AEC Connect | ‘รัสเซีย’ มุ่งตะวันออก ขยับการค้าใกล้ ‘อาเซียน’
มาตรการคว่ำบาตรจากสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ
หลังประธานาธิบดี วลาดิมีร์
ปูตินแห่งรัสเซียรับรองสถานะการเป็นรัฐอิสระของสาธารณรัฐประชาชนโดเนตสก์และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์
ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของยูเครน ยิ่งเป็นแรงผลักดันบีบบังคับให้รัสเซียมุ่งสู่
‘ตะวันออก’ (Look East) เมื่อชาติตะวันตกไม่แสดงความเป็นมิตรต่อรัสเซียและยังไม่มีวี่แววของการเปลี่ยนทีท่าในเร็ววันนี้
‘การมุ่งสู่ตะวันออก’
นั่นก็คือ ‘เอเชีย’ ซึ่งรวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)
นับเป็นภูมิภาคที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วและมีฐานผู้บริโภคขนาดใหญ่ซึ่งหากมองในแง่ความมั่งคั่งของภูมิภาคนี้ในอนาคต
‘การมุ่งสู่ตะวันออก’ จึงถือว่าเป็นโอกาสใหม่ ๆ
สำหรับผู้ส่งออกและผู้ค้าขายชาวรัสเซีย
รู้หรือไม่ว่าพื้นที่
2 ใน 3 ของรัสเซียนั้นอยู่ใน ‘เอเชีย’
แม้ว่าพื้นที่นี้จะดูเหมือนว่าอยู่ห่างไกลเหลือเกิน แต่รัสเซียและโครงการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง
(BRI) ของจีนกำลังพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระดับภูมิภาคเพื่อ ‘เข้าถึง’ พื้นที่ต่าง ๆ
ของรัสเซีย เช่น ท่าเรือ ‘วลาดิวอสต๊อก’ (Vladivostok), การเชื่อมโยงจากเมืองต่าง
ๆ ของรัสเซีย เช่น Blagoveshchensk และ Nizhneleninskoye กับจีน ที่เริ่มดีขึ้น
อีกทั้งเมือง Chita และ Irkutsk ที่เปิดโอกาสให้เข้าถึง ‘มองโกเลีย’ และ
‘คาซักสถาน’
เมื่อปรับโฟกัสให้เข้าใกล้รัสเซียยิ่งขึ้น
ท่าเรือ ‘วลาดิวอสต๊อก’ (Vladivostok)
นั้นถือเป็นท่าเรือสำคัญและเมื่อเดินทางโดยเครื่องบินก็ใช้เวลาเพียง 3
ชั่วโมงจากนครเซี่ยงไฮ้และกว่า 2 ชั่วโมงจากกรุงโตเกียว
ซึ่งนับว่าเป็นท่าเรือที่เข้าถึงได้ง่ายและเปิดทางการค้าสู่เอเชียกลาง,
ยุโรปตะวันออกและตลาดอื่น ๆ ในยุโรป
การเปลี่ยนถ่ายสินค้าทั่วรัสเซียสู่ยุโรปจากท่าเรือ
‘วลาดิวอสต๊อก’ (Vladivostok) ลดเวลาการขนส่งถึง 50% จากการใช้เส้นทางคลองสุเอซที่ใช้เวลาในการขนส่งอยู่ที่ราว
30-45 วัน
ตัวเลขชี้วัดนี้จะช่วยปรับมุมมองวิธีการส่งออกสินค้าแบบวิธีดั้งเดิมเปลี่ยนไปมองหาโอกาสจากท่าเรือของรัสเซียซึ่งหากท่าเรือรัสเซียสามารถตอบโจทย์โดยใช้การได้ดีในแง่ที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาก็จะยิ่งส่งผลให้ผู้ส่งออกภาคการผลิตของ
‘อาเซียน’ หันมาพิจารณาใช้เส้นทางนี้มากขึ้น นอกจากนี้
สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในขณะนี้ คือ ที่มณฑล ‘กว่างสี’ ของจีนซึ่งใกล้กับ ‘เวียดนาม’
มีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่ค่อย ๆ เคลื่อนย้ายรัสเซียให้เข้าใกล้
‘เอเชียกลาง’ และ ‘เอเชียใต้’ มากขึ้นด้วย
อีกก้าวหนึ่งที่รัสเซียพยายามใช้กระชับความสัมพันธ์กับ
‘อาเซียน’ คือ วัคซีนทางการทูต โดยวัคซีน ‘สปุตนิก’
ของรัสเซียเป็นตัวกลางที่นำเสนอให้หลายชาติในเอเชียใต้และอาเซียนได้ทำความรู้จักด้านการค้าและความสามารถต่าง
ๆ ของรัสเซียมากยิ่งขึ้นจากที่แต่ก่อนนั้นมีประสบการณ์ติดต่อกับรัสเซียค่อนข้างน้อย
โดยการนำส่งวัคซีนที่มีประสิทธิภาพได้ตามที่สัญญาและมีเงื่อนไขที่เหมาะสมยิ่งเพิ่มความคุ้นเคย
ความเชื่อมั่นและแม้แต่มิตรภาพซึ่งถือว่าเป็นการใช้พลังเชิงอ่อนละมุน (soft power)
ช่วยเปิดโอกาสและทำให้ความสัมพันธ์ด้านการค้าระหว่างกันดียิ่งขึ้น
ขณะที่
ประเทศสมาชิกของอาเซียนแต่ละประเทศเองมีโอกาสทางการลงทุนที่แตกต่างกันไปสำหรับนักลงทุนชาวรัสเซียนับตั้งแต่การส่งออกยุทโธปกรณ์,
ข้าวสาลี จนถึงการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
โดยการค้าระหว่างอาเซียนและรัสเซียเพิ่มขึ้นแบบพอประมาณจาก 500
ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2548 เป็น 18,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2562
อีกทั้งการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP
ยังเปิดประตูการค้าให้แก่นักลงทุนชาวรัสเซียให้เข้าถึงผู้บริโภคกว่า 2,000 ล้านคน
ซึ่งรวมถึงผู้บริโภคในอาเซียนราว 600 ล้านคนด้วย
ส่วนรัสเซียก็นับว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพสำหรับผู้ประกอบการในอาเซียน
เป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูง มีจำนวนประชากรราว 144 ล้านคน
เป็นสมาชิกสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย (Eurasian Economic Union: EAEU) ที่ประกอบด้วย
รัสเซีย คาซัคสถาน เบลารุส อาร์เมเนีย และคีร์กีซสถาน
นับเป็นกลุ่มประเทศที่เป็นตลาดศักยภาพใหม่ ด้วยประชากรรวมกันกว่า 180 ล้านคน มี
GDP กว่า 1,600 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ย 2.5% ต่อปี
อีกทั้งรัสเซียยังพึ่งพาการนำเข้าสินค้าด้านการเกษตรและอาหารสูง
เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านภูมิอากาศที่ไม่อำนวยต่อการเพาะปลูกซึ่งเป็นโอกาสการค้าของผู้ประกอบการในอาเซียน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทย
ทั้งนี้ สินค้า 10
อันดับแรกของไทยที่ส่งออกไปยังรัสเซียระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม ปี 2564 ได้แก่
1. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 2. ผลิตภัณฑ์ยาง 3. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล
4. ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 5. เม็ดพลาสติก 6. อากาศยาน ยานอวกาศ และส่วนประกอบ 7.
เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 8. ยางพารา 9. แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า 10.
อัญมณีและเครื่องประดับ
อย่างไรก็ดี
จากสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างรัสเซีย-ยูเครนในขณะนี้
หากชาติตะวันตกยกระดับใช้มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียอย่างเข้มข้นโดยพุ่งเป้าไปที่การจำกัดขีดความสามารถทางการค้าระหว่างประเทศและการเงินระหว่างประเทศและชาติอาเซียนจำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวจึงอาจส่งผลให้ชาติอาเซียนได้รับผลกระทบทางการค้าโดยเฉพาะภาคการส่งออกซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย
ดังนั้นผู้ประกอบการด้านส่งออกจึงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวัง
ที่มา:
Russian Outbound Investment into
ASEAN & Southeast Asia (aseanbriefing.com)
Opportunities for Russian
Investors in ASEAN (aseanbriefing.com)
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ (ditp.go.th)
Population, total - Russian
Federation | Data (worldbank.org)
ปรับโฟกัส มองรัสเซีย
โอกาสของธุรกิจไทย (bot.or.th)
EAEU ตลาดใหม่ ไทยรู้ไว้ ไม่ตกขบวน
(prachachat.net)
ผู้เขียน : ศิริอาภา คำจันทร์
╔═══════════╗
ติดตามช่องทางอื่นๆ ของ AEC Connect
YouTube: https://bit.ly/3wunilQ
Blockdit: https://bit.ly/3xlPhE3
Tiktok: https://vm.tiktok.com/ZM8XcMGx5/
LINE OA: https://lin.ee/vPLU1bd
╚═══════════╝