การรุกคืบของกลุ่มลงทุนจีนในภูมิภาคอาเซียน

SME Go Inter
15/03/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 1847 คน
การรุกคืบของกลุ่มลงทุนจีนในภูมิภาคอาเซียน
banner
เห็นได้ชัดว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กลุ่มทุนจากประเทศจีนหลั่งไหลเข้ามาลงทุนในด้านต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงได้อยากมาก รัฐบาลใน อาเซียน หลายประเทศ มีความห่วงกังวลว่า นี่เป็นการล่าอาณานิคมแบบใหม่ (neo-colonialism) ที่ประเทศยากจนไม่สามารถแข่งขันกับประเทศที่ร่ำรวยกว่าได้ สุดท้ายถูกหลอมรวม ดังนั้น รูปแบบความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไม่ควรเป็นความสัมพันธ์ที่มีผู้ได้ประโยชน์-เสียประโยชน์แบบ zero-sum game แต่ควรเป็นความสัมพันธ์ที่ได้ประโยชน์ร่วมกัน
ในความเป็นจริงมันเป็นเช่นนั้นหรือ หลายปีทีที่ผ่านมา อาเซียน แอบอิงการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเงินทุนจากจีน เนื่องจากมีโครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องพัฒนาอีกจำนวนมาก ทั้งในเวียดนาม เมียนมา กัมพูชา สปป.ลาว และไทย ซึ่งนักลงทุนจีนแข็งขันเป็นพิเศษ

อย่างไรก็ดี เงินทุนจากจีนก็มีข้อแม้บางอย่างเช่นกัน อาทิ ในมาเลเซียเงินทุนส่วนใหญ่สําหรับ Belt and Road initiatives (สําหรับทางรถไฟมูลค่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และสําหรับท่อส่งพลังงาน มูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ก็ได้รับจาก Export-Import Bank of China ซึ่งเป็นธนาคารที่รัฐบาลจีนเป็นเจ้าของ และบริษัทของรัฐบาลจีนก็เป็นบริษัทรับเหมาหลักของโครงการเหล่านี้ หากมาเลเซียระงับโครงการก็จะส่งผลกระทบต่อบริษัทจีน เหตุการณ์ในลักษณะนี้เคยเกิดขึ้นทั้งในเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ ล่าสุดจีนได้ ‘รับช่วงต่อ’ โครงการท่าเรือน้ำลึกของศรีลังกาไป เนื่องจากรัฐบาลศรีลังกาไม่สามารถชำระหนี้ได้

อาเซียน

แม้ก่อนหน้านี้ มาเลเซียได้ประกาศระงับโครงการใหญ่มูลค่ารวม 2.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่จีนสนับสนุน ซึ่งรวมถึงโครงการเส้นทางรถไฟชายฝั่งตะวันออก (East Coast Rail Link – ECRL) และโครงการท่อส่งพลังงาน แต่ยากจะปฏิเสธว่า มาเลเซียเองก็พยายามดึงดูดการลงทุนโดยตรง (FDI) จากบริษัทใหญ่ ๆ เข้าสู่มาเลเซีย เป้าหมายคือมาเลเซียต้องการหลุดออกจากกัปดักรายได้ปานกลาง (middle-income trap) เช่นเดียวกับไทย โดยเห็นความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น

อนึ่ง อิทธิพลของจีนในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ มาเลเซียมีชาวจีนโพ้นทะเล อาศัยอยู่ในประเทศมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากไทย นอกจากนี้ระบบเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างสิงคโปร์หรือมาเลเซียมีความเกี่ยวข้องกับจีนไม่เพียงแต่ภาครัฐเท่านั้น เพราะภาคเอกชน/ธุรกิจจีน เช่น Alibaba และ Tencent เข้ามาลงทุนจํานวนมาก และภาคธุรกิจเหล่านี้ได้นําเอานวัตกรรมเข้ามาและพัฒนาทักษะ ตลอดจนเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามา อย่างเช่น การมี Huawei Innovation Hub และ Digital Free Trade Zone ในมาเลเซีย ซึ่งก็คล้ายๆ กับบริบทการลงทุนของจีนในประเทศไทย


จาก “Made in China” เป็น “Created in China”

ขณะที่แนวโน้มของสังคมโลกในการเป็นสังคมไร้เงินสด ประกอบกับการมีประชากรสูงอายุ เพิ่มขึ้นและต้นทุนการผลิตจากแรงงานมีมูลค่าสูงขึ้น ทำให้ในปัจจุบันเศรษฐกิจจีนได้เปลี่ยนจากการผลิตแบบเน้นแรงงานมนุษย์มาเป็นการผลิตแบบเน้นนวัตกรรม ปัจจุบันจีนมีสินค้าที่มีคุณภาพสูงมากขึ้น โดยเปลี่ยนจากตัวแบบ “Made in China” ที่ผลิตสินค้าจำนวนมาก/คุณภาพต่ำมาเป็น “Created in China” ซึ่งผลิตสินค้าที่มีนวัตกรรม/คุณภาพสูง ปัจจุบัน บริษัท Huawei เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้ บริษัท JD.com บริษัท Tencent บริษัท Alibaba และบริษัท Baidu เป็นบริษัทที่ติด 10 อันดับแรกของโลกที่มีรายได้สูงที่สุด

จากความเห็นของกลุ่ม RHL Ventures ได้พบกับบริษัทจีนแห่งหนึ่งที่ทำปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถใช้ในนโยบาย Smart City ระบบจัดการการจราจร และรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ซึ่งบริษัทฯ เห็นว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีศักยภาพและต้องการจะร่วมมือกับ RHL ในการเข้าสู่ตลาด แต่มันไม่ง่ายเพราะ บริษัทฯ จะต้องเจอกับการแข่งขันกับบริษัทใหญ่ ๆ ในจีนอย่าง Baidu Alibaba และ Tencent สามยักษ์ใหญ่ของกลุ่มทุนจีน แต่ปัจจุบันบริษัทอเมริกันเลือกที่จะไม่ร่วมมือกับบริษัทใหม่ ๆ ของจีนเหล่านั้น แต่เลือกที่จะร่วมมือกับบริษัทด้านเทคโนโลยีของเอเชียที่มีขนาดเล็กแทน เพื่อเข้าถึงตลาดท้องถิ่นได้ง่ายกว่า

มองรอบๆ ตัว กลุ่มทุนจีนโหมลงทุนอย่างหนักในอาเซียน แม้กระทั้งในประเทศไทยที่มีกลุ่มทุนจีนเพิ่มเข้ามาลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานและโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ซึ่งจีนมีการลงทุนมากเป็นอันดับ 2 รองจากทุนญี่ปุ่น ขณะที่ใน สปป.ลาว ,กัมพูชา ,เมียนมา,ยิ่งหนีไปพ้น ดิ้นไปหลุดเพราะยังต้องการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานอีกมาก แต่ที่น่าจับตาคือ เวียดนาม ที่พยายามดิ้นให้หลุดจากภาคการลงทุนจีนโดยการส่งเสริมให้กลุ่มทุนนานาชาติเข้ามาแข่งขันลงทุนในเวียดนามแทน เพื่อสกัดให้เศรษฐกิจเวียดนามลดการพึ่งพิงการลงทุนจากจีนซึ่งมีพรมแดนติดกัน


รุกหนักกลุ่มอสังหาฯในไทย

เหลียวกลับมามองไทยอีกครั้ง ทุกวันนี้นักลงทุนจีนเข้ามามีบทบาทในตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยมากขึ้น ทั้งการเข้ามาซื้อที่อยู่อาศัยและการเข้ามาร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการชาวไทย ซึ่งข้อมูลจากเว็บไซต์ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ของจีนอย่าง Juwai พบว่าในปี 2561 ลูกค้าชาวจีนสอบถามถึงอสังหาริมทรัพย์ไทยมากที่สุดในโลก

ถือเป็นปัจจัยหลักที่ดึงดูดผู้ประกอบการชาวจีนให้มาลงทุนพัฒนาโครงการในไทยอีกด้วย เห็นได้จากจำนวนโครงการร่วมทุนระหว่างผู้ประกอบการไทยและจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปีที่ผ่านมาชาวจีนได้เข้ามาซื้อคอนโดมิเนียมในไทยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นที่อยู่อาศัยรูปแบบเดียวที่ชาวต่างชาติสามารถถือครองได้ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4 ปี 2551) โดยมูลค่าเงินโอนเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยจากชาวจีนสูงถึงเกือบ 40,000 ล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อน 65.9% และคิดเป็น 11.9% ของมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ของอาคารชุดทั้งประเทศ

มองสวยๆ อาจคิดว่านี่คือการลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ แต่ถ้ามองให้ลึกซึ้งไปกว่านั้น... ท่านผู้อ่านคิดเห็นกับเรื่องนี้อย่างไร

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme

Bangkok Bank SME ราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก www.bangkokbanksme.com หรือ โทร call center 1333

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6066 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
1938 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
4924 | 23/10/2022
การรุกคืบของกลุ่มลงทุนจีนในภูมิภาคอาเซียน