จบยุค Fast Fashion สู่เทรนด์ยั่งยืนที่ผู้ผลิตต้องตามให้ทัน

SME in Focus
07/02/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 4541 คน
จบยุค Fast Fashion สู่เทรนด์ยั่งยืนที่ผู้ผลิตต้องตามให้ทัน
banner

หากนับย้อนไปสัก 20 ปี อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทย นับเป็นอีกหนึ่งรายอุตสาหกรรมที่ทำรายได้อันดับต้นๆ ของประเทศ ขณะที่ข้อมูลจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร ระบุช่วง 11 เดือนแรกปี 2563 ไทยมีการส่งออกสิ่งทอมูลค่า 162,292 ล้านบาท ลดลง 18% ส่วนเครื่องนุ่งห่มมีมูลค่าการส่งออก 60,132 ล้านบาท ลดลง 18% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แถมแนวโน้มยังมีการคาดการณ์ว่าจะยังคงปรับตังลดลงต่อเนื่อง จากปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่ชะลอตัว อัตราค่าระวางเรือที่เพิ่มสูงขึ้น ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ไม่เพียงพอ และการระบาดของโควิด 19 ที่มองว่าแม้จะมีวัคซีนแล้วแต่โควิด 19 ก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกปีนี้ฟื้นตัวได้อย่างเชื่องช้า

ขณะเดียวกัน อีกประเด็นที่น่าสนใจสำหรับวงการสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คือการจบลงของเสื้อผ้าประเภท Fast Fashion และมุ่งสู่มิติด้านความยั่งยืนหรือ Sustainability มากขึ้น ซึ่งเริ่มตั้งแต่การเน้นคุณค่าการใช้งาน อาทิ กระแสการใช้เสื้อผ้ามือสอง กระแสของเสื้อผ้าที่มีกรรมวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการตั้งแต่ผลิต ทำเส้นใย ถักทอ ฟอกย้อม แรงงานตัดเย็บ และการขนส่ง ซึ่งจะเป็นประเด็นที่ผู้บริโภคยุคใหม่ โดยเฉพาะในต่างประเทศให้ความสำคัญมากขึ้น

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

จึงสามารถกล่าวได้ว่า จบยุค ‘Fast Fashion’ สู่เทรนด์ยั่งยืนที่ผู้ผลิตเสื้อผ้ายุคนี้ต้องตามให้ทัน ศักยภาพของสินค้าเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ในตลาดทุกกลุ่มสินค้าตั้งแต่เสื้อผ้า อาหาร เครื่องประทินผิว ฯลฯ มีโอกาสเติบโตสูงมาก โดยกลุ่มแฟชั่นได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นสินค้าที่ถูกมองว่ามีกระบวนการผลิตที่ทำลายสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ผู้บริโภคและทุกภาคส่วนใน Supply Chain ตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการปรับเข้าสู่การเป็น Sustainable

และถึงกระนั้น แม้ว่าปัจจุบันประเทศไทยจะไม่ใช่แหล่งอุปทานนำเข้าสำคัญในกลุ่มสินค้าแฟชั่น ซึ่งปัจจุบันฐานการผลิตส่วนใหญ่มาจากเวียนนาม กัมพูชา บังลาเทศ จีน อินเดีย และเม็กซิโก ที่โรงงานผลิตในลักษณะ Mass Production และไม่ใช่ Sustainable Fashion ประเทศไทยสามารถใช้โอกาสการเติบโตของ Sustainable Fashion สร้างตัวเองเป็นแหล่งอุปทานที่เป็น Niche market ของสินค้ากลุ่มนี้ได้ โดยการผลักดันนักออกแบบและผู้ผลิตสินค้า Sustainable Fashion และผู้ผลิตรายย่อยอื่นๆ ที่มีศักยภาพ ผ่าน Social Media หรือ Virtual Fashion Show ในการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในตลาดโลก

ทั้งนี้ แม้ว่าผู้ประกอบการไทยในกลุ่มสินค้าแฟชั่นโดยเฉพาะกลุ่มสินค้าเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม จะสูญเสียตลาดให้กับประเทศคู่แข่งที่มีต้นทุนค่าแรงงานการผลิตต่ำกว่า แต่หากมองในมุมของการส่งออก สินค้า วัตถุดิบในการผลิตสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่นยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมของไทย ยังถือว่ามีโอกาสในการขยายตลาดค่อนข้างมากในอนาคต

โดยนอกจากไทยจะสามารถเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบ จำพวกขยะพลาสติกที่จะนำมาใช้แปรรูปได้จำนวนมากในระดับราคาถูกแล้ว ไทยยังมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีการแปรรูปขยะรีไซเคิลที่ทันสมัย ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ในอุตสาหกรรมการแปรรูปได้อย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งวัตถุดิบที่สามารถผลิตได้ น่าจะเหมาะกับการทำตลาดกลุ่มผู้ประกอบการสินค้าแฟชั่นรวดเร็ว ที่มักจะเน้นเลือกใช้วัตถุดิบการผลิตสินค้าที่มีราคาต่ำ ซึ่งผู้ประกอบการในตลาดมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในอนาคตด้วย

รวมไปถึงส่งเสริมช่องทางการขายผ่านตลาดออนไลน์โดยตรงสู่ผู้บริโภคในต่างประเทศ การสนับสนุนการสร้างนักออกแบบและผู้ผลิตรายใหม่ที่เน้นการผลิต Sustainable Fashion ทั้งแบบภายใต้แบรนด์ตนเองและที่รับจ้างผลิตให้แก่แบรนด์ต่างๆ ในตลาดสหรัฐฯ และตลาดโลก

ด้วยเหตุนี้ผู้ประกอบการภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ควรผลักดันการสร้างคลัสเตอร์การผลิต Sustainable Fashion ที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการเตรียมการจัดทำระบบข้อมูล ระบบการตรวจสอบย้อนกลับ และระบบการตรวจสอบรับรอง (certification) ที่เกี่ยวข้องให้กับผู้ประกอบการไทย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้นำเข้าและผู้บริโภค รวมไปถึงการพิจารณาความเป็นไปได้ในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ US Cotton Trust Protocol เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบรับรองมาตรฐานต่างๆ ที่จะมีขึ้นในอนาคต

โดยความพร้อมของประเทศไทยที่จะเข้าสู่ตลาดสินค้า Sustainable Fashion สำหรับแบรนด์ไทยที่เป็นที่ยอมรับ อาทิ แบรนด์ Renim Project, แบรนด์ Repleat, แบรนด์ Rubber Killer, แบรนด์ SackItem และแบรนด์ Dry Clean Only ทั้งมีกลุ่มผู้ผลิตรายย่อยหลายรายในระดับภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่มีความสามารถในการผลิตสินค้าจากวัตถุดิบธรรมชาติที่น่าสนใจอีกมาก ที่ยังสามารถต่อยอดในตลาดนี้ได้ ดังนั้นหากมองในมุมนี้ก็ยังเป็นโอกาสที่น่าสนใจ 



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
163 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
388 | 10/04/2024
‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

ถนนลาดยาง คืออะไร?ยางมะตอย By-Product จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ ลักษณะสีดำ ข้น หนืด ด้วยคุณสมบัติที่ทนทานต่อสภาพอากาศ ทนน้ำ ยึดเกาะกับวัสดุหินได้ดี…
pin
1304 | 01/04/2024
จบยุค Fast Fashion สู่เทรนด์ยั่งยืนที่ผู้ผลิตต้องตามให้ทัน