ธุรกิจ E-commerce เวียดนามมีผู้ใช้กว่า 37 ล้านคน

SME Go Inter
15/03/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 2408 คน
ธุรกิจ E-commerce เวียดนามมีผู้ใช้กว่า 37 ล้านคน
banner
ปัจจุบันมีการพูดถึงการทำธุรกิจในเวียดนามผ่านทาง E-Commerce กันอย่างกว้างขวางว่ามีศักยภาพสูงและเป็นทางเลือกหนึ่งในการขยายตลาดสินค้าอุปโภคและบริโภคในเวียดนาม โดยเฉพาะทางภาคใต้ เนื่องจากมีการเติบโตของชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อสูง และมีพฤติกรรมผู้บริโภคที่เอื้อต่อสินค้าประเภทดังกล่าว  ซึ่งข้อมูลของศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในนครโฮจิมินห์ ได้มีการจัดทำรายงานสถานการณ์ธุรกิจ E-Commerce ในเวียดนามตามที่ได้ประมวลจากแหล่งข่าวและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ไว้อย่างน่าสนใจ
กรมการค้าออนไลน์และเทคโนโลยีสารสนเทศของเวียดนาม (Vietnam E–Commerce  and Digital Economy Agency) ซึ่งสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าประมาณการว่า ในช่วงปี 2559 - 2563 ธุรกิจ E–Commerce  ในเวียดนามจะเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 20 ต่อปี และจะมีรายได้จากธุรกิจมูลค่าสูงถึง1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2563 โดยในปี 2560 รายได้จากธุรกิจ E–Commerce  มีมูลค่า 6.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24 จากปี 2559

ธุรกิจ E–Commerce  ในเวียดนามมีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยบริษัทที่ปรึกษา Kantar Worldpanel รายงานว่า ในปี 2561 จำนวนผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าออนไลน์ใน 4 เมืองใหญ่ในเวียดนาม เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 8.8 จากร้อยละ 5.4 ในปี 2560 ทำให้นักลงทุนต่างชาติหลายรายสนใจมาลงทุนด้าน E–Logistics เพื่อตอบสนองการเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจ E–Commerce  โดยเฉพาะการสั่งซื้อสินค้ารายย่อยและมีจำนวนมาก เช่น เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2560 บริษัท DHL E–Commerce   เริ่มสร้างเครือข่ายจุดให้บริการทั่วประเทศ และมีเป้าหมายขยายเพิ่มขึ้นเป็น 1,000 จุดภายในสิ้นปี 2562 นี้

E-commerce

ปี 2560  สถิติคนเวียดนามใช้อินเตอร์เน็ตจำนวนประมาณ 50 ล้านคน หรือ คิดเป็นร้อยละ 54 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งประมาณ 35.4 ล้านคนเป็นผู้ใช้ E–Commerce  ในการซื้อขายสินค้า และในปี 2561 เพิ่มเป็น 37.3 ล้านคน โดยอาจเพิ่มเป็น 42 ล้านคนในปี 2564  โดยค่าใช้จ่ายในการซื้อของ/บริการออนไลน์โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 62 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อคน ต่อปี ในปี 2560 และอาจสูงถึง 92 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี ในปี 2564

อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคส่วนใหญ่มักเลือกชำระเงินปลายทางเมื่อได้รับสินค้า หรือ Cash on Delivery เนื่องจากการชำระเงินด้วยเงินสดยังคงเป็นวิธีการชำระเงินที่แพร่หลาย สะดวกและเชื่อถือได้มากที่สุดใน เวียดนาม นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังสามารถตรวจสอบสินค้าก่อนชำระเงิน และสามารถขอเปลี่ยนหรือคืนสินค้าและปฏิเสธที่จะชำระเงินได้ทันทีหากไม่พอใจในสินค้านั้น  โดยในเว็บไซด์สินค้าออนไลน์ในเวียดนาม จะมีช่องให้เลือกจ่าย 3 แบบ คือชำระเงินปลายทาง บัตรเครดิต/บัตรเดบิต หรือบัตรเอทีเอ็ม

ทั้งนี้ข้อมูลในปี 2560 มูลค่าการชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคสินค้าออนไลน์ของเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 มีมูลค่า 6.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นสองเท่าภายในปี 2565

บริษัท Criteo ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาเทคโนโลยีการตลาด ได้สำรวจพฤติกรรมผู้บริโภค และพบว่า เมื่อซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ผู้บริโภคชำระเงินปลายทาง (CoD) ร้อยละ 37 ชำระเงินโดยโอนผ่านธนาคาร ร้อยละ 18 ชำระเงินผ่านบัตรเอทีเอ็ม ร้อยละ18 ชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ร้อยละ 11 และช่องทางอื่น ๆ เช่น E – Wallet ร้อยละ 10  นอกจากนี้ธนาคารกลางเวียดนามมีข้อมูลว่ากว่าร้อยละ 90 ของบัตรที่ออกให้โดยธนาคารเป็นบัตรเดบิต ซึ่งเท่ากับว่าสัดส่วนของผู้ใช้บัตรเครดิตในเวียดนามมีจำนวนน้อยมาก

ขณะที่ระบบ E-Payment ของเวียดนามจะมีใช้กับ platform การค้าออนไลน์ใหญ่ ๆ ซึ่งจะเชื่อมโยงกับระบบของธนาคาร หรือ paypalแต่หากเป็นผู้ค้ารายย่อยใน Facebook หรือ Instagram มักจะชำระเงินปลายทาง ซึ่งเป็นพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวเวียดนาม


เห็นได้ชัดว่า วิธีการและขั้นตอนการชำระเงินและการรับสินค้าในธุรกิจ E–Commerce  ในไทยกับเวียดนาม มีบริบทที่แตกต่างกัน แต่ในขณะที่พฤติกรรมการบริโภคของคนเวียดนามในตลาดออนไลน์กลับมีทิศทางที่น่าสนใจ ทั้งจำนวนประชากรวัยทำงาน และรายได้ที่เพิ่มขึ้น และแน่นอน รายใหญ่อย่าง Lazada ร่างทรง  Alibaba มีหรือจะพลาดการ E–Commerce  ในเวียดนาม รวมทั้ง JD.com ก็ได้เข้าไปร่วมลงทุนในแพลทฟอร์ม website ขายปลีกออนไลน์ tiki.vn  ในเครือ VNG และ บริษัท Sea Ltd ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Shopee ก็ไม่พลาดเช่นกัน

นับว่าเป็นประเทศที่กระแสด้าน E–Commerce แรงมากอีกประเทศ น่าจับตาว่า หากธุรกรรมการเงินในเวียดนามดีขึ้น ระบบโลจิสติกส์สะดวกมากขึ้น ธุรกิจนี้จะก้าวกระโดดได้ขนานไหน  ด้านผู้ประกอบการ E–Commerce  ของไทยควรศึกษาโอกาสนี้ เพื่อดูลู่ทางทำการค้าในอนาคต เพราะด้วยจำนวนประชากรเวียดนามที่มีกว่า 90 ล้านคน ประชากรส่วนใหญ่เป็นวัยหนุ่มสาวที่รายได้เริ่มดีขึ้นตลาดนี้ย่อมไม่ธรรมดา แต่ปัญหาด้านต้นทุนโลจิสติกส์ที่สูง ก็ยังคงเป็นอีกหนึ่งอุปสรรรคที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme

Bangkok Bank SME ราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก www.bangkokbanksme.com หรือ โทร call center 1333

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6267 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2026 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5038 | 23/10/2022
ธุรกิจ E-commerce เวียดนามมีผู้ใช้กว่า 37 ล้านคน