เหตุผลที่ธุรกิจไทยต้องให้ความสำคัญภาคการผลิตจีน

SME in Focus
15/02/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 3006 คน
เหตุผลที่ธุรกิจไทยต้องให้ความสำคัญภาคการผลิตจีน
banner

ปี 2562 ประเทศจีนมี GDP เป็นอันดับ 2 ของโลก ด้วยมูลค่า 14.36 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจากรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (WEO) จัดทำโดยไอเอ็มเอฟ คาดการณ์ว่าปีนี้เศรษฐกิจจีนจะเติบโตร้อยละ 8.1

จีนประสบความสำเร็จอย่างมากในการควบคุมโรคระบาด และมีบทบาทสำคัญมากในการฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้กลับมาอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การสนับสนุนเชิงนโยบายอันมีประสิทธิภาพทั้งทางการเงินและการคลัง ขณะเดียวกันการส่งออกก็ขยายตัว” กิตา โกปินาธ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ไอเอ็มเอฟ

เศรษฐกิจจีนปีนี้มีแนวโน้มเข้าสู่ขั้นตอนของการพัฒนารูปแบบใหม่ โดยเน้นการพัฒนาที่มีคุณภาพสูง ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต ทำให้ปัจจุบันการฟื้นฟูเศรษฐกิจของจีนให้ความสำคัญแก่อุตสาหกรรมการผลิตมาเป็นอันดับแรกๆ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

China Center for Information Industry Development (CCID) หน่วยงานกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศจีน ได้วิเคราะห์เกี่ยวกับแนวโน้มการลงทุนอุตสาหกรรมการผลิตจีน พบว่าอุตสาหกรรมไฮเทคและอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์มีแนวโน้มการพัฒนาดีกว่าอุตสาหกรรมประเภทอื่น เมื่อพิจารณาความสามารถในการพัฒนาอุตสาหกรรมรายภูมิภาค จะพบว่าอัตราการเจริญเติบโตของการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตกของจีนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ส่งผลให้สัดส่วนการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตในพื้นที่ดังกล่าวขยับตัวสูงขึ้น ทำให้การแข่งขันทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศสูงขึ้น จึงมีโอกาสในการพัฒนาด้านอุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ อุปกรณ์พลังงาน มีทิศทางสดใสและจะกลายเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีนในปีนี้

แนวโน้มการขยายตัวด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตในปี 2021 พบว่านอกจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจทั่วไปที่แสดงให้เห็นถึงทิศทางเป็นบวกแล้ว ยังมีดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading indicators) ที่บ่งชี้ว่าการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตมีพื้นฐานของการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีชี้นำเศรษฐกิจดังกล่าว ได้แก่

1. การผลิตของภาคอุตสาหกรรมการผลิตยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ในเดือนธันวาคม 2020 ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของอุตสาหกรรมการผลิตเท่ากับร้อยละ 51.9 ซึ่งอยู่เหนือจุดวิกฤติ (Critical Point) ติดต่อกันถึง 10 เดือน บ่งชี้ว่าความต้องการของตลาดในอุตสาหกรรมการผลิตมีทิศทางดีอย่างต่อเนื่อง

2. กำไรของบริษัทในภาคอุตสาหกรรมการผลิตยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและมั่นคง สะท้อนได้จากอัตราการเติบโตเฉลี่ยของรายได้และกำไรของบริษัทขนาดใหญ่ในปีนี้ จากการเปลี่ยนแปลงจากติดลบกลับมาพลิกตัวเป็นบวกได้เป็นครั้งแรก โดยตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2020 สูงขึ้นร้อยละ 0.14 เมื่อเทียบกับปี 2019

หน่วยงาน CCID ได้เสนอแนะการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตปี 2021 ของจีน ดังนี้

1. การกระตุ้นตลาดอุตสาหกรรมการผลิตภายในประเทศ อาทิ เร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรมใหม่เพื่อส่งเสริมการยกระดับการบริโภค พร้อมทั้งผนวกเทคโนโลยีเข้ากับการบริโภคหลายๆ ด้าน เช่น เทคโนโลยี 5G, Cloud Computing, Big Data และ Artificial Intelligence ส่งเสริมการประยุกต์ใช้วิดีโอความละเอียดสูง 8K เจาะลึกการบริโภคที่มีศักยภาพในพื้นที่ชนบทและเมืองรองระดับ 3-4 ให้มากขึ้น รวมทั้งสนับสนุนผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกให้เป็นการจำหน่ายภายในประเทศ โดยเฉพาะสินค้าจำพวกเสื้อผ้าสิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน และเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน เป็นต้น

2. การวิจัยนโยบายการคลังและภาษีสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต อาทิ ส่งเสริมการลดภาษีท้องถิ่น ใช้มาตรการสิทธิประโยชน์ทางภาษี ลดค่าใช้จ่ายภาษีพิเศษ ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์นโยบายสิทธิประโยชน์ทางภาษี ลดภาษีเงินได้ของบริษัทอุตสาหกรรมใหม่เชิงกลยุทธ์ และผ่อนปรนเงื่อนไขการคืนภาษีสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตอย่างเหมาะสม

3. การเสริมสร้างการตรวจสอบและระบบเตือนภัยล่วงหน้า เพื่อป้องกันความเสี่ยงของการลงทุนอย่างเป็นระบบ อาทิ เพิ่มการตรวจสอบความปลอดภัย เสริมสร้างการเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุตสาหกรรมตรวจสอบการลงทุนต่างประเทศที่มีผลหรืออาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ นอกจากนี้ยังต้องให้ความสำคัญต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่สำคัญ สินค้าและบริการส่งออก โครงการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติอย่างเคร่งครัด สนับสนุนบทบาทของสมาคมและสถาบันการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกันสร้างศูนย์ตรวจสอบความปลอดภัยของอุตสาหกรรมและเตือนภัยล่วงหน้า รวมถึงเฝ้าติดตามสถานการณ์ของต่างประเทศอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะสถานการณ์ที่เป็นอุปสรรคทางการค้าจีน

 

ผลกระทบด้านเศรษฐกิจต่อประเทศไทย : แนวทางการปรับตัวของภาครัฐ เอกชน และผู้ประกอบการไทย

ข้อมูลล่าสุดของดัชนีราคาผู้ผลิตของจีน (PPI) ในเดือนธันวาคม 2020 ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 1.1 แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการผลิต ซึ่งเป้าหมายของจีนก็คือ การส่งเสริม Value Chain เพื่อให้อุตสาหกรรมการผลิตที่มีความยิ่งใหญ่ ควบคู่ไปกับความเป็นสมาร์ท และมีการใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ซึ่งส่งผลให้หลายปีที่ผ่านมาระดับดิจิทัลในอุตสาหกรรมการผลิตของจีนได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นดิจิทัลในอุตสาหกรรมการผลิตของจีนยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ซอฟต์แวร์ในอุตสาหกรรม การประยุกต์ใช้ข้อมูลในการผลิต ฯลฯ จึงเป็นโอกาสอันดีของไทย เพราะจีนมีความต้องการวัตถุดิบในการผลิตจำเป็นต้องนำเข้ามากขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการไทยที่อยู่ในห่วงโซ่อุตสาหกรรมสำคัญของจีน โดยเฉพาะวัตถุดิบหลักอย่าง ‘ยางพารา’ ที่ใช้ในการผลิตยางล้อรถยนต์ผลิตวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับป้องกันการระบาดจากโรคโควิด-19


แหล่งอ้างอิง :

https://thaiembbeij.org/

https://www.moneyandbanking.co.th/

https://aec.ditp.go.th/

https://www.stou.ac.th/

https://www.xinhuathai.com/

http://www2.ops3.moc.go.th/  



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

จากธุรกิจผลิตหลอดไฟ LED ต่อยอดสู่การพัฒนาด้านการผลิตอาหารและนวัตกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตรออร์แกนิก แบรนด์ ‘แอลอีดี ฟาร์ม’ (LED Farm) ที่มุ่งสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรคุณภาพ…
pin
44 | 25/04/2024
Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
174 | 22/04/2024
จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
777 | 17/04/2024
เหตุผลที่ธุรกิจไทยต้องให้ความสำคัญภาคการผลิตจีน