ขยี้ ! อียูจ่อจัดสรรโควต้าภาษี ใหม่หลัง Brexit

SME Update
08/03/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 1464 คน
ขยี้ ! อียูจ่อจัดสรรโควต้าภาษี ใหม่หลัง Brexit
banner
เรายังคงติดตามข่าวคราวด้านการถอนตัวจากสมาชิกภาพอียูของสหราชอาณาจักร (Brexit) กันต่อเนื่อง ซึ่งหากเป็นจริงจะส่งผลกระทบต่อหลายแง่มุม ไม่เพียงแต่เรื่องการดำเนินความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างสหราชอาณาจักรและอียูเท่านั้น หากยังมีผลกระทบต่อประเทศสมาชิกขององค์กรการค้าโลก (WTO)
รวมถึงประเทศไทยที่ต้องทำการค้าขายกับประเทศในอียูเนื่องจากเงื่อนไขเขตการค้าเสรีด้านสินค้า (free circulation in EU)  ระหว่างสหราชอาณาจักรและอียูจะสิ้นสุดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เกี่ยวกับพันธกรณีต่างๆ ซึ่งอียูได้เคยจัดทำไว้ภายใต้กรอบ WTO เช่น ตารางข้อผูกพันทางภาษี รายการสินค้าที่มีโควต้าภาษี รายการสินค้าที่มีโควต้าเฉพาะรายประเทศ ฯลฯ ว่าจะมีการจัดสรรและเจรจากันอย่างไรต่อไปภายหลังที่สหราชอาณาจักรแยกออกจากอียูแล้ว

ตามแนวทางปฏิบัติภายใต้ WTO ข้อ XXVIII ของ GATT 1994 กำหนดให้สมาชิกที่ต้องการแก้ไขหรือถอนข้อผูกพันในตารางพันธกรณี จะต้องเจรจาและตกลงกับประเทศสมาชิกที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะขอรับการรับรองตารางพันธกรณีที่ได้ผ่านการเจรจากับสมาชิกที่เกี่ยวข้องแล้วจากสมาชิก WTO ทั้งหมดจึงจะถือว่าตารางพันธกรณีนั้นเป็นตารางพันธกรณีที่แนบท้ายความตกลงว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariff and Trade – GATT 1994) อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากอียูจะคงเหลือสมาชิก 27 ประเทศ จากเดิม 28 ประเทศจึงจำเป็นต้องมีการปรับข้อผูกพันปริมาณโควต้าภาษีโดยการแบ่งสัดส่วนโควต้าภาษีระหว่างอียูและสหราชอาณาจักร โดยใช้หลักการคือ อียู (27 ประเทศ) = อียู (28 ประเทศ) – สหราชอาณาจักร

Brexit

อียู จัดโควตาใหม่ หลัง Brexit ไทยโดนเต็มๆ

เมื่อเร็วๆ นี้ ทางคณะกรรมาธิการยุโรป ได้เผยแพร่กฎระเบียบ 2019/216 เรื่องการจัดสรรโควต้า (Tariff rate quotas) ในส่วนของอียูสืบเนื่องจาก Brexit โดยมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2562 แต่ข้อบทที่เกี่ยวกับการจัดสรรโควต้าใหม่ให้เริ่มมีผลวันที่สหราชอาณาจักรออกจากอียู ซึ่งก็ คือวันที่ 30 มีนาคม 2562  โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

-ไทยจะถูกปรับลดโควต้าลงร้อยละ 15.1-100 ใน 12 รายการ ตามที่ตารางการจัดสรรโควต้าใหม่กำหนด ซึ่งพบว่าเป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพส่งออกทั้งในตลาดอียูและสหราชอาณาจักร อาทิ ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง มันสำปะหลัง ข้าวกล้อง เนื้อไก่ปรุงสุกและเนื้อไก่แปรรูปที่มีไก่ 25%-57% ของน้ำหนัก เนื้อเป็ด ปลาแปรรูปจำพวกปลาซาร์ดีนและปลาทูน่า

-การจัดสรรโควต้าดังกล่าวคำนวณจากสัดส่วนที่อียู 27 ประเทศ นำเข้าจริงในช่วง 3 ปีล่าสุด (recent representative 3-year period) และหากไม่มีข้อมูลการนำเข้าภายใต้กลไก TRQ ในช่วงเวลาดังกล่าว ให้ใช้การคำนวณจาก โควต้า TRQ ของสินค้าตัวเดียวกันแต่ถูกจัดให้อยู่คนละรายการ (หากมี) หรือ สินค้าตัวเดียวกันที่มิได้นำเข้าภายใต้ระบบ TRQ

โดยมาตรการดังกล่าวเป็นมาตรการฝ่ายเดียวของอียูที่ตั้งบนพื้นฐานว่า สหราชอาณาจักรจะจัดสรรโควต้า TRQ ในรูปแบบเดียวกันเพื่อให้โควต้ารวมไม่ลดลงจากที่อียูเคยจัดสรรก่อนการถอนตัวจากสมาชิกภาพอียูของสหราชอาณาจักร

ปัจจุบัน อียู สหราชอาณาจักรและประเทศที่สาม (รวมทั้งไทย) ที่ได้รับการจัดสรรโควต้า TRQs อยู่ระหว่างการเจรจาที่นครเจนีวาในกรอบ WTO โดยไทยอยู่ระหว่างการเจรจากับทั้ง 2 ฝ่ายเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดจากโควต้าลดภาษีสินค้าที่ไทยเคยได้ เพราะสหราชอาณาจักรเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยในยุโรป สินค้าจำนวนมากที่ไทยส่งออกไปยังอียูเดิมใช้สหราชอาณาจักรเป็นช่องทางเข้าสู่ตลาดและเป็นจุดกระจายสินค้าไปยังประเทศสมาชิกอียูอื่น

Brexit

ด้วยเหตุนี้ ผู้ส่งออกไปยังอียูจึงต้องติดตามพัฒนาการเป็นระยะว่าไทยจะได้รับผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเหล่านี้ไปอียูและสหราชอาณาจักรภายใต้ระบบ TRQ อย่างไร เพื่อหาแนวทางปรับตัวทั้งในแง่การส่งสินค้าไปประเทศต่าง ๆ ในอียูผ่านช่องทางอื่นและการส่งออกไปยังสหราชอาณาจักรเอง
Bangkok Bank SME ราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก www.bangkokbanksme.com หรือ โทร call center 1333

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1058 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1402 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1677 | 25/01/2024
ขยี้ ! อียูจ่อจัดสรรโควต้าภาษี ใหม่หลัง Brexit