‘อินโนสเตลลาร์’ ขับเคลื่อนองค์กรเรือสู่โลกดิจิทัล ผลักดันเรืออัจฉริยะมุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางทะเล

SME in Focus
30/03/2023
รับชมแล้วทั้งหมด 2462 คน
‘อินโนสเตลลาร์’ ขับเคลื่อนองค์กรเรือสู่โลกดิจิทัล ผลักดันเรืออัจฉริยะมุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางทะเล
banner
แนวโน้มตลาดอุตสาหกรรมการเดินเรือในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีการเติบโตอย่างรวดเร็วเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ดังนั้น การที่ บริษัท อินโนสเตลลาร์ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางทะเลของประเทศไทย ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าให้ติดตั้งบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียมไทย

ถือเป็นบริษัทหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับนวัตกรรมทางทะเลดาวเทียมของคนไทย ที่มุ่งมั่นก้าวขึ้นเป็นผู้นำของตลาด มีระบบ Maritime Digital platform  ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและให้บริการทางทะเล



จุดเริ่มต้นธุรกิจหนึ่งเดียวที่ใช้ดาวเทียมไทยในการทำธุรกิจ

คุณเกริก วิไลมาลย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินโนสเตลลาร์ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางทะเลของประเทศไทย ให้บริการด้าน การติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียม และ Maritime Digital platform แก่อุตสาหกรรมทางทะเล

สะท้อนมุมมองว่า จากประสบการณ์การทำงานในวงการเดินเรือขนส่งสินค้า และวงการสื่อสารกับบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่ง ทำให้เล็งเห็นโอกาสในการทำธุรกิจอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมในทะเล ซึ่งเป็นระบบการติดต่อสื่อสารที่สำคัญกับเรือเดินทะเล เพราะมีความสัมพันธ์กับการดำเนินธุรกิจและความปลอดภัย จึงตัดสินใจเปิดบริษัท Ship Expert Technology  จำกัด 


คุณเกริก วิไลมาลย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินโนสเตลลาร์ จำกัด

ส่วนบริษัท อินโนสเตลลาร์ ถือเป็นบริษัทลูกของบริษัท Ship Expert Technology  จำกัด ซึ่ง คุณเกริก เล่าว่า ในระยะเริ่มแรกของการก่อตั้งบริษัทฯ เราเริ่ม Penetrate ตลาด Offshore เป็นตลาดแรกๆ 

“...เราสามารถพูดได้ว่า ปัจจุบันกลุ่มลูกค้าเรือ Offshore ในประเทศ ใช้บริการเทคโนโลยีการสื่อสารของเราถึง 70% ดังนั้นคนประจำเรือจะได้ใช้อินเทอร์เน็ตบนแพลตฟอร์มของคนไทยด้วยกัน”



แพลตฟอร์ม เพิ่มประสิทธิภาพปฏิบัติงานและให้บริการทางทะเล

เราใช้แพลตฟอร์ม ที่ให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียม ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ สำหรับใช้สื่อสารระหว่างเรือที่ออกไปปฏิบัติการนอกชายฝั่งในภูมิภาคเอเชีย แพลตฟอร์มนี้เปิดตัวครั้งแรกเมื่อต้นปี 2561 ที่ผ่านมา

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะช่วยยกระดับการสื่อสารในอุตสาหกรรมการเดินเรือในยุคดิจิทัล ทำให้การปฏิบัติงานในท้องทะเลมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดช่องว่างในการติดต่อสื่อสารระหว่างชายฝั่ง กับลูกเรือและผู้โดยสาร โดยสามารถเชื่อมต่อทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา แม้อยู่กลางทะเล

"...การเชื่อมต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ คือ ปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจอุตสาหกรรมการเดินเรือ เราเชื่อมั่นว่าด้วยศักยภาพของแพลตฟอร์ม เมื่อผนวกกับโซลูชั่นการจัดการขนส่งทางทะเลแบบครบวงจร จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเพิ่มประสิทธิภาพของงานบริการนอกชายฝั่งทะเลให้กับผู้ประกอบการเดินเรือ อีกทั้ง แพลตฟอร์ม ยังช่วยให้ลูกเรือสามารถใช้บริการออนไลน์ต่าง ๆ  เพื่อติดต่อสื่อสารกับครอบครัวผ่านโทรศัพท์มือถือในระหว่างที่เรือออกไปปฏิบัติการนอกชายฝั่งได้อีกด้วย..."



ผลิตภัณฑ์หลักของ อินโนสเตลลาร์ มีอะไรบ้าง?

คุณเกริก กล่าวถึงผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 บริษัทว่า เราให้บริการใน 5 ส่วนหลัก ๆ ด้วยกัน ได้แก่ 

ส่วนที่ 1 Connectivity หรือ บริการ อินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียมในทะเล ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ โดยแยกการให้บริการ เป็น 2 ส่วน ตามผู้ใช้งาน คือ 1) เจ้าของเรือเพื่อส่งอีเมลและโทรศัพท์ ซึ่งมีความสำคัญ 2)  ให้ลูกเรือได้ใช้ติดต่อกับครอบครัว และยังเป็นแอพพลิเคชันที่คนเรือสามารถกดซื้อเองได้ ซึ่งผมภูมิใจมาก

ส่วนที่ 2 ซอฟท์แวร์ ERP (Enterprise Resource Planning) ช่วยให้เจ้าของเรือหรือผู้บริหารสามารถดูแลจัดการธุรกิจทั้งหมด ได้แบบเรียลไทม์ ซอฟท์แวร์ประเภทนี้คือ Ship Expert Enterprise (SEE) ที่ถูกออกแบบมาเพื่อธุรกิจทางทะเลโดยเฉพาะ โดยซอฟท์แวร์ ERP ของเราได้รับการรับรองจากสถาบันจัดชั้นเรือ (Class NK) ในหมวดหมู่ Plan Maintenance System (PMS) อีกด้วย

ส่วนที่ 3 Ship Stability Program หรือ โปรแกรมคำนวณการทรงตัวของเรือ ตามข้อบังคับของ องค์กรทางทะเลระหว่างประเทศ หรือ IMO ได้กำหนดให้เรือบรรทุกสินค้าเหลวในระวางจะต้องติดตั้ง Loading Computer ให้เสร็จสิ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2564 โดยจากข้อบังคับดังกล่าวทำให้บริษัท เล็งเห็นโอกาสทางการตลาดที่กองเรือบรรทุกสินค้าเหลวในระวางจะใช้บริการ Ship Stability Program มากขึ้น ซึ่งโปรแกรมของบริษัทได้รับการรับรองค่าผลลัพธ์จากการคำนวณจากสถาบันจัดชั้นเรือ (Class NK) อีกด้วย

ส่วนที่ 4 บริการ Online CCTV หรือ กล้อง CCTV ที่สามารถติดตั้งบนเรือ และสามารถดูภาพจากกล้องบนเรือ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านบริการอินเตอร์เน็ตดาวเทียม ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานบนฝั่งที่มีหน้าที่ในการควบคุมเรือ หรือเจ้าของเรือสามารถดูกล้องบนเรือได้ตลอดเวลา

ส่วนที่ 5 Internet of Things (IoT) เป็นการเชื่อมโยง อุปกรณ์ต่าง ๆ ทุกสิ่งทุกอย่างสู่โลกอินเตอร์เน็ต เราเรียก Solution นี้ว่า V.IOT ซึ่งเป็นระบบที่จะใช้การติด Sensor ต่าง  ๆ ไว้ตามเครื่องยนต์กลไกล ต่างๆบนเรือเพื่อเก็บค่าข้อมูลส่งผ่านอินเตอร์เน็ตดาวเทียมมายังศูนย์ควบคุมบนฝั่งเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลหรือนำเอาข้อมูลไปช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ตามโจทย์ที่ลูกค้าต้องการ เช่น การควบคุมปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง, การทำ  Predictive maintenance , การปฏิบัติตามกฎข้อบังคับต่าง ๆ เช่น การตรวจวัดค่า  คาร์บอนเครดิต เป็นต้น



“...ต้องบอกว่าช่วงแรก ๆ ที่เราบุกเบิกธุรกิจนี้ ยังไม่มีคนรู้จัก เพราะ Internet of Things ถือเป็น เรื่องใหม่สำหรับอุตสาหกรรมเดินเรือของไทย จะเรียกว่าตลาดค่อนข้าง Laggard ก็ว่าได้” 

คุณเกริก อธิบายถึงการใช้งาน Solution V.IOT สำหรับอุตสาหกรรมทางทะเลว่า สามารถสร้าง Value หรือ มูลค่าเพิ่มในตลาดได้อย่างไร



คุณเกริก เปรียบเทียบให้เห็นภาพว่า  ถ้าบ้านเราตั้งอยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีอินเตอร์เน็ตใช้ เราก็คงอยู่ได้โดยไม่คิดจะซื้อ Smart TV ไม่สมัคร Platform เพื่อดูหนังออนไลน์ หรือไม่คิดการใหญ่เปลี่ยนบ้านเป็น Smart Home เพราะโครงสร้างพื้นฐานที่มีไม่รองรับ

อุตสาหกรรมเรือก็เหมือนกัน เมื่ออินเทอร์เน็ตเราแข็งแกร่ง การต่อยอดก็ไม่ใช่เรื่องยาก เราจับมือกับ Partner พัฒนา Maritime Digital Platform และเรียก Solution ดังกล่าวว่า V.Suit ซึ่งเป็น Solution ที่จะช่วยผลักดันจากเรือธรรมดา เป็น เรืออัจฉริยะ (Smart Ship) อาทิ กล้อง CCTV แบบ real time ในทะเล หรือ การใช้เทคโนโลยี IOT เข้ามาช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้า หรือบริการ V.IOT

ซึ่งเป็นระบบ  internet of thing ในทะเล โดยการติด Sensor ไว้ตามเครื่องยนต์กลไกลบนเรือเพื่อเก็บค่าข้อมูลส่งผ่านอินเตอร์เน็ตดาวเทียมมายังศูนย์ควบคุมบนฝั่ง เพื่อวิเคราะห์และนำมาไปช่วยแก้ปัญหาตามโจทย์ที่ลูกค้าต้องการ เช่น การควบคุมปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง, การทำ Predictive maintenance, การปฏิบัติตามกฎข้อบังคับต่าง ๆ เช่น 

การตรวจสอบการใช้เชื้อเพลิง เมื่อเจ้าของเรือรับรู้ปริมาณการใช้เชื้อเพลิง ก็จะสามารถวิเคราะห์และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมเพื่อการควบคุมต้นทุนที่ดีขึ้น

ติดตามสมรรถนะของเรือ ผู้จัดการกองเรือ เก็บข้อมูลต่าง ๆ จากเรือเพื่อนำมาประเมินประสิทธิภาพของการเดินเรือในทุกๆ การเดินทาง

ติดตามสภาพอากาศ นายเรือ หรือ กัปตันเรือ จำเป็นต้องใช้ข้อมูลสภาพอากาศและท้องทะเลในการวางแผนเส้นทางการเดินเรือเพื่อคำนวณการใช้เชื้อเพลิง และความปลอดภัยในการเดินเรือ การตรวจวัดการประเมินค่า การปล่อยก๊าซคาร์บอนของเรือเดินทะเล



ต่อจากนี้ วงการเดินเรือต้องถูกประเมินการปล่อยก๊าซคาร์บอน

จากการแก้ไขอนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อการป้องกันมลพิษจากเรือ (MARPOL) Annex VI มีผล  บังคับใช้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งได้รับการพัฒนาภายใต้กรอบของยุทธศาสตร์ IMO ว่าด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากเรือ ที่ประชุมตกลงในปี 2561

โดยกำหนดการบังคับใช้ ให้เรือปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก  ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของ องค์กรทางทะเลระหว่างประเทศที่ต้องการจะลดก๊าซคาร์บอนลงให้ได้ 40 %  ในปี 2573

ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เรือจำเป็นต้องคำนวณ Energy Efficiency Existing Ship Index (EEXI) ที่ได้รับ เพื่อวัดประสิทธิภาพพลังงานและเริ่มการรวบรวมข้อมูลสำหรับการรายงานตัวบ่งชี้ความเข้มคาร์บอนในการปฏิบัติงานประจำปี (CII) และการจัดอันดับ CII .



มองเห็น Pain Point ธุรกิจเดินเรือ ต่อยอดธุรกิจในอนาคต 

คุณเกริก สะท้อนปัญหาว่า เราปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจุบันการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในบ้านเราหรือระดับโลก ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ทำให้เกิดมลภาวะจากการขนส่งทางทะเลที่ส่งผลกระทบต่อโลกและสิ่งแวดล้อม

ด้านองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization หรือ IMO) เป็นหน่วยงานหนึ่งของ UN ที่ดูแลด้านทางทะเล ปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ 177 ประเทศ ได้คำนึงถึง Sustainable Shipping For Sustainable Planet มากขึ้น จำเป็นต้องออกกฎกติกามาใช้ร่วมกัน เพื่อสร้างความยั่งยืน (Sustainability) จึงเน้นที่การใช้พลังงานกับพาหนะในการขนส่งที่ก่อมลภาวะต่อโลกและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

ขณะที่ในเวที COP 26 มีการพูดถึงมากในเรื่องของ Intensity ซึ่งเรือมีระบบ Engine ต่าง ๆ ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ สิ่งสำคัญคือ หลังจากที่ประชุม COP 27 มีระเบียบข้อบังคับชัดเจนว่าปี 2573วงการเดินเรือ (Maritime) ต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 40%  ซึ่ง IMO ก็รับร่างนี้แล้วจะทำให้เกิดระเบียบข้อบังคับใหม่ที่เรียกว่า ดัชนีความเข้มข้นของคาร์บอน (Carbon Intensity Indicator: CII) 

สำหรับรูปแบบการคำนวณ จะดูว่าวันนี้เราวิ่งไปไกลเท่าไหร่ ใช้น้ำมันไปกี่ลิตร คำนวณได้จากการเผาไหม้ของน้ำมันที่ใช้ว่าปล่อยคาร์บอนเท่าไหร่ ผมมองว่าตรงนี้เป็น Pain Point ของตลาด ซึ่งเรามีการเก็บข้อมูลไว้อยู่แล้ว สามารถนำไปใช้เพื่อร่วมธุรกิจกับบริษัทอื่นได้ในอนาคต
  
คุณเกริก กล่าวว่า เรื่องนี้ถือว่า IMO ออกกฎได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเขาไม่ได้ไปบังคับโดยตรง แต่ลองมาดูว่าถ้าไม่ปฏิบัติตามจะเกิดผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไร ยกตัวอย่าง อินโนสเตลลาร์ มีเรืออยู่ลำหนึ่ง เรือลำนี้มีค่า CII Rating คือ C หากผมต้องไปรับงานบริษัทใหญ่แห่งหนึ่ง เขาบอกว่าต้องการ CII Rating คือ B  อินโนสเตลลาร์ จึงจำเป็นต้องส่งเรือลำใหม่ให้กับผู้เช่า 

นั่นหมายความว่า ไม่ได้มีใครมาบังคับเราโดยตรง แต่เราไม่สามารถรับงานนั้นได้ นอกจากเปลี่ยนเรือใหม่ หรือดำเนินการแก้ไขค่า CII Rating เช่นการเปลี่ยนเครื่องยนต์ การใช้เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาปรับปรุง  หรือต้องไปซื้อคาร์บอนเครดิตทดแทน 

ซึ่งนั่นคือสิ่งที่ อินโนสเตลลาร์ จะต่อยอดธุรกิจต่อไป ในปัจจุบันเขารู้แค่ว่าคุณปล่อยคาร์บอนออกไปเท่าไหร่? อย่างไร? ตามกฎเรือ ซึ่งอนาคตจะต่อยอดในเรื่องของการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตของเรือด้วย 



ฝากข้อคิดถึงผู้ประกอบการ SME ในการทำธุรกิจยุค Digital Transformation 

ช่วงสุดท้ายของการสนทนากัน กรรมการผู้จัดการ อินโนสเตลลาร์ ได้ให้แง่คิดในการทำธุรกิจยุค Digital Transformation ว่า 

“…ในวันที่ตนเริ่มต้นธุรกิจก็มองไม่เห็นหนทางว่าผลิตภัณฑ์เราจะขายใคร และขายได้อย่างไร เชื่อว่าผู้ประกอบการ SME หลายรายคงเจอปัญหาเหมือนกับผม ดังนั้นเราต้องพยายามมองหา Pain Point ของลูกค้าอยู่ตลอดเวลาและต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของเรา รวมถึงพัฒนาศักยภาพของเรา เพื่อแก้ Pain Point ให้กับลูกค้าให้ได้ อันนี้คือสิ่งสำคัญในการนำพาธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ…”

สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ สะท้อนให้เห็นว่า การขับเคลื่อนองค์กรเรือสู่โลกดิจิทัล เป็นเรื่องสำคัญและต้องทำอย่างเร่งด่วน เพราะความสะดวกและเวลาจะทำให้องค์กรเรือของเราก้าวนำคู่แข่งในโลกดิจิทัลได้ ดังนั้น เราพร้อมที่จะ Transform ให้องค์กรเรือของลูกค้าเป็นองค์กรเรือที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและมีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพเป็น Maritime Data Driven Organization อย่างแท้จริง 


รู้จัก ‘บริษัท อินโนสเตลลาร์ จำกัด’ เพิ่มเติมได้ที่


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

จากโรงกลึงสู่โรงงานอัจฉริยะ พลิกโฉมธุรกิจสู่ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายชิ้นส่วนยานยนต์คุณภาพสูง

จากโรงกลึงสู่โรงงานอัจฉริยะ พลิกโฉมธุรกิจสู่ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายชิ้นส่วนยานยนต์คุณภาพสูง

จากโรงกลึงเล็ก ๆ ในบ้าน สู่ผู้นำอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เรื่องราวของบริษัท ซี.เอส.เอ็นจิเนียริ่ง ออโต้พาร์ท จำกัด กับการเดินทางอันยาวนานของความมุ่งมั่นและทุ่มเทของ…
pin
19 | 27/11/2024
เรียนรู้ Mindset ชฎา โอเวอร์ซี สร้างจุดแข็ง เน้นจุดขาย ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นให้อยู่รอด เติบโตยั่งยืน

เรียนรู้ Mindset ชฎา โอเวอร์ซี สร้างจุดแข็ง เน้นจุดขาย ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นให้อยู่รอด เติบโตยั่งยืน

“ความจริงใจ ใส่ใจ และความซื่อสัตย์” คือ Mindset ที่เจ้าของธุรกิจสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจ เพื่อสร้างความแตกต่างและอาจช่วยนำไปสู่ความสำเร็จได้…
pin
21 | 17/11/2024
เส้นทางสู่ความยั่งยืนของธุรกิจฟาร์มไก่ ความท้าทายและโอกาสสู่ผู้นำอุตสาหกรรมปศุสัตว์ไทยสู่ตลาดโลก

เส้นทางสู่ความยั่งยืนของธุรกิจฟาร์มไก่ ความท้าทายและโอกาสสู่ผู้นำอุตสาหกรรมปศุสัตว์ไทยสู่ตลาดโลก

เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ถูกมนุษย์คิดค้น และพัฒนาขึ้นในทุกวัน ทั้งยังมีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการเกษตรและปศุสัตว์ด้วย…
pin
23 | 15/11/2024
‘อินโนสเตลลาร์’ ขับเคลื่อนองค์กรเรือสู่โลกดิจิทัล ผลักดันเรืออัจฉริยะมุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางทะเล