่งขันที่เป็นธรรมในตลาดออนไลน์ เพื่อป้องกันการผูกขาดบริการออนไลน์และส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม โดยเฉพาะสนับสนุนให้บริษัทสตาร์ทอัพมีโอกาสแข่งขันในตลาดออนไลน์มากขึ้น มีการจัดเก็บภาษีดิจิทัลจากบริษัทยักษ์ใหญ่เพื่อเยียวยาเศรษฐกิจ

 

จัดเก็บภาษีดิจิทัล ป้องกันผูกขาดการค้า

ในขณะที่มาตรการล็อกดาวน์ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกถดถอย อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และร้านขายปลีกจํานวนมากก็แทบเอาตัวไม่รอด แต่บริษัทยักษ์ใหญ่กลับสร้างรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้บริษัทเหล่านี้มีพลวัตในอุตสาหกรรมดิจิทัลมากขึ้น จึงไม่แปลกใจที่รัฐบาลในหลายประเทศ เริ่มมีการจับตาพฤติกรรมผูกขาดทางการค้าของบริษัทเหล่านี้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น

รวมถึงเสนอให้มีการพิจารณาจัดเก็บภาษีดิจิทัล ซึ่งจะเป็นอีกแหล่งรายได้เพื่อนํามาเยียวยาเศรษฐกิจในยุคโควิด รวมถึงควบคุมสนามการแข่งขันในโลกออนไลน์ให้มีความเป็นธรรมและเท่าเทียมกันมากขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ธุรกิจ SMEs สามารถแข่งขันกับบริษัทยักษ์ใหญ่ได้

อาทิ เมื่อปี 2563 อียูได้มีการเสนอให้เก็บภาษีดิจิทัลในอัตราร้อยละ 3 สําหรับบริษัทที่มีรายได้ 750 ล้านยูโรขึ้นไป แต่ยังไม่ประสบความสําเร็จในการผลักดันมาตรการใหม่นี้ในระดับอียู เนื่องจากไอร์แลนด์ ฟินแลนด์ และสวีเดนลงมติไม่เห็นด้วย ในขณะเดียวกันฝรั่งเศส สเปน อิตาลี และออสเตรีย ได้ออกกฎหมายภายในจัดเก็บภาษีดิจิทัลแล้ว แม้จะยังไม่สำเร็จแต่อียูมีกําหนดเสนอแผนการจัดเก็บภาษีดิจิทัลในไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 นี้

 

ประเทศไทยกับร่างกฎหมายภาษีอี-เซอร์วิส

สำหรับประเด็นเรื่องภาษีดิจิทัล ทำให้นึกโยงมาถึงธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันเริ่มเห็นการผูกขาดการค้าจากแพลตฟอร์มต่างชาติ ทำให้ระเทศไทยเองก็มีร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ (e-Service) ที่ไม่มีสำนักงานอยู่ในประเทศไทย โดยให้ผู้บริการลักษณะอย่างนี้จะต้องมีการจ่ายแวตให้กับประเทศไทยด้วย

โดยการเก็บภาษีจะครอบคลุมทั้งการบริการออนไลน์ของต่างประเทศที่เข้าข่ายในการเสียภาษีดิจิทัล ได้แก่

1. กลุ่มอีคอมเมิร์ซ

2. มีเดีย และแอดเวอร์ไทซิ่ง

3. กลุ่มบริการ

4. กลุ่มทรานส์ปอร์เทชั่น (แอร์ไลน์ )

5. กลุ่มทราเวล

6. ดิจิทัล คอนเทนท์

7. กลุ่มซอฟต์แวร์ 

8. เกม

9. กลุ่มอินฟราสตรัคเจอร์ 

10. บริการการเงิน

11. ฟอเร็กซ์ อินเวสเม้นท์

ซึ่งผู้ให้บริการอยู่ในต่างประเทศและไม่มีการจดทะเบียนหรือตั้งบริษัทลูกในประเทศไทย

การร่างกฎหมายภาษีอี-เซอร์วิส ที่จะจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างประเทศ ซึ่งการที่นานาประเทศออกมาตรการเก็บภาษีจากบริษัทเทคโนโลยีข้ามชาติเหล่านี้ เพื่อความเป็นธรรมต่อผู้ให้บริการในประเทศที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมาย โดยมองว่าบริษัทในประเทศเสียเปรียบต่อแพลตฟอร์มข้ามชาติ ไม่ว่าจะเป็นรายได้หรือต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวจะช่วยสร้างสมดุลให้แก่ทั้งสองฝ่ายมากขึ้น

กล่าวได้ว่าภายใต้การเร่งเร้าของเทคโนโลยี ที่ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและเศรษฐกิจ ดังนั้นมาตรการด้านต่างๆ รัฐเองจะต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัย ขณะที่ธุรกิจเองก็ต้องเร่งปรับตัวให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง เพราะนี่คือยุคที่อะไรก็เกิดขึ้นได้ ถ้าคุณเร็วพอ แต่ก็ควรศึกษากฎหมายและข้อระเบียบที่เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งล่าสุดจะมีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ซึ่งใกล้ตัวและเวลาก็กระชั้นชิดเข้ามาทุกขณะ

 

แหล่งอ้างอิง : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ และคณะผู้แทนไทยประจําสหภาพยุโรป 



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
160 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
383 | 10/04/2024
‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

ถนนลาดยาง คืออะไร?ยางมะตอย By-Product จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ ลักษณะสีดำ ข้น หนืด ด้วยคุณสมบัติที่ทนทานต่อสภาพอากาศ ทนน้ำ ยึดเกาะกับวัสดุหินได้ดี…
pin
1294 | 01/04/2024
จับตา Digital Trends ความท้าทายใหม่ที่ใครก็เลี่ยงไม่ได้