พลิกวิกฤต Aged Society เกาหลีใต้ เป็นโอกาส SME ไทย รุกตลาดอาหารผู้สูงอายุแดนกิมจิโตแรง

SME Go Inter
23/02/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 2158 คน
พลิกวิกฤต Aged Society เกาหลีใต้ เป็นโอกาส SME ไทย รุกตลาดอาหารผู้สูงอายุแดนกิมจิโตแรง
banner
ประเทศเกาหลีใต้นิยมเรียกสังคมผู้สูงอายุว่า Aging Friendly Industry หรือ ‘สังคมที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ’ อ้างอิงจากสถิติของแดนกิมจิในปี 2562 จำนวนผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 65 ปี อยู่ที่ 14.9% กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) และมีแนวโน้มที่จะกลายเป็น Super Aging Society ภายในปี 2569 รัฐบาลเกาหลีใต้จึงได้มีการออกพระราชบัญญัติส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2549 โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมคุณภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชากรผู้สูงอายุและการเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศที่ดีขึ้น ผ่านการสนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ โดยการวางรากฐานสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าว



โดยกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการของเกาหลีใต้ ได้เริ่มจัดตั้งสถาบันพัฒนาแรงงานผู้สูงวัยเกาหลีใต้ตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งเป็นองค์กรกลางของรัฐในการจัดหางานให้แก่ผู้สูงอายุ เพื่อก่อให้เกิดสวัสดิการที่มีประสิทธิผล นอกจากนี้ทางกระทรวงฯ ยังได้มอบหมายให้สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสุขภาพแห่งเกาหลี หรือ Korea Health Industry Development Institute (KHIDI) เป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุด้วย


https://overseas.mofa.go.kr/us-boston-en/brd/m_4557/view.do?seq=760510

สังคมผู้สูงอายุในเกาหลีใต้ในปัจจุบัน

ถึงแม้ว่าประเทศญี่ปุ่นจะเป็นผู้นำด้านประชากรผู้สูงอายุโลก แต่ในปัจจุบันหลายพื้นที่ในแถบเอเชียตะวันออก เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน รวมถึงเกาหลีใต้ ก็เป็นไปตามแนวทางเดียวกัน ซึ่งโสมขาวถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่น่าจับตามองในการรับมือกับสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) เพราะว่า นอกจากจะมีจำนวนประชากร ผู้สูงอายุมากขึ้นเป็นจำนวนมากแล้ว อัตราการเกิดของประชากรยังต่ำที่สุดในประเทศ OECD หรือองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ซึ่งมีชาติสมาชิกทั้งสิ้น 30 ประเทศอีกด้วย

นอกจากนี้เกาหลีใต้ยังเป็นประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรอย่างรวดเร็วที่สุดในโลก โดยใช้เวลาเพียง 18 ปี ในการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ((Aged Society) และใช้เวลาเพียง 8 ปีในการกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-Aged Society) ในขณะที่ญี่ปุ่นใช้เวลาก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ 24 ปี และใช้เวลาในการกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ 12 ปี ส่วนสหรัฐอเมริกาใช้เวลาเข้าสู่ Aged Society 71 ปี และใช้เวลาเข้าสู่ Super-Aged Society 15 ปี 



ซึ่งสาเหตุหลักของการเกิดสังคมผู้สูงอายุในประเทศเกาหลีใต้ประกอบด้วย 2 สาเหตุหลักๆเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ คือ มีอัตราการมีลูก (Fertility Rate) ต่ำลง และคนมีอายุยืนมากขึ้น (Life Expectancy) ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีการแพร่หลายของวิวัฒนาการทางการแพทย์และการดูแลสุขภาพ ที่สามารถยืดอายุประชากรจากอายุ 52 ปี ในปี 2498 - 2503 เป็นอายุ 82 ปี ในปี 2558 

หลังจากที่มีจำนวนประชากรที่มีสุขภาพดีเพิ่มมากขึ้น ประชากรมีอายุยืนมากขึ้น ครอบครัวมีการ ขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่หลังจากสงครามเกาหลี ทรัพยากรในประเทศมีจำกัด ไม่สามารถรองรับความต้องการของประชากรได้ทั้งหมด รัฐบาลจึงได้รณรงค์ให้แต่ละครอบครัวมีลูกน้อยลงในปี 2505 จึงส่งผลให้อัตราการมีลูกลดลงตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา เกาหลีใต้จึงเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการมีลูกน้อยที่สุดในประเทศกลุ่ม OECD




มูลค่าตลาดอาหารที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ

ในปี 2562 สัดส่วนของประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป ในเกาหลีใต้อยู่ที่ 14.9% ซึ่งถือว่าเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 46.5% ในปี 2610 นอกจากนี้ขนาดตลาดของอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุคาดว่าจะเติบโต 13% ต่อปีจาก 27.38 ล้านล้านวอน ในปี 2555 และเพิ่มขึ้นเป็น 73 ล้านล้านวอน ในปี 2564
ในบรรดาอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุนั้น สัดส่วนของอุตสาหกรรมอาหารคิดเป็น 23.3% ถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มการเติบโตสูงเป็นอันดับสอง รองจากอุตสาหกรรมการพักผ่อนซึ่งคิดเป็น 34% 




แนวโน้มตลาดอาหารที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุในเกาหลีใต้ 

อาหารที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ (Aging-friendly Foods) หรือในบางกรณีอาจเรียกว่า Care Food, Silver Food หรือ Senior Food หมายถึง อาหารสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาในการกินและการย่อยอาหาร จากการศึกษาพบว่า บริษัทอาหารในเกาหลีใต้กำลังพัฒนาแบรนด์อาหารที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัยและขยายสายผลิตภัณฑ์มากขึ้น ตั้งแต่อาหารสำหรับผู้สูงอายุไปจนถึงของหวานและอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ เช่น ผลิตภัณฑ์ที่จำแนกตามความสามารถในการเคี้ยวของผู้สูงอายุ รวมถึงอาหารเพื่อสุขภาพเหมาะสมสำหรับการรักษาโรคเบาหวาน การควบคุมอาหาร และ ควบคุมความดันโลหิต เป็นต้น 

Health Functional Food (HFF) 

เป็นหนึ่งหมวดหมู่ในอาหารที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ โดย HFF เป็นอาหารเสริมที่เพิ่มเติมสารอาหารจากอาหารปกติที่รับประทาน เช่น เสริมโปรตีน เสริมโพรไบโอติกส์ เสริมสร้างระบบ ภูมิคุ้มกัน หรือเสริมสร้างการมองเห็น โดยมูลค่าตลาดอาหาร HFF ในประเทศเกาหลีใต้ในปี 2563 มีมูลค่าประมาณ 4.18 ล้านล้านวอน เติบโตขึ้นอย่างมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจาก 2.23 ล้านล้านวอน ในปี 2558

โอกาสธุรกิจที่ซ่อนในวิกฤต

ในปัจจุบันจำนวนประชากรผู้สูงอายุในประเทศเกาหลีใต้เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับอัตราการเกิดใหม่ต่ำมาก จึงคาดว่าในอนาคตอันใกล้  สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ในแดนกิมจิจะเจริญเติบโตและขยายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นับว่าเป็นอีกหนึ่งตลาดที่มีศักยภาพในการส่งออกสินค้าเพื่อผู้สูงอายุ



โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอาหารซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพของผู้รับประทานโดยตรง และมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบของอาหารเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถรับประทานได้ และเหมาะกับสภาพร่างกายของผู้สูงอายุอย่างแท้จริง จึงเป็นโอกาสสำหรับอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทย ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับผู้สูงวัย และบุกตลาดเกาหลีใต้เพื่อขยายการส่งออกอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากประเทศไทยมีเป้าหมายในการเป็นครัวของโลก มีศักยภาพในการพัฒนา R&D มีวัตถุดิบที่มีคุณภาพและมาตรฐานการผลิตอยู่แล้ว โดยอาจร่วมพัฒนาสินค้ากับผู้ผลิตเกาหลีใต้หรืออาจจะเข้าบุกตลาดแดนกิมจิในรูปแบบแบรนด์ของไทยเอง


แหล่งอ้างอิง : สำนักงานผู้แทนการค้า ณ เมืองปูซาน, สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโซล
http://koreabizwire.com/in-aging-s-korea-food-is-the-most-promising-silver-industry/150765 
https://www.statista.com/statistics/780696/south-korea-health-functional-food-market-size/ 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
7728 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2479 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5704 | 23/10/2022
พลิกวิกฤต Aged Society เกาหลีใต้ เป็นโอกาส SME ไทย รุกตลาดอาหารผู้สูงอายุแดนกิมจิโตแรง