Smart City นวัตกรรมสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

SME in Focus
02/07/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 37985 คน
Smart City นวัตกรรมสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
banner

โครงการเมืองอัจฉริยะอาเซียน ได้เริ่มดำเนินการอย่างเป็นทางการหลังมีข้อมติจากที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 32 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2561 ณ ประเทศสิงคโปร์ ให้เป็นเครื่องมือหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองในอาเซียนให้มีความก้าวหน้าทันสมัยและยั่งยืน ด้วยการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้ในการพัฒนาเมืองร่วมกัน

โดยกำหนดให้ 26 เมืองใน 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นเมืองเครือข่ายนำร่องสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ ประเทศไทยเรามีทั้งหมด7จังหวัดที่นำร่องเมืองอัจฉริยะน่าสนใจว่าประเทศไทยนั้นได้ดำเนินการเพื่อเป็น สมาร์ท ซิตี้ไปถึงไหนแล้ว

ความหมายที่แท้จริงของ สมาร์ท ซิตี้( Smart City) หมายถึง การที่คนอยู่อย่างชาญฉลาด คนต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี การรักษาพยาบาลที่ดี การเดินทางที่ดี การทำงานที่ดี และการศึกษาที่ดีขึ้นกว่าเดิมโครงสร้างพื้นฐานเป็นแค่องค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้เกิดความชาญฉลาด ช่วยต่อยอดให้บริการดีขึ้น

การบริการที่ดีจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องเริ่มจากโครงสร้างพื้นฐาน แล้วเราก็จะได้ข้อมูล เมื่อมีข้อมูลก็จะวิเคราะห์คน วิเคราะห์สถานการณ์ได้ เช่น รถติดมากน้อยแค่ไหน ควรจะเปิดไฟเขียวหรือไฟแดง หรือจะใช้บริการโรงพยาบาลอย่างไรให้มีประสิทธิภาพที่สุดส่วนเรื่องข้อมูล ก็จะได้จาก IoT และ Cloud computing เช่น บริเวณหนึ่งมีอาชญากรรมมาก จะแก้ปัญหาอย่างไร ซึ่งก็ควรมี CCTV มีเซ็นเซอร์ มีระบบที่แจ้งเตือนและป้องกันได้ทันท่วงที

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme 


สมาร์ท ซิตี้ ต้องใช้เมืองเป็น แพลตฟอร์มเพื่อต่อยอดไปสู่นวัตกรรม เมื่อสร้างเมืองให้เป็นแพลตฟอร์มแล้วเปิดให้คนเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด ทุกคนสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ เวลาไหนก็ได้ แล้วพึ่งจากแพลตฟอร์มในการสร้างสิ่งใหม่ๆ และทำงานร่วมกัน แล้วคุณภาพชีวิตก็จะดีขึ้น

ดังนั้นจะเป็น สมาร์ท ซิตี้ โครงสร้างพื้นฐานมันต้องดีเชื่อมต่อกันหมด ในปัจจุบันจะเห็นเทคโนโลยีเกิดขึ้นมา เช่น IoT สมาร์ทโฟน ซึ่งมักใช้เป็นโครงสร้างพื้นฐาน จากนั้นข้อมูลจะไหลเข้ามาและสะสมจนกลายเป็น ข้อมูลขนาดใหญ่หรือ Big Data ต่อมาเมื่อเราสร้างแพลตฟอร์มขึ้น เปิดโอกาสให้คนสามารถเขียนโปรแกรมต่อยอด ทุกอย่างก็จะฉลาดขึ้น เนื่องจากทั้งบ้าน โรงพยาบาล สัญญาณไฟจราจร รถยนต์ ได้เชื่อมต่อกันหมด

นั่นย่อมหมายความว่า การบริหารจัดการเมืองก็จะชาญฉลาดขึ้นก็จะได้ สมาร์ท ซิตี้ ขึ้นมา ฉะนั้นประเด็นหลักของการทำ สมาร์ท ซิตี้ คือต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่อัจฉริยะที่ทำให้เกิด ‘Connected City’ ที่เชื่อมโยงกันให้ได้

อย่างที่กล่าวในตอนต้น สมาร์ท ซิตี้ นั้นเทคโนโลยีเป็นแค่ส่วนหนึ่ง แต่ความสำคัญอยู่ที่คุณภาพชีวิตของคนต้องดีขึ้น เช่น ควรทำอย่างไรไม่ต้องรอคิวโรงพยาบาลนาน ทำอย่างไรจะไม่ต้องเสียเวลาไปกับการใช้บริการภาครัฐที่นานเกินความจำเป็น ทำอย่างไรให้รถติดน้อยลง ทำอย่างไรให้การศึกษาดีขึ้น

เมื่อลองย้อนกลับมาดูว่าตอนนี้ประเทศไทยเราอยู่ตรงไหน โจทย์เหล่านี้สำหรับประเทศไทยยังไม่เห็นภาพว่า คนไทยจะได้อะไรจาก สมาร์ท ซิตี้  ประชาชนจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างไร ยังไม่เห็นการบริการหรือแอปพลิเคชันอะไรที่ได้ยกระดับคุณภาพชีวิต จึงยังไม่มั่นใจว่า ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในสถานะไหนหรือได้ลงมือทำ สมาร์ท ซิตี้ แล้วหรือยัง    

นอกจากนี้ สมาร์ท ซิตี้ไม่ได้สำคัญแค่ที่อุปกรณ์ (Device) เท่านั้น แต่เป็นเรื่องของแอปพลิเคชันด้วย เป้าหมายของแอปพลิเคชัน คือ ต้องสร้างชีวิตคนให้ดีขึ้น ถ้าเป็น สมาร์ท ซิตี้  ที่ดี เราควรจะเดินทางได้สะดวกขึ้น ใช้เทคโนโลยีลดต้นทุนและลดเวลาในการเดินทางได้ ภาคเอกชนทำงานสะดวกขึ้น แต่ประเทศไทยยังไม่มีการบริการเหล่านี้ เรายังมีแต่อะไรที่เป็นกายภาพ

ดังนั้นหากอยากจะเป็น สมาร์ท ซิตี้ ก็ต้องเริ่มสร้างการบริการกับแอปพลิเคชัน จะต้องสร้าง ระบบเปิด ขึ้นมาให้คนสามารถเข้ามาทำนวัตกรรมและสร้างแอปพลิเคชันต่อยอดได้

อย่างไรก็ตามทุกวันนี้ศักยภาพด้านโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์ประเทศไทยพร้อมแล้วพอสมควร แม้จะยังไม่เปิดมากหรือยังไม่มี IoT อย่างทั่วถึง แต่สิ่งที่น่าห่วงที่สุด คือ การจะสร้างการบริการได้ ซึ่งต้องการ “คน” คนของเรายังไม่สามารถสร้างการบริการใหม่ๆ จากอุปกรณ์หรือแพลตฟอร์มที่เรามีได้

ข้อสำคัญ คือ ระบบไม่เปิดกว้างเพียงพอ ทั้งที่ระบบควรจะเปิดแล้วให้ทุกคนนำไปต่อยอดได้ แต่บ้านเรายังไม่คุ้นกับระบบที่เป็นแพลตฟอร์ม เปิดมากนัก


ด้วยเหตุนี้ แม้เราจะสามารถนำเข้าโครงสร้างพื้นฐานหรืออุปกรณ์ไฮเทคมาได้ แต่หากจะสร้างการบริการของเราเอง จะต้องทำให้เป็นระบบเปิดแล้วดึงดูดให้คนเข้ามาช่วยกันพัฒนา แล้วมันต้องสร้างสิ่งแวดล้อมให้ มีแรงจูงใจให้คนอยากจะพัฒนา

ที่ยากกว่าคือ การสร้างคน ในขณะที่มีการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานให้ดีสำหรับ สมาร์ท ซิตี้ จะต้องสร้างคนไปพร้อมๆ กัน อยากจะตอกย้ำว่าเทคโนโลยีไม่ใช่คำตอบร้อยเปอร์เซ็นต์ ‘คน’ ต่างหากที่สำคัญที่สุด

เหนือสิ่งอื่นใด สมาร์ท ซิตี้ เกิดขึ้นได้ คือ ประชาชนต้องร่วมมือกันที่จะให้ข้อมูล หรือที่เรียกว่า ‘Crowdsourcing’ เช่น อเมริกามีเว็บไซต์แจ้งเหตุไปยังตำรวจและรัฐบาลให้มาทำการช่วยเหลือ พอแจ้งหลายๆ กรณีเข้า ข้อมูลจากประชาชนก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ ภาครัฐก็จะมาช่วยเหลือสนับสนุน สะท้อนถึงความเป็นชาญฉลาดที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม มันจะได้ผลหรือไม่ได้ผลก็อยู่ที่จุดนี้ด้วย

กลับมาเรื่องโครงสร้างของคนว่าเราพร้อมแค่ไหน กระบวนทัศน์ของเราเป็นเช่นไร ตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญที่สุด

ดังนั้นเป้าหมายของ สมาร์ท ซิตี้ ที่เราจะสร้างนวัตกรรมอะไรก็ได้แต่ขอให้คุณภาพชีวิตคนเมืองดีขึ้น 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
133 | 22/04/2024
จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
685 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
543 | 10/04/2024
Smart City นวัตกรรมสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น