รัฐบาลสิงคโปร์มีความคิดที่จะใช้รถไฟฟ้ามาตั้งแต่ปี 2552 (2009) สิงคโปร์เริ่ม โครงการการพัฒนา รถยนต์ไฟฟ้า EV เป็นครั้งแรก ภายใต้โปรแกรม The EV Test-bedding Programme โดยการ ร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐของสิงคโปร์ The Energy Market Authority (EMA), Land Transport Authority (LTA), The Agency for Science, Technology and Research (A*STAR), The Economic Development Board (EDB) และ The National Environment Agency (NEA)
รวมทั้งช่วงที่ผ่านมาได้มีการจัดตั้งโครงการหลายโครงการจนถึง BlueSG ซึ่งในปี 2559 ได้มีการลงนามระหว่างบริษัท BlueSG กับสำนักงานการขนส่งทางบกของประเทศสิงคโปร์(The Land Transport Authority of Singapore - LTA) และคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจสิงคโปร์(Economic Development Board - EDB) ในสัญญาการพัฒนาและสนับสนุน นโยบายของการขนส่งสาธารณะสิงคโปร์ โดยบริษัท BlueSG จะต้องพัฒนาการขนส่งทางเลือกใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในสิงคโปร์ และในเดือนธันวาคม 2560 บริษัท BlueSG ได้เปิดตัวโครงการ The Car-Sharing หรือรถไฟฟ้า BlueSG ตามสัญญาที่ได้ลงนาม
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme
การเปิดตัวครั้งแรกของรถไฟฟ้า BlueSG มีรถไฟฟ้าที่พร้อมให้บริการจำนวน 80 คัน จำนวนสถานีชาร์จ 32 สถานี ภายในสิ้นปี 2561 จะเพิ่มจำนวนรถไฟฟ้า BlueSG เป็น 110 คัน สถานีชาร์จ 42 สถานี จะมีจุดชาร์จ 165 จุด ทั่ว สิงคโปร์และเมื่อโครงการสิ้นสุดจำนวนของสถานีชาร์จจะอยู่ที่ 500 สถานี 2,000 จุดชาร์จ โดย 80% ของจุดชาร์จทั้งหมด จะ ตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ส่วนอีก 20% ของจุดชาร์จทั้งหมดจะตั้งกระจายอยู่ตามที่สาธารณะต่างๆ
เห็นได้ชัดว่าที่ผ่านมาสิงคโปร์วางแผนที่จะดึงดูดบริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้เข้ามาลงทุนและตั้งโรงงานในสิงคโปร์มากขึ้น ภายหลังจากเมื่อปีที่แล้วที่บริษัท Dyson ประกาศจะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าคันแรกในสิงคโปร์ โดยสิงคโปร์กําลังสร้างความเชื่อมโยงกับตลาดโลกโดยทําข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) และใช้การมีแรงงานท้องถิ่นที่มีทักษะสูง และกฎระเบียบคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเป็นจุดแข็งในการดึงดูดบริษัทรถยนต์ไฟฟ้า
นาย Chng Kai Fong กรรมการผู้จัดการของคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งสิงคโปร์ (EDB) กล่าว ว่า สิงคโปร์อยู่ระหว่างเจรจากับบริษัทรถยนต์ไฟฟ้ารายอื่น ๆ อีก 2 – 3 ราย โดยไม่ต้องการให้บริษัท Dyson ผูกขาดแต่เพียงเจ้าเดียว โดยมีแนวคิดสร้างกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ แม้ว่าสิงคโปร์จะมีแรงงานที่มีค่าแรงสูง แต่สิงคโปร์ก็จะใช้ระบบเทคโนโลยีขั้นสูงและระบบอัตโนมัติเข้ามาช่วยทุ่นแรง
อนึ่งบริษัท Dyson เป็นบริษัทสัญชาติอังกฤษ มีชื่อเสียงในการผลิตเครื่องเป่าผมและเครื่องดูดฝุ่น วางแผนว่าจะสร้างโรงงาน รถยนต์ไฟฟ้า EV ในสิงคโปร์ได้แล้วเสร็จภายในปี 2563 และจะผลิตต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าในสิงคโปร์ให้ได้ภายในปี 2564 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการมูลค่า 3.5 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เพื่อขยายธุรกิจสู่ภาคยานยนต์ ทั้งนี้ นาย James Dyson ได้มีแผนจะย้ายสํานักงานใหญ่ของบริษัทฯ จากอังกฤษมายังสิงคโปร์ เนื่องจากเห็นศักยภาพการเติบโตของภูมิภาคเอเชีย
Jim Rowan ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Dyson กล่าวว่า ยอมรับว่าสิงคโปร์มีค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจที่สูง แต่ด้วยความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี และการสนับสนุนที่ดีทำให้มันทดแทนกันได้ ดังนั้นสิงคโปร์คือที่ที่ตอบโจทย์เราเพื่อผลิตอะไรที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีข้างในจำนวนมาก และมันคือที่ที่ดีในการผลิตรถยนต์เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์ยังไม่มีโรงงานผลิตรถยนต์ และเป็นหนึ่งในประเทศที่ราคารถยนต์แพงที่สุดในโลก ทั้งนี้ Elon Musk เจ้าของ Tesla ได้เคยลงข้อความใน Twitter เมื่อช่วงต้นปี 2562 ว่ารัฐบาลสิงคโปร์ไม่ค่อยอํานวยความสะดวกในการทําธุรกิจของบริษัท Tesla เท่าใดนัก โดย Tesla ได้พยายามนํารถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาในสิงคโปร์แต่รัฐบาลสิงคโปร์ไม่สนับสนุน
นอกจากนี้ รัฐบาลสิงคโปร์ยังมีแผนในการเพิ่มภาษีคาร์บอน เพื่อให้บรรลุข้อตกลงใน Paris Agreement อย่างไรก็ดี ก็จะทําให้ต้นทุนราคารถยนต์สูงขึ้นอีก หากเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ น่าจับตาว่าสิงคโปร์จะสานฝันยานยนต์ไฟฟ้านี้ให้บรรลุผลได้อย่างไร
Bangkok Bank SME เราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก www.bangkokbanksme.com หรือ โทร call center 1333