GMS Economic Corridors ถนนสายการค้าและการลงทุน

SME Go Inter
19/02/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 6314 คน
GMS Economic Corridors ถนนสายการค้าและการลงทุน
banner
GMS Economic Corridors หรือระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง คือเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมโยงระหว่างเมืองสำคัญใน 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region: GMS) ซึ่งประกอบด้วยไทย จีน (มณฑล ยูนนาน) เวียดนาม กัมพูชา ลาว และเมียนมา


GMS Economic Corridors มุ่งเน้นที่การพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานหลายแขนง โดยเฉพาะเส้นทางคมนาคม ระบบไฟฟ้า โทรคมนาคม สิ่งแวดล้อม และกฎหมาย สำหรับใช้เป็นเส้นทางกระจายสินค้า ลำเลียงวัตถุดิบ และรองรับตลาดการท่องเที่ยว พร้อมทั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการขยายตัวด้านอุตสาหกรรม การเกษตร การค้า การลงทุนและบริการ ผลักดันให้เกิดการจ้างงาน สร้างโอกาส และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างเท่าเทียม โดยมี ADB และ NEDA  เป็นผู้สนับสนุนหลักด้านการเงินทั้งแบบให้เปล่าและดอกเบี้ยต่ำ


เส้นทางเศรษฐกิจสายอาเซียนหรือ GMS Economic Corridors แบ่งตามภูมิภาคออกเป็น 3 เส้นทางหลัก ๆ ได้แก่

1.แนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor: NSEC) เชื่อมโยงระหว่างไทย เมียนมา ลาว และจีน ประกอบด้วย 3 เส้นทางย่อย ได้แก่

- เส้นทาง R3A เส้นนี้มีการพูดถึงมากที่สุด เชื่อมโยงระหว่างจีนตอนใต้กับลาวและไทย โดยมีจุดเริ่มต้นที่คุนหมิง มายัง บ่อหาน บ่อเต็น และห้วยทรายของลาว เข้าเขตไทยที่ อ.เชียงของ และสิ้นสุดที่กรุงเทพฯ  ถนนเส้น R3A นับว่าเป็นเส้นทางที่คับคั่งไปด้วยการจราจรมากที่สุดเส้นหนึ่ง ภายหลังจากที่สะพานมิตรภาพไทย - ลาวแห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2556 ทั้งยังเป็นถนนที่สะดวกที่สุดและใช้มากที่สุดในปัจจุบัน

-เส้นทาง R3B  เส้นนี้หลายท่านอาจไม่คุ้น มันมีด้วยเหรอ มีครับ แต่ไม่ค่อยจะมีใครอยากรู้จัก โดยมีจุดเริ่มต้นที่นครคุนหมิงเช่นเดียวกับ R3A แต่ผ่านเข้ามาทางเมียนมาที่ท่าขี้เหล็กแล้วเข้าไทยที่เขต อ.แม่สาย จ.เชียงราย และมีปลายทางที่กรุงเทพฯ ปัญหาคือ การก่อสร้างทางฝั่งเมียนมาเป็นไปด้วยความล่าช้า ถนนเส้นนี้เลยไม่สะดวกและไม่ค่อยจะมีใครใช้

-เส้นทาง R5 ถนนเส้นนี้ทางรัฐบาลกว่างสีตัดเอง กว้างและสะดวกมากผู้เขียนเคยไปสำรวจครั้งนึง รู้สึกได้ถึงความแตกต่าง ในการทำถนน จีนเล่นตัดผ่าถูเขาทำถนนเลยทีเดียว เส้นนี้มีจุดเริ่มต้นจากเมืองหนานหนิงในมณฑลกว่างสีของจีน มายังเมืองฮานอยและท่าเรือไฮฟองของเวียดนาม

2.แนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) เชื่อมโยงระหว่างเวียดนาม ลาว ไทย และพม่า อาจเรียกได้ว่าเป็นเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างทะเลจีนใต้กับทะเลอันดามัน ประกอบด้วย 3 เส้นทางย่อย ได้แก่

- เส้นทาง R9 ถนนสายผลไม้เพราะรถบรรทุกผลไม้จากไทยนิยมใช้เส้นทางนี้ มีจุดเริ่มต้นที่เมาะลำไย ไปที่เมียวดี เข้าเขตไทยที่ อ. แม่สอด จ. ตาก เชื่อมไปยังพิษณุโลก ขอนแก่น มุกดาหาร และต่อไปยังสะหวันนะเขต เข้าเขตเวียดนามที่เว้ และสิ้นสุดที่ดานัง ปัจจุบันเส้นนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จตลอดแนว ถือว่าสะดวกมาก

- เส้นทาง R12 ถนนเส้นนี้ภายหลังการเปิดสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม – คำม่วน) เมื่อเดือน พ.ย. 2554หากต้องการวิ่งเข้ากว่างสี นับเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุด แต่ปัจจุบันยังไม่สะดวก แต่พอไปได้ โดยเชื่อมโยงภาคอีสานของไทยกับมณฑลกว่างซี โดยมีจุดเริ่มต้นที่ จ. นครพนม เข้าเขตลาวที่ท่าแขก แขวงคำม่วน วิ่งผ่าน จ. ฮาติง  วิงห์ และฮานอยของเวียดนาม ก่อนจะไปสิ้นสุดที่กว่างซี ครั้งตอนไปสำรวจกับเมื่อปลายปี 2560 มีถนนช่วงที่เป็นของ สปป.เกิดชำรุดและดูไม่สะดวก แต่ก็เป็นช่วงสั้น ทำให้ถนนเส้นนี้กำลังนิยมเช่นกันในปัจจุบัน และคาดว่าหากมีการซ่อมบำรุงแล้วเสร็จคงจะมีปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นอีกมาก

- เส้นทาง R8 เส้นนี้ปัจจุบันผู้ขนส่งไทยก็นิยมใช้ ทั้งจากการที่เคยไปสำรวจนับเป็นเส้นทางที่วิ่งไปเวียดนามได้สะดวก โดยมีจุดเริ่มต้นที่ จ. บึงกาฬ เข้าเขตปากซันของลาว ผ่านเมืองวิงห์ มุ่งสู่กรุงฮานอยของเวียดนาม และไปสิ้นสุดที่กว่างซี

3.แนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) เชื่อมโยงระหว่างเมียนมา ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ประกอบด้วย 2 เส้นทางย่อย ได้แก่

- เส้นทางทวาย - ทิกิ – กรุงเทพฯ – อรัญประเทศ– ปอยเปต – พนมเปญ - โฮจิมินห์ – หวังเต่า เป็นเส้นทางที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง โดยพาดผ่านเมืองสำคัญหลายเมืองและมีการขนส่งข้ามแดนตามแนวเส้นทางในปริมาณมาก ทั้งตรงจุดผ่านแดนอรัญประเทศ – ปอยเปตระหว่างไทย – กัมพูชา และจุดผ่านแดนบาเวต – มอกไบ ระหว่างกัมพูชา – เวียดนาม

- เส้นทางทวาย - ทิกิ - บ้านน้ำพุร้อน – กรุงเทพฯ – เสียมราฐ – สตรึงเตร็ง – ควิวยอน ซึ่งเป็นเส้นทางเศรษฐกิจและท่องเที่ยวสำคัญระหว่างไทย และกัมพูชา รวมถึงเชื่อมต่อระหว่างไทยไปกับภาคกลางของเวียดนามผ่านกัมพูชา


ทั้งนี้ถนนสายต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของหลายๆ หน่วยงาน ทั้งรัฐบาลท้องถิ่นจีน สปป.ลาว กัมพูชา เมียนมา เวียดนาม และไทย รวมทั้งสถาบันการเงินทั้ง ADB และ NEDA เพื่อร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นบานด้านคมนาคมให้สามารถเชื่อมต่อและสร้างการค้าการลงทุนร่วมกันได้ ถือเป็นสายทางสายสันติภาพที่แต่ละประเทศประสานความร่วมมือกัน
Bangkok Bank SME ราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก www.bangkokbanksme.com หรือ โทร call center 1333

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6055 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
1935 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
4913 | 23/10/2022
GMS Economic Corridors ถนนสายการค้าและการลงทุน