7 วิธีการส่งสินค้าไปขายประเทศกัมพูชา

SME Go Inter
31/07/2018
รับชมแล้วทั้งหมด 8902 คน
7 วิธีการส่งสินค้าไปขายประเทศกัมพูชา
banner
1.สินค้าไทยที่ชาวกัมพูชานิยม
สินค้าจากประเทศไทยไม่ว่าจะเป็น อาหารและเครื่องดื่ม ยารักษาโรค สินค้าความงาม เครื่องใช้ครัวเรือน จนไปถึงสินค้าที่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะ ล้วนแต่เป็นสินค้าที่ชาวกัมพูชาให้การยอมรับและสนใจซื้อขายในตลาดมาก
โดยส่วนมากผู้ประกอบการไทยจะส่งสินค้าออกทางช่องทางการขนส่งอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด เพราะใช้เวลาเดินทางขนส่งไปถึงตัวเมืองพนมเปญเพียง 7 วันเท่านั้น

2.การค้าขายในประเทศกัมพูชา แบ่งออกเป็น 2 วิธี
- การค้าแบบปกติผู้นำเข้าและผู้ส่งออกสินค้าของกัมพูชา จะต้องขอจดทะเบียนเป็นผู้นำเข้าและส่งออกสินค้า ที่กรมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โดยการนำเข้าสินค้าในประเทศกัมพูชานั้นจะต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพสินค้าจาก บริษัท SGS ซึ่งเป็นบริษัทเอกชน ที่กระทรวงพาณิชย์กัมพูชาจัดจ้างขึ้นมาเพื่อนทำการตรวจสอบคุณสภาพสินค้านำเข้า
-การค้าระหว่างชายแดนไทยกับกัมพูชาเป็นที่นิยมมาก โดยการค้าชายแดนจะเป็นการค้าระหว่างผู้ส่งออกไทยที่อยู่ตามจังหวัดชายแดนไทยกับผู้นำเข้ากัมพูชา ที่อยู่ตามจังหวัดชายแดนของกัมพูชา ซึ่งมีมูลค่าการซื้อขาย ครั้งละไม่เกิน 5 แสนบาท

3.ประเภทของผู้นำเข้าและส่งออกของกัมพูชา แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ
-บริษัทของรัฐบาล (State-owned Company) เป็นหน่วยงานของรัฐที่ตั้งขึ้น เพื่อนำเข้าสินค้าที่จำเป็นต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เช่น การนำเข้าอาหารและข้าว เพื่อใช้แจกเป็นสวัสดิการแก่ทหารและข้าราชการ
-บริษัทเอกชน (Private Company) เป็นบริษัทผู้นำเข้า (Importer) หรือบริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว (Sole Agent) หรือเป็นบริษัทตัวแทนจำหน่าย (Distributor) ของกัมพูชา
-ผู้ค้าชายแดน เป็นผู้รับจ้างนำเข้าสินค้าให้กับร้านค้าย่อยตามตลาดต่างๆ โดยพ่อค้าชายแดนจะรับสินค้าจากชายแดนไทย ไปส่งตามร้านค้าและแผงลอยในกัมพูชา ซึ่งสินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค

4.การชำระเงินค่าสินค้าระหว่างผู้ส่งออกไทยกับผู้นำเข้าของกัมพูชา
- Letter of credit คือหนังสือค้ำประกันสำหรับการนำเข้าสินค้า โดยผู้ซื้อจะทำการเปิด L/C ไปสั่งซื้อสินค้ากับผู้ขาย   เมื่อผู้ขายได้รับ L/C ก็มั่นใจได้ว่า เมื่อตนส่งสินค้าไปแล้วจะได้รับการชำระเงินอย่างแน่นอน เพราะมีธนาคารเข้ามาทำการค้ำประกันการจ่ายเงินให้  และผู้ซื้อก็มั่นใจได้ว่า หากผู้ขายไม่ส่งสินค้ามาให้เงินก็จะไม่ถูกจ่ายออกไป  ดังนั้นการค้าที่มีการเปิด L/C โดยผู้ซื้อจะเปิด L/C สั่งซื้อสินค้ากับผู้ขาย โดยมีธนาคารเข้ามาเป็นตัวกลางในการสร้างความเชื่อมั่นผ่าน Letter of Credit
-การชำระค่าสินค้าด้วยเงินสดสกุลเงินที่นิยมนำมาใช้มากที่สุดคือ ดอลลาร์สหรัฐฯ และเงินบาท หรือบางครั้งจะชำระด้วยทองคำ
-การชำระเงินระบบ D/P (Documents Against Payment) และ D/A (Documents Against Acceptance) ผู้ส่งออกของไทยจะทำการตรวจสอบฐานะและประวัติของผู้ซื้อกัมพูชาก่อนจนเป็นที่พอใจแล้วจึงส่งเอกสารและสินค้าไปให้กับธนาคารของผู้นำเข้าโดยผู้นำเข้าจะต้องชำระเงินค่าสินค้าก่อนจึงจะสามารถนำเอกสารไปออกสินค้าได้
- Telegraphic Transfer (T/T)  คือการชำระเงินค่าสินค้าโดยตรงด้วยการโอนเงิน  ผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องมีการตกลงกันว่าจะชำระเงินก่อนหรือหลังการส่งของ หรืออาจจะชำระบางส่วนก่อน เมื่อผู้ซื้อได้รับสินค้าก็จะชำระส่วนที่เหลือ ผู้ขายส่งเอกสาร (ตั๋ว) ให้กับผู้ซื้อ ในกรณีนี้ผู้ซื้อและผู้ขายต้องเป็นทำธุรกิจร่วมกันมานาน เพราะใช้ความไว้เนื้อเชื่อใจเป็นพื้นฐานในการรับประกัน

5.ระบบการชำระเงินทางการค้าที่นิยมในกัมพูชา
ในอดีตกัมพูชาไม่มีสกุลเงินเป็นของตนเอง ราคาสินค้าถูกกำหนดโดยเงินดองของเวียดนาม เงินบาทของไทย ทองคำ และข้าว โดยอัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวตามอัตราตลาดในปี 2533 รัฐบาลกัมพูชาได้ประกาศใช้ระบบเงินตราโดยนำสกุลเงินเรียล (Riel) มาใช้ ต่อมาในปี 2538 กัมพูชาได้ใช้นโยบายเปิดกว้างทางเศรษฐกิจและได้มีการส่งเสริมการค้ากับต่างประเทศ ทำให้สกุลเงินที่ใช้ในการติดต่อค้าขายในประเทศ โดยมีหลายสกุลด้วยกันที่สามารถใช้ได้ เช่น เงินเหรียญสหรัฐฯ เงินบาทไทย ทองคำ และเงินเรียล

6.ช่องทางการจำหน่ายสินค้าในกัมพูชา
ช่องทางการจัดจำหน่ายและการกระจายตัวของสินค้าในตลาดกัมพูชา จำแนกตามสินค้าที่สำคัญดังนี้
-สินค้าอุปโภคบริโภค ผู้นำเข้าของกัมพูชาจะนำสินค้าจากไทย ไปกระจายให้กับร้านค้าส่ง ซูเปอร์มาร์เก็ต มินิมาร์ท และ ร้านค้าปลีก ในกรุงพนมเปญและเมืองการค้าต่างๆ
-สินค้าวัสดุก่อสร้าง ผู้นำเข้าจะเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าเอง โดยจะกระจายสินค้าต่อไปยังตัวแทนขาย และร้านค้าปลีก
-การขายโดยตรงให้ผู้บริโภคทั้งในกรุงพนมเปญและจังหวัดต่างๆ ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าผ่านแดนผู้นำเข้าของกัมพูชาจะนำสินค้าเข้าจากไทย แล้วส่งต่อไปจำหน่ายที่เวียดนาม โดยเป็นลักษณะของการขนสินค้าผ่านแดน

7.จุดการค้าและเส้นทางการค้ากัมพูชา
จุดการค้าที่สำคัญของกัมพูชาที่มีชายแดนติดกับไทยได้แก่ พระตะบอง เสียมเรียบ และเกาะกง ส่วนเมืองการค้าที่ไม่มีเขตติดต่อกับไทยได้แก่ กรุงพนมเปญ กัมปงโสม สวายเรียง สะตรึงเตร็ง และรัตนคีรี ส่วนเส้นทางการค้าในกัมพูชาที่ใช้ขนส่งสินค้า ส่วนใหญ่จะเป็นการขนส่งทางรถยนต์และการขนส่งทางเรือ

ธนาคารกรุงเทพ ใส่ใจให้บริการนักลงทุนในย่านอาเซียนด้วยบริการเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน เรามีสาขาของธนาคารอยู่ในประเทศอาเซียน 9 ใน 10 ประเทศ เพื่อให้บริการท่าน
สนใจติดต่อได้ที่ศูนย์ AEC Connect ชั้น 2 สำนักธุรกิจ ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่
อีเมล: AECconnect@bbl.co.th โทรศัพท์ 02 -230-2758 หรือ สายด่วน 1333

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6331 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2034 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5069 | 23/10/2022
7 วิธีการส่งสินค้าไปขายประเทศกัมพูชา