ส่งเสริมการลงทุนรถยนต์ไฟฟ้า–อนาคตยานยนต์ไทย (ตอนที่ 1)

SME Update
17/01/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 1652 คน
ส่งเสริมการลงทุนรถยนต์ไฟฟ้า–อนาคตยานยนต์ไทย (ตอนที่ 1)
banner
กระแสความตื่นตัวสำหรับ ‘รถยนต์ไฟฟ้า’หรือ EV (Electric Vehicle)ในประเทศไทย เริ่มมีความตื่นตัวขึ้นเรื่อยๆ ภายใต้การสนับของภาครัฐในการผลักดันรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งกระแสโลกในปัจจุบันเชื่อว่าเป็นพลังงานที่ ‘สะอาด’ กว่าการใช้พลังงานฟอสซิล ทำให้ 2 ปีที่ผ่านมา กระแสการลงทุนในกลุ่มรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย ผู้ผลิตและนำเข้าในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ต่างเริ่ม ‘ชิมลางตลาด’ เพื่อที่จะได้เรียนรู้และสังเกตพฤติกรรมของผู้บริโภคในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าท่ามกลางข้อกังขาถึงกระแสผู้บริโภคที่จะมีการปรับเปลี่ยนจากรถยนต์แบบเดิมๆ ไปสู่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าได้หรือไม่ รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ สถานีชาร์ทเชื้อเพลิง ที่ยังเป็นอุปสรรคสำคัญในประเทศไทย

ทั้งนี้ ภายใต้การส่งเสริมการลงทุนโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ได้มอบสิทธิพิเศษบริษัทผู้ผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2560 มีมติเห็นชอบต่อมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยที่เสนอโดยกระทรวงอุตสาหกรรม และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม

โดยแบ่งเป็น 6 มาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่รถยนต์EV คือ 1.การสร้างอุปทาน 2.มาตรการกระตุ้นตลาดภายในประเทศ 3.การเตรียมความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน  4.การจัดทำมาตรฐานรถยนต์ไฟฟ้า 5.การบริหารจัดการแบตเตอรี่ที่ใช้แล้ว  6. มาตรการอื่นๆ เช่นการพัฒนาระบบรับรองคุณภาพบุคลากร


ชงมาตรการด้านภาษีกระตุ้นการลงทุนEV

การส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน รวมทั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า ตามประเภทของรถยนต์ไฟฟ้า 3 แบบ คือ รถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและพลังงานไฟฟ้า (hybrid electric vehicle : HEV) รถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมเสียบปลั๊ก (plug-in hybrid electric vehicle : PHEV) รถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (battery electric vehicle : BEV)

โดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้ประกาศ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2560 เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาด้านเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ โดยมีกิจการที่ได้รับการส่งเสริม 6 ประเภทกิจการ และต้องขอรับส่งเสริมการลงทุนภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 โดยมีสิทธิและประโยชน์ที่ได้รับ มีดังนี้ :


เด้งที่ 2 ลดภาษีสรรพสามิต

ขณะที่ประกาศลดภาษีสรรพสามิตโดยกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 138 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2560 สำหรับยานยนต์ 4 ประเภท ได้แก่

รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก (Pick-up Passenger Vehicle: PPV) ที่มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร   และเป็นรถยนต์แบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า (HEV) ซึ่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 175 กรัมต่อกิโลเมตร ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิตลงเหลือร้อยละ 23

รถยนต์นั่งที่มีกระบะ (Double Cab) ที่มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร และเป็นรถยนต์แบบแบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า (HEV) ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิตลงเหลือร้อยละ 10

รถยนต์นั่งแบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า (HEV) ที่มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิตลงกึ่งหนึ่งของอัตราภาษีที่ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิตตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2534 ซึ่งจะเหลืออัตราภาษีสรรพสามิตในช่วงระหว่างร้อยละ 5 – 15

รถยนต์นั่งแบบพลังงานไฟฟ้า (EV) ได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิตลงเหลือร้อยละ 2โดยผู้ที่จะได้รับการลดอัตราภาษีสรรพสามิตดังกล่าว ต้องได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

รวมทั้ง ต้องยื่นความประสงค์ขอรับการลดอัตราภาษีสรรพาสามิตก่อนเริ่มผลิตรถยนต์แบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและพลังงานไฟฟ้า และรถยนต์แบบพลังงานไฟฟ้า ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 และตั้งแต่ปีที่ 5 นับแต่วันที่ทำข้อตกลงกับกรมสรรพสามิตจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2568 รถยนต์แบบผสมหรือรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าที่ผลิตทุกคัน ต้องใช้แบตเตอรี่ที่ผลิตหรือประกอบจากผู้ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนประเภทลิเที่ยมไอออน หรือนิกเกิลเมทัลไฮไดรด์ หรือแบตเตอรี่ประเภทอื่นที่ให้พลังงานจำเพาะโดยน้ำหนัก (Wh/kg) ที่สูงกว่า

โปรดติดตามบทสรุป การส่งเสริมการลงทุนรถยนต์ไฟฟ้า –อนาคตยานยนต์ไทยในตอนที่ 2 ที่จะให้ข้อสรุปและแนวโน้มสำหรับอนาคตยานยนต์EVในประเทศไทย

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1232 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1591 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1877 | 25/01/2024
ส่งเสริมการลงทุนรถยนต์ไฟฟ้า–อนาคตยานยนต์ไทย (ตอนที่ 1)