‘เทรนด์แมลง’ อาหารใหม่ที่เป็นมากกว่าความยั่งยืน

SME in Focus
15/02/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 6676 คน
‘เทรนด์แมลง’ อาหารใหม่ที่เป็นมากกว่าความยั่งยืน
banner

การบริโภคแมลงเป็นอาหารมีคำศัพท์เฉพาะในทางวิชาการเรียกว่า “Entomophagyซึ่งมีการประมาณว่า ปัจจุบันมีประชากรเกือบ 2 พันล้านคนทั่วโลกเคยหรือนิยมบริโภคแมลงเป็นอาหาร ซึ่งนับเป็นจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว โดยที่ผ่านมาวงการอุตสาหกรรมอาหารสัตว์มีการนำแมลงไปเป็นส่วนประกอบในอาหารสัตว์หลากหลายชนิด ซึ่งแมลงมีข้อดีหลายอย่างในฐานะแหล่งโปรตีนและไขมัน สามารถทดแทนถั่วเหลืองและปลาป่นในอาหารสัตว์ ที่ปัจจุบันมองว่ามีกระบวนการผลิตเป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ

ตัวอย่างเช่น การปลูกถั่วเหลืองมักปลูกในพื้นที่ป่าฝนที่ต้องปรับหน้าดินก่อน หรือการทำประมงที่มากเกินพอดี ส่งผลให้การเกิดและการเติบโตของสัตว์น้ำไม่สามารถทดแทนปริมาณสัตว์น้ำที่ตายโดยธรรมชาติและที่ถูกจับได้จากการทำประมง เป็นต้น

แมลงยังเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและกินวัตถุดิบเหลือทิ้งได้ แถมการเพาะแมลงไม่ได้กินพื้นที่เพาะเลี้ยงมากนัก ทำให้หลายๆ ธุรกิจมองว่าวัตถุดิบจากแมลงสามารถแข่งขันได้ เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตต่ำแถมยังช่วยโลกได้ด้วย

เหล่านี้คือการเชื่อมโยงการเลี้ยงแมลงเพื่อป้อนอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ขณะที่เรื่องที่เราจะกล่าวถึงในที่นี้คือ แมลงที่เป็นอาหารของมนุษย์ และอย่างที่กล่าวไว้ในข้างต้น คนกว่า 2 พันล้านคนทั่วโลกเคยลิ้มลองแมลง มาดูกันก่อนว่าในแต่ละภูมิภาคเป็นอย่างไรบ้าง

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

เทรนด์การบริโภคแมลงของคนทั่วโลก

แม้เราจะบอกว่าคนกว่า 2 พันล้านคนเคยบริโภคแมลง แต่จะว่าบริโภคเป็นอาหารหลักเลยก็ไม่ได้ เพราะที่ผ่านมาแมลงยังไม่ถูกจัดไว้ในกลุ่มอาหาร อาทิในญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทวีปเอเชียก็มีวัฒนธรรมการนำแมลงมาปรุงเป็นอาหารแต่ยังไม่ใช่อาหารหลักที่คนส่วนใหญ่บริโภค หรือแม้แต่ประเทศไทยก็ยังมีการบริโภคแมลงตามความนิยมแต่ละภูมิภาคและความชื่นชอบส่วนบุคคล ทั้งยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นอาหารหลักที่คนส่วนใหญ่นิยมรับประทานกันเป็นเมื่ออาหารปกติ

ขณะที่ในอเมริกา ลาตินอเมริกา ยุโรป และสแกนดิเนเวีย แม้จะมีวัฒนธรรมในการบริโภคแมลงบางประเภท แต่โดยภาพรวมแล้วแมลงถูกจัดให้เป็นอาหารแนว เปิบพิสดาร เสียมากกว่าการเป็นเมนูขึ้นโต๊ะอาหาร แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับในแอฟริกาที่มีประชากรแมลงเป็นจำนวนมากหลากหลายชนิดและสายพันธุ์ จากรายงานโดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nation หรือ FAO) ระบุว่ามีแมลงที่เหมาะนำมาเป็นอาหารเพื่อการบริโภคของมนุษย์จำนวนมากกว่า 1,900 สายพันธ์ทั่วโลก ซึ่งเกือบ 500 สายพันธุ์เป็นแมลงที่มีการบริโภคเป็นอาหารในหลายประเทศอยู่แล้ว เช่น ตั๊กแตน มด ผึ้ง หนอน ผีเสื้อ และจิ้งหรีด แถมประเทศในแอฟริกายังนิยมรับประทานแมลงเป็นปกติวิสัยอีกด้วย

ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่า การรับประทานแมลงเป็นอาหารเป็นที่นิยมในประเทศ เช่น ไนจีเรีย แอฟริกาใต้ เม็กซิโก อิรัก คูเวต ซีเรีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ กัมพูชา ลาว เวียดนาม รวมถึงไทยด้วย ขณะที่ประเทศอื่นๆ นอกจากนี้โดยเฉพาะในอเมริกาและยุโรป กล่าวว่ายังอยู่ในช่วงการปรับทัศนคติในการบริโภคแมลง เน้นการประชาสัมพันธ์ถึงคุณค่าทางโภชนาการ กระบวนการผลิตที่สะอาด ยั่งยืนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นเทรนด์อาหารที่โลกตะวันตกมองว่า ยั่งยืน กว่าการทำปศุสัตว์ หรือเกษตรกรรมแบบเดิมๆ ที่สิ้นเปลืองทรัพยากร และเริ่มมีการจำหน่ายหรือนำแมลงมาใช้เพื่อการบริโภคในร้านอาหารในสหรัฐอเมริกาและยุโรป อาทิ เบลเยียม เยอรมนี เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และในสหราชอาณาจักร

ขณะเดียวกัน ประเทศอิตาลี ยังคงเป็นผู้บริโภคที่ลังเลการในบริโภคแมลงมากที่สุดในยุโรป จากวัฒนธรรมด้านอาหารที่ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก รวมไปถึงความคิดเห็นต่อแมลงในเชิงลบที่ถูกนำมาพูดถึง เกี่ยวกับโรค การติดเชื้อ สิ่งสกปรก และสภาพสุขอนามัยที่ไม่ดี  

แมลง อาหารใหม่ ของยุโรป

ภายหลังจากที่ EU Novel food Regulation 2015/2283 ได้เริ่มบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 หรือ EU Novel food Regulation 2015/2283 จะมีผลบังคับใช้บังคับ ซึ่งส่งผลให้ผลิตภัณฑ์แมลงสามารถวางจำ หน่ายเป็นผลิตภัณฑ์อาหารชนิดใหม่ทั่วยุโรปได้ โดยมีสำนักงานความปลอดภัยอาหารยุโรป European Food Safety Authority (EFSA) จะเป็นหน่วยงานรับหน้าที่ รับผิดชอบในการอนุมัติและการประเมินผลความปลอดภัยอาหารใหม่จากการบริโภคอาหารชนิดใหม่นี้

โดยอาหารใหม่ (Novel Foods) หมายถึง อาหารหรือส่วนประกอบของอาหาร ที่ไม่มีประวัติการบริโภคภายในสหภาพยุโรปก่อนวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ 2540 โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

1. อาหารที่สกัดหรือพัฒนาด้วยนวัตกรรมใหม่ (New Substance)

2. อาหารที่ผลิตจากแหล่งโภชนาการใหม่ (New Source)

3. อาหารที่ผลิตจากกรรมวิธีรูปแบบใหม่ (New Technique)

4. อาหารพื้นบ้านที่มีการบริโภคนอกสหภาพยุโรป (Traditional Food in 3rd Countries) มาแล้วไม่ต่ำกว่า 25 ปี

โดยที่ EU Novel food Regulation 2015/2283 ได้ปรับลดขั้นตอนของกระบวนการขออนุญาต โดยรวมศูนย์การพิจารณาคำร้องขึ้นทะเบียนอาหารใหม่เป็นของสหภาพยุโรปทั้งหมด รวมทั้งจำกัดระยะเวลาการพิจารณาในแต่ละขั้นตอนที่กระชับมากขึ้น โดยใช้เวลาการขึ้นทะเบียนประมาณ 18 เดือนสำหรับอาหารใหม่ทั่วไป และประมาณ 5-11 เดือนสำหรับอาหารพื้นบ้าน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกฎระเบียบเดิมที่ต้องใช้เวลาเฉลี่ย 3.8 ปีในการขึ้นทะเบียนอาหารใหม่ทุกประเภท ถือว่าเร็วมาก

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการที่ต้องการนำผลิตภัณฑ์อาหารใหม่มาวางจำหน่ายในสหภาพยุโรป จะต้องขึ้นทะเบียนบัญชีรายชื่ออาหารใหม่กับคณะกรรมธิการยุโรป หรือ EC ก่อน โดยต้องเตรียมเอกสารที่ต้องใช้ให้ครบตาม Commission Recommendation 97/618/EC ซึ่งได้แก่

1. ชื่อ และที่อยู่ของผู้สมัคร

2. ชื่อ และคำอธิบายของผลิตภัณฑ์อาหารใหม่

3. คำอธิบายวิธีการผลิต

4. ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อาหารชนิดใหม่

5. หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค

6. คำแนะนำสำหรับการบริโภคผลิตภัณฑ์และติดฉลากผลิตภัณฑ์เฉพาะให้ชัดเจน ซึ่งจะไม่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิด

นอกจากนี้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 คณะกรรมาธิการยุโรปได้อนุญาตให้มีการใช้แมลงในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยแป้งโมเลกุลและโภชนาการสร้างขึ้นจากแป้งแมลง เป็นแหล่งโปรตีนที่มีความคล้ายคลึงกับปลาป่น ซึ่งอาจช่วยลดการจับปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติได้

อย่างไรก็ตามเทรนด์การบริโภคแมลง ซึ่งนอกจากรสนิยมดั้งเดิมตามความชอบส่วนบุคคลในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ที่มองว่าตลาดนี้เป็นตลาดที่มีศักยภาพสูง แม้จากสถิติในประชากร 10 คนอาจจะยอมบริโภคแมลงที่มองว่าเป็นอาหารที่มีความยั่งยืนต่อโลกเพียง 1 คนก็ตาม

แต่เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการแปรรูปอาหารมีการพัฒนาไปอย่างมาก ทำให้ รูปลักษณ์ อันไม่ชวนรับประทานของแมลงถูกเปลี่ยนไปเป็น โปรตีนแบบผง ซึ่งให้โปรตีนสูงและใช้เป็นส่วนผสมของอาหารในหลายประเภท เช่น ขนมปัง เส้นพาสต้า ขนมขบเคี้ยว อาหารทดแทนระหว่างมื้อสำหรับผู้ควบคุมน้ำหนักหรือนักกีฬา

แต่เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนโปรตีนยังถือได้ว่ายังเป็นโปรตีนจากเนื้อปลาเป็นโปรตีนที่ราคาต่ำที่สุด ทั้งคงจะยากที่จะแข่งขันกับราคาโปรตีนจากถั่วเหลืองซึ่งยังครองตลาดใหญ่ในยุโรป สำหรับผู้ที่ต้องการโปรตีนแต่ไม่ต้องการบริโภคโปรตีนที่มาจากสัตว์ แต่ก็สามารถกล่าวได้ว่ายังคงเป็นกลุ่มผู้บริโภคคนละกลุ่มกัน

การเลี้ยงแมลงในประเทศไทยและโอกาสตลาด

สำหรับประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการบริโภคแมลงมาอย่างยาวนาน มีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศร้อนชื้น เหมาะสำหรับเป็นแหล่งการเพาะเลี้ยงแมลง เป็นอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกไปในตลาดโลก นอกจากนี้ยังมีแมลงที่สามารถรับประทานได้กว่า 300 สายพันธุ์ ถึงกระนั้นในปัจจุบันก็มีการเพาะเลี้ยงแมลงในเชิงพาณิชย์ ทั้งส่วนที่ใช้เป็นอาหารสัตว์และเพื่อการบริโภคเพิ่มขึ้นอย่างมาก อาทิ จิ้งหรีด หนอนนก ซึ่งเป็นกลุ่มที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว และมีตลาดรองรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ

อุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงแมลงในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายมากนัก มีฟาร์มเพาะเลี้ยงที่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรมการผลิตในระดับสากลจำนวนไม่มาก นอกจากนี้กำลังการผลิตสินค้าแมลงส่วนมากใช้สนับสนุนการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก การผลิตเพื่อส่งออกมีค่อนข้างจำกัด อีกทั้งการส่งออกสินค้าอาหารจากแมลงไทยส่วนมาก ยังเป็นการส่งออกในลักษณะของวัตถุดิบการผลิต (Raw Materials) มากกว่าการทำตลาด ด้วยแบรนด์สินค้าไทย

ด้วยเหตุนี้หากผู้ประกอบการไทยต้องการทำให้ผลิตภัณฑ์จากแมลงได้รับความนิยม และสร้างมูลค่าเพิ่มในตลาดมากขึ้น อาจต้องการการพัฒนาแบรนด์ควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญกับเทรนด์ด้านสุขภาพ ซึ่งในตลาดสหรัฐฯ และยุโรปให้ความสำคัญ และนอกจากเหตุผลเรื่องความยั่งยืนด้านอาหาร ปัจจัยด้านสุขภาพก็เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ผู้บริโภค เปิดใจ ยอมบริโภคโปรตีนจากแมลงแม้จะยังไม่คุ้นชินก็ตาม

ขณะเดียวกันอีกประเด็นที่น่าสนใจ คือไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านการผลิตอาหารสัตว์ โดยเฉพาะอาหารสุนัข ปัจจุบันมีการนำโปรตีนจากแมลงมาทดแทนปลาป่นซึ่งมีต้นทุนที่ต่ำกว่า ด้วยเหตุนี้อาจไม่จำเป็นต้องมองที่มิติแมลงกินได้เพียงอย่างเดียว แต่หากมองในมิติด้านปศุสัตว์ การเพาะเลี้ยง แมลง เชิงพาณิชย์ก็ยังมีตลาดที่เปิดกว้างรออยู่อีกมาก

ทั้งในปัจจุบันฟาร์มแมลงส่วนใหญ่ยังเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก และยังไม่ได้มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาเพิ่มผลิตภาพมากนัก ดังนั้นหากหากผู้ประกอบการสนใจตลาดนี้อาจสามารถสร้างจุดขายในด้านการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาต่อยอดสินค้า และสร้างมูลค่าเพิ่มได้อีกด้วย

สุดท้ายคนยุโรป อเมริกา และซีกโลกตะวันตก อาจมองว่าแมลงคือความยั่งยืน คืออาหารที่กินเพื่อเหตุผลบางประการ แต่สำหรับประเทศไทยต้องมองแมลงอีกแบบ คือต้องมองให้เป็นโอกาส

 

แหล่งอ้างอิง :

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองไมอามี ประเทศสหรัฐอเมริกา

รายงานสถานการณ์/โอกาสในการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ ข้อมูลสินค้าแมลง อาหารใหม่ ทางเลือกในเยอรมนี

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครซิดนีย์ , สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองมิลาน ,สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโอซากา

สำนักข่าวบีบีซี  https://www.bbc.com/

 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
143 | 22/04/2024
จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
713 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
547 | 10/04/2024
‘เทรนด์แมลง’ อาหารใหม่ที่เป็นมากกว่าความยั่งยืน