ท่าเรือฮ่องกงเริ่มลดบทบาทต่อการเติบโตของเศรษฐกิจจีน

SME Update
24/03/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 3424 คน
ท่าเรือฮ่องกงเริ่มลดบทบาทต่อการเติบโตของเศรษฐกิจจีน
banner
ตลอดหลายปีที่ผ่านมาของทศวรรษที่ 1990 ท่าเรือฮ่องกง ได้ชื่อว่าเป็นท่าเรือที่เก่าแก่ที่มีชื่อเสียงและมีศักยภาพแห่งเดียวในจีนตอนใต้มามากกว่า 1 ทศวรรษ และเป็นท่าเรือที่มีการขนถ่ายสินค้ามากที่สุดในโลก เนื่องจากท่าเรือในจีนแผ่นดินใหญ่ยังมีการพัฒนาไม่มาก

อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบันท่าเรือฮ่องกงมีปริมาณการขนถ่ายสินค้าลดน้อยลง เนื่องจากท่าเรือในจีนแผ่นดินใหญ่ ทั้งท่าเรือเซินเจิ้น และท่าเรือกว่างโจวมีการขยายตัวและการลงทุนเพิ่มมากขึ้นทั้งในด้านสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย จึงได้กลายมาเป็นคู่แข่งที่มีศักยภาพกับท่าเรือฮ่องกง

นอกจากนี้ การขนถ่ายสินค้าโดยตรงระหว่างท่าเรือในจีนแผ่นดินใหญ่และท่าเรือต่างประเทศจะยิ่งทำให้ท่าเรือฮ่องกงสูญเสียศักยภาพในการแข่งขัน เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องจะยิ่งถูกพัฒนาและโรงงานต่าง ๆ จะถูกสร้างขึ้นมาในบริเวณใกล้กับท่าเรือเหล่านั้น

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme

ท่าเรือฮ่องกง

ปัจจุบันท่าเรือฮ่องกงยังคงเผชิญกับความท้าทายอย่างต่อเนื่องท่ามกลางกระแสการแข่งขันของท่าเรือระดับโลกและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก

โดยในปี 2561 ที่ผ่านมาปริมาณการขนถ่ายสินค้าของท่าเรือฮ่องกงลดลงมาอยู่ที่ 19.64 ล้าน TEUs (Twenty-Foot Equivalent Unit) จากเดิมปี 2560  มีปริมาณ 21 ล้าน TEUs หรือลดลงร้อยละ 5.4 ในขณะที่ท่าเรือเซี่ยงไฮ้มีปริมาณการขนถ่ายสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ท่าเรือกว่างโจวร้อยละ 7.1 และท่าเรือปูซานของเกาหลีใต้ร้อยละ 5.8

ส่งผลให้ท่าเรือฮ่องกงตกมาอยู่อันดับ 7 จากอันดับที่ 5 ของท่าเรือที่มีปริมาณการขนถ่ายสินค้ามากที่สุดในโลก ตามหลังท่าเรือที่เซี่ยงไฮ้ สิงคโปร์ เซินเจิ้น หนิงโป ปูซาน และกว่างโจว ตามลำดับและคาดว่าภายในสิ้นปี 2562 ท่าเรือชิงต่าวจะแซงหน้าท่าเรือฮ่องกงขึ้นมาเป็นอันดับ 7 ทั้งนี้ อาจเนื่องจากเหตุผลและความท้าทายต่าง ๆ ดังนี้

6 ประเด็นที่ท่าเรือฮ่องกงเริ่มลดบทบาทลง

1.การแข่งขันการลงทุนท่าเรือที่สูงขึ้น รัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นของจีนได้ลงทุนปรับปรุงท่าเรือต่าง ๆ ในแผ่นดินใหญ่เพื่อให้สามารถรองรับเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ได้ ทำให้ท่าเรือต่าง ๆ ในจีนแผ่นดินใหญ่สามารถนำเข้าและส่งออกสินค้าได้โดยตรงกับต่างประเทศโดยไม่ต้องผ่านท่าเรือฮ่องกงอีกต่อไป นอกจากนั้นท่าเรือในจีนแผ่นดินใหญ่ สิงคโปร์ และปูซาน ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล แต่ท่าเรือฮ่องกงบริหารงานโดยภาคเอกชน จึงอาจทำให้มีข้อจำกัดในการบริหารท่าเรือ

2.สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ซึ่งยังมีความไม่แน่นอนและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและอาจส่งผลให้บริษัทของจีนย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น ๆ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับท่าเรือคู่แข่งของฮ่องกง เช่น ท่าเรือสิงคโปร์และท่าเรือตันจุงเปเลพาส (Tanjung Pelepas) ของมาเลเซีย ซึ่งก็จะทำให้ท่าเรือฮ่องกงตกอยู่ในฐานะที่ลำบากมากขึ้น

3.การใช้เทคโนโลยีโลจิสติกส์ ปัจจุบันท่าเรือในจีนแผ่นดินใหญ่มีการใช้ระบบอัตโนมัติในการ ควบคุม/ขนส่งมากกว่าท่าเรือฮ่องกง ซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วของจีนจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของท่าเรือ ในจีนแผ่นดินใหญ่

4.ค่าบริการ/ค่าธรรมเนียมการจอดเรือค่อนข้างสูง ท่าเรือฮ่องกงเก็บค่าธรรมเนียมสูงถึง 2,140 ดอลลาร์ฮ่องกงต่อ 1 TEU ซึ่งมากกว่าท่าเรืออันดับ 1 อย่างท่าเรือเซี่ยงไฮ้ ซึ่งมีค่าธรรมเนียมเพียง 974 ดอลลาร์ฮ่องกงต่อ 1 TEU

5.จำนวนแรงงานที่มีน้อย ซึ่งแตกต่างจากจีนแผ่นดินใหญ่ที่มีแรงงานเพียงพอต่อความต้องการและฮ่องกงไม่สามารถดึงดูดคนรุ่นใหม่มาทำงานในอุตสาหกรรมการขนส่งทางเรือได้ ดังนั้นแรงงานส่วนใหญ่ก็จะมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 50 ปี

6.ข้อจำกัดของพื้นที่ด้วยขนาดของท่าเรือฮ่องกงที่มีขนาดเล็กเพียง 279 เฮกตาร์ จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนา/ขยายท่าเรือฮ่องกง


ถึงตรงนี้ท่านผู้อ่านคงเข้าใจถ่องแท้แล้วทำทำไม ท่าเรือที่เคยเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางน้ำที่สำคัญของจีน เคยท่าเรือหลักของโลกในอดีต เคยเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างยุโรปและตะวันออกไกล และท่าเรือตู้สินค้าที่พลุกพล่านที่สุดในโลกกำลังถูกลดบทบาทไป ประเด็นสำคัญคือรัฐบาลจีนให้ความสำคัญกับท่าเรือในแผ่นดินใหญ่มากกว่านั่นเอง

อ้างอิง : กรมเอเชียตะวันออก, กระทรวงการต่างประเทศ
Bangkok Bank SME ราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก www.bangkokbanksme.com หรือ โทร call center 1333

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1236 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1595 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1879 | 25/01/2024
ท่าเรือฮ่องกงเริ่มลดบทบาทต่อการเติบโตของเศรษฐกิจจีน