ดันโครงการภาคเกษตร-ประมงใน EEC ด้วยเทคโนโลยี

SME Startup
02/07/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 4880 คน
ดันโครงการภาคเกษตร-ประมงใน EEC ด้วยเทคโนโลยี
banner

เกษตร EEC เป็นส่วนหนึ่งในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor (EEC) เพื่อให้เกิดการลงทุนขนาดใหญ่ ยกระดับการพัฒนาประเทศไปสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ในพื้นที่นำร่องเป้าหมาย 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ตามนโยบายการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งตะวันออกให้เป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียนและเป็นเมืองที่น่าอยู่

พร้อมทั้งลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ หรือ S-Curve ภายใต้แผนปฏิบัติการการเกษตร ชลประทาน และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่การเกษตรที่สำคัญ ในส่วนของภาคการเกษตรในพื้นที่ EEC มีการตั้งเป้าหมายในการพัฒนา 3 ด้าน คือ

1. การพัฒนาศักยภาพเกษตรกร

2. การจัดการด้านพื้นที่ทำกิน

3. การพัฒนาและแปรรูปสินค้า

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

โดยมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยขับเคลื่อนตั้งแต่ภาคการผลิต เช่น การนำ Sensors มาใช้วัดคุณภาพดิน วัดปริมาณน้ำ การใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลระดับสูงและระบบอัตโนมัติ การลงทุนและการวิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น การปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ อุตสาหกรรมการคัดคุณภาพ บรรจุ เก็บรักษาพืชผัก ผลไม้ หรือดอกไม้ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น การใช้ระบบเซ็นเซอร์ตรวจสอบเนื้อในผลไม้  

จากสถิติในปี พ.ศ.2559 พบว่า ในพื้นที่เกษตร EEC นั้นมีมูลค่าที่เกิดจากสินค้าเกษตรสำคัญทั้งด้านการเพาะปลูก การประมง ปศุสัตว์ และการแปรรูปสินค้าเกษตรเกิดขึ้นรวมกว่า 4.7 แสนล้านบาท โดยจังหวัดฉะเชิงเทรา มีมูลค่าสินค้าเกษตรที่สำคัญ 429,938.44 ล้านบาท จังหวัดชลบุรี มีมูลค่าสินค้าเกษตรที่สำคัญ 25,449.77 ล้านบาท และจังหวัดระยอง มีมูลค่าสินค้าเกษตรที่สำคัญ 19,483.84 ล้านบาท

ดังนั้นการที่ภาครัฐเข้ามาผลักแผนพัฒนาเกษตรใน EEC จึงเป็นการยกระดับรายได้เกษตรกรไปจนถึงกระตุ้นให้เกิดการลงทุนธุรกิจภาคการเกษตร เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มการประมงและคลัสเตอร์ผลไม้ ตามมาตรการหลัก ดังนี้

1. ใช้ความต้องการนำการผลิต : ประเมินความต้องการในประเทศเพื่อรองรับมหานครการบินภาคตะวันออก เมืองใหม่ และการท่องเที่ยว รวมทั้งประเมินความต้องการในต่างประเทศ ซึ่งจะสำรวจตลาดหาความต้องการเอเชีย CLMV และยุโรป ที่มีความต้องการสูง และสร้างความต้องการด้วยการพัฒนาสินค้าใหม่

2. ยกระดับการตลาด-การแปรรูป : ด้วยเทคโนโลยีในทุกขั้นตอน โดยสร้างตลาดด้วยกลไก E-Commerce E-Auction ขายไปทั่วโลก รวมทั้งเชื่อมระบบโลจิสติกส์ตั้งแต่ส่งออก-ขายในประเทศ-จนถึงการรวมสินค้าระดับฟาร์ม ให้สะดวกระดับสากล รวมทั้งแปรรูปด้วยเทคโนโลยีทันสมัย ได้สินค้าคุณภาพมาตรฐานระดับโลก โดยเก็บรักษาผลไม้ อาหารทะเล ด้วยระบบห้องเย็น พร้อมปรับกระบวนการในฟาร์มให้ผลิตสินค้าตรงกับตลาด และสร้างงานวิจัยเชิงด้านเทคโนยีที่ใช้งานได้จริงตรงกับความต้องการในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ หีบห่อ การแปรรูป การปลูก การควบคุมความเสี่ยงจากภูมิอากาศ และจัดกลุ่มเกษตรกรจัดทำโซนนิ่ง เพื่อสะดวกในการเสริมสร้างความรู้ใหม่ การตลาด-การผลิต-การเงิน

3. ให้ความสำคัญกับ 5 คลัสเตอร์ที่มีพื้นฐานทำได้ทันที : ใน 5 กลุ่มคลัสเตอร์ ได้แก่

- คลัสเตอร์ผลไม้ เน้นคุณภาพสินค้าสู่ตลาดโลก Premium

- คลัสเตอร์ประมง เพิ่มมูลค่า สร้างอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต

- คลัสเตอร์พืชสำหรับ Bio-based Product สร้างความเข้มแข็งให้อุตสาหกรรมชีวภาพ

- คลัสเตอร์พืชสมุนไพรต่อยอดอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงและสร้างเศรษฐกิจฐานชีวภาพ

- คลัสเตอร์ High Valued Crops จะปรับเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกสู่พืชมูลค่าสูง เช่น ไม้ประดับ ผักปลอดสารพิษ และการเลี้ยงโคขุน

ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าในช่วง 5 ปีต่อจากนี้ จะมีความต้องการด้านผลไม้เมืองร้อนและประมงในตลาดโลกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งที่ประเทศจีนและตลาดเกิดใหม่ เช่น ตะวันออกกลางที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในขณะที่การส่งออกผลไม้ของไทยในช่วงปี 2553-2559 ไทยส่งออกไปจีนมากที่สุด รองลงมาคือ เวียดนาม ซึ่งสินค้าสำคัญที่ส่งออก เช่น ทุเรียนสด ลำไยสด มะม่วงสด และการใช้ EEC มาเป็นต้นแบบจะทำให้เกิดการพลิกภาพลักษณ์ของภาคการเกษตรให้ดูทันสมัย จัดเป็นโอกาสอันที่ที่จะได้พัฒนาภาคการเกษตรให้มีมูลค่าเพิ่มแบบเขตเกษตรเศรษฐกิจ  เพื่อกำหนดพื้นที่ผลิตสินค้าเกษตรตามความเหมาะสม และสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และตามความต้องการวัตถุดิบของภาคอุตสาหกรรม.

 

แผนพัฒนาการเกษตร/ประมงในอีอีซี

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฯ จะตั้งคณะทำงานจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรในอีอีซี โดยมี นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน เลขาธิการ สศก.และผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เป็นคณะทำงานและเลขานุการร่วม

คณะทำงานชุดนี้จะจัดทำแผนงานโครงการด้านการเกษตรตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทางให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาอีอีซี และเป็นแผนงานที่สามารถรองรับต่อสถานการณ์หลังโควิดในรูปแบบนิวนอร์มอล รวมถึงจะมีการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลด้านการเกษตรแห่งชาติ (Big Data) ของศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ National Agricultural Big data Center (NABC) ด้วย

ทั้งนี้การใช้อีอีซีเป็นต้นแบบเพื่อปรับการทำเกษตรในรูปแบบทันสมัย จะเป็นโอกาสพัฒนาภาคการเกษตร โดยจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตรด้วยการจัดทำเขตเกษตรเศรษฐกิจ (โซนนิ่ง) เพื่อกำหนดพื้นที่ผลิตสินค้าเกษตรตามความเหมาะสม และสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และตามความต้องการวัตถุดิบของภาคอุตสาหกรรม

การดำเนินการต้องบริหารจัดการน้ำรองรับความต้องการอุปโภคบริโภค การเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการบริการและการท่องเที่ยวอย่างสมดุล ซึ่งจะเป็นแพลตฟอร์มตัวอย่างด้านการเกษตรของประเทศที่ยกระดับให้เกษตรกรมีรายได้มั่นคง พร้อมทั้งเกิดประโยชน์กับภาคประชาชนในอีอีซีและจังหวัดใกล้เคียง

ทั้งนี้การพัฒนาคลัสเตอร์ผลไม้และประมงควรเป็นกลุ่มแรกที่ควรขับเคลื่อนในช่วง 5 ปีนี้ เพราะความต้องการในตลาดโลกต้องการผลไม้เมืองร้อนเพิ่มต่อเนื่องทั้งจีนและตลาดเกิดใหม่ เช่น ตะวันออกกลางที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ คลัสเตอร์ผลไม้มีความเสี่ยงต่อทุเรียนล้นตลาด เพราะการขยายพื้นที่ปลูกทุเรียนใน 5 ปีที่ผ่านมา มีมากกว่า 2 แสนไร่ อาจทำให้ทุเรียนล้นตลาด 3-4 แสนตันต่อปีในอีก 5 ปีข้างหน้า

ดังนั้นการจัดการผลผลิตทุเรียนควรขยายทั้งตลาดแมสและตลาดนีชมาร์เก็ตในประเทศที่เคยบริโภค แล้วพัฒนาแพ็คเกจให้รักษาผลไม้ได้นาน และขยายการส่งออกไปประเทศที่ไม่เคยนำเข้าผลสด เช่น ตะวันออกกลาง ยุโรป และพัฒนาให้เป็น Bio-Components และ Bio-based Products โดยใช้เทคโนโลยีอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ

สำหรับคลัสเตอร์ประมง พบว่าการบริโภคและการค้าในสินค้าอาหารทะเลมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยการจับสัตว์ทะเลในทะเลน้าลึกมีข้อจำกัดมากขึ้น ขณะที่การเพาะเลี้ยงชายฝั่งมีแนวโน้มขยายตัว เพื่อเติมเต็มความต้องการในอาหารทะเลของโลก และไทยส่งออกอาหารทะเลเป็นหลัก โดยมีมูลค่าส่งออกกุ้งเพาะเลี้ยงมากกว่า 6 หมื่นล้านบาทต่อปี และมีตลาดหลักคือ สหรัฐ ญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังเป็นผู้ส่งออกทูน่าอันดับ1 ของโลกด้วย

ดังนั้นการพัฒนาคลัสเตอร์ประมงควรเน้นเพิ่มผลผลิตเพื่อรองรับความต้องการบริโภคในอีอีซีที่เพิ่มขึ้น คาดว่าเพิ่มขึ้น 49.6% หรือความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น 67,163 ตันต่อปี พัฒนาผลผลิตการประมงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ เพื่อมุ่งสร้างและเจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตผลผลิตประมงอัจฉริยะ สร้างศักยภาพการผลิตที่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม

 

แหล่งอ้างอิง

http://www.onep.go.th/eurban/images/PDF/7-2.pdf 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<

EEC ดัน SMEs 4.0 ด้วยอุตสาหกรรมหุ่นยนต์

EECd แลนด์มาร์คเมืองดิจิทัล


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

4 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ Model Innovation เปลี่ยนโลกใบนี้เป็นสีเขียว

4 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ Model Innovation เปลี่ยนโลกใบนี้เป็นสีเขียว

อย่างที่ทราบดีว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมถือเป็นเรื่องใหญ่ระดับโลก ที่ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่ และกลายมาเป็นโจทย์สำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ…
pin
2268 | 14/02/2023
ไม่ดูตอนนี้ รู้อีกทีปีหน้า! ส่องเทรนด์ธุรกิจมาแรง ที่ SME ห้ามพลาดใน ปี 66

ไม่ดูตอนนี้ รู้อีกทีปีหน้า! ส่องเทรนด์ธุรกิจมาแรง ที่ SME ห้ามพลาดใน ปี 66

หลังจากไทยเผชิญการระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ผู้คนปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต หลายหน่วยงานที่เกี่ยวกับธุรกิจการค้าต่างออกมาวิเคราะห์เทรนด์ธุรกิจที่มาแรงในปี…
pin
4443 | 19/01/2023
ตอบโจทย์ Aging Society! นักวิจัยไทยคิดค้น ‘MONICA’ เกมกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผู้ประกอบการต่อยอดไอเดียได้

ตอบโจทย์ Aging Society! นักวิจัยไทยคิดค้น ‘MONICA’ เกมกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผู้ประกอบการต่อยอดไอเดียได้

‘ไทย’ ได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์แล้ว คิดเป็นประมาณ 18.3% ของประชากรทั้งหมด และไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอดเช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่มีประชากรอายุ…
pin
2240 | 22/12/2022
ดันโครงการภาคเกษตร-ประมงใน EEC ด้วยเทคโนโลยี