อาหารและเครื่องดื่มตลาดอาเซียนโตแรง

SME Go Inter
11/02/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 13865 คน
อาหารและเครื่องดื่มตลาดอาเซียนโตแรง
banner

กระแสรักสุขภาพเข้ามามีอิทธิพลอย่างมากในกลุ่มผู้บริโภคสังคมเมืองทั่วโลก เช่นเดียวกับกลุ่มผู้บริโภคชาติอาเซียน ซึ่งผู้คนเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพ เข้าฟิตเนส ควบคุมน้ำหนัก และคำนึงถึงปริมาณอาหารการกินมากขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้เทรนด์อาหารของกลุ่มผู้บริโภคในปี 2020 ยังคงมีแนวโน้มเติบโตไม่หยุด ซึ่งผู้ประกอบการในธุรกิจอาหารควรเลือกแนวทางแบบไหนในการรับมือความต้องการใหม่ๆ ของกลุ่มผู้รักสุขภาพกลุ่มประเทศอาเซียน

หลังจากกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(อาเซียน) ได้ผนวกเป็นสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(อาเซียน) 10 ประเทศ เมื่อปี 2559 ส่งผลทำให้มีจำนวนประชากรทั้งหมดมากกว่า 622 ล้านคน และมี GDP รวมสูงถึง 87 ล้านล้านบาท ซึ่งทำให้อาเซียนกลายเป็นเขตเศรษฐกิจที่ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก จากขนาดเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ และจำนวนประชากรที่หลากหลายจำนวนมาก ซึ่งทำให้อาเซียนกลายเป็นหนึ่งในศูนย์รวมของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดของโลกด้วยเช่นกัน

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


โดยในปัจจุบันอาหารและเครื่องดื่มไม่ได้เป็นเพียงสิ่งของเพื่อประทังชีวิตอีกต่อไป แต่กลับมีความหมายที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคในปัจจุบันต้องการมากกว่านั้น เช่น มีประโยชน์ต่อสุขภาพ สะดวก รวดเร็ว ซึ่งผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของอาเซียน มีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามกระแสกลุ่มรักษ์สุขภาพ

ทั้งนี้จากการประมาณการของบริษัทยูบีเอ็ม เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า มูลค่าการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพในปี 2563 ขยายตัวเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท จากปี 2562 ที่มูลค่าประมาณ 88,731 ล้านบาท หรือมีอัตราการขยายตัว 2.4% เมื่อเทียบจากปี 2561ที่มีมูลค่าประมาณ 86,648 ล้านบาท โดยปี 2563 กลุ่มชาติอาเซียนจะเน้นไปในเรื่องสุขภาพและโปรตีนทดแทนเป็นหลัก

 

5 เทรนด์อาหารแนวโน้มได้รับความนิยมปี 2020

1. สินค้าอาหารกลุ่มปราศจากสารปรุงแต่ง (Free Form)  สินค้าที่ปราศจากสารปรุงแต่ง สารกันบูด น้ำตาล น้ำมันปาล์ม ไม่แต่งสี และมีไขมันต่ำ โดยปัจจุบันพบว่าสินค้ากลุ่ม free form ได้รับความนิยมในวงกว้างมากขึ้น และไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ในตลาดสินค้าเฉพาะกลุ่มอีกต่อไป จะเห็นได้จากในปีที่ผ่านมา 23% ของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มนั้นเป็นสินค้าในกลุ่ม free form และคาดว่าภายในปี 2020 มูลค่าการตลาดของสินค้ากลุ่ม free form ทั่วโลกสูงถึง 1.46 แสนล้านบาท

2. ผลิตภัณฑ์ซูเปอร์ฟู้ด (Superfood)  เป็นคำศัพท์ที่คนนำมาใช้พูดถึงอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เหมาะสำหรับกลุ่มคนผู้รักสุขภาพหรือผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการมากมาย และบางชนิดยังช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคร้ายอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น แซลมอน, โยเกิร์ต, พืชตระกูลถั่วและเมล็ดพืช, ธัญพืช, ผักใบเขียว, ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่, ชาเขียว, อะโวคาโด และน้ำมันมะกอก ซึ่งคาดการณ์ไว้ว่าภายในปี 2022 สินค้ากลุ่มนี้จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากถึง 6.53 หมื่นล้านบาท

3. อาหารโปรตีนทางเลือก  อาหารโปรตีนทางเลือกอาจเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่ได้รับความนิยมในอนาคต เนื่องจากปัญหาสภาวะโลกร้อนและภูมิอาการทั่วโลกที่เปลี่ยนแปลงไป การผลิตอาหารต่างๆ จากแหล่งอาหารเดิมอาจไม่เพียงพอในอนาคต นักวิทยาศาสตร์จึงคิดค้นผลิตภัณฑ์ทางเลือกประเภทใหม่ขึ้นมาเพื่อเป็นสารอาหารทดแทน ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์โปรตีนที่ทำจากพืชที่เกิดจากการปรุงแต่งและตัดต่อพันธุกรรมจนทำให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีรสชาติเหมือนเนื้อจริงๆ

4. กระแสฟาสต์ฟู้ด (Fast food) ระลอกใหม่  ทุกวันนี้สังคมเมืองที่มีการขยายตัวผู้คนในยุคนี้เน้นอาหารที่ต้องการความเร่งด่วน แต่ในทางกลับกันคุณภาพและสารอาหารก็ถือเป็นประเด็นสำคัญที่ผู้บริโภคคำนึงถึง เพราะฉะนั้นกระแสอาหารจานด่วน (ที่ไม่ได้หมายถึงอาหารขยะเหมือนสมัยก่อน) จึงถูกจับตามองเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น อาหารชุดญี่ปุ่น อาหารกล่องเพื่อสุขภาพ ฯลฯ ซึ่งเทรนด์ฟาสฟู้ดในลักษณะนี้ยังสามารถส่งผลดีต่อธุรกิจอื่นๆ ในห่วงโซ่อุตสาหกรรมอาหารได้อีกด้วย เช่น ธุรกิจส่งอาหาร เป็นต้น

5. เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ  ผู้บริโภคเริ่มมองหาเครื่องดื่มที่มีรสชาติอร่อยควบคู่ทางเลือกเพื่อสุขภาพ (Healthier choice)  มากขึ้น โดยเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมจะเป็นประเภทเครื่องดื่มที่น้ำตาลน้อยไปจนถึงไม่มีน้ำตาล ในปี 2019 ตลาดเครื่องดื่มโดยรวมมูลค่ากว่า 2.3 แสนล้านบาท และปี 2020 คาดว่าจะมีอัตราการเติบโต 2-3% ซึ่งการเติบโตนี้ส่วนหนึ่งมาจากเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ


อย่างไรก็ตามในส่วนตลาดเครื่องดื่มอย่างน้ำอัดลม เครื่องดื่มบำรุงกำลัง เบียร์และสุรา ซึ่งเป็นตลาดใหญ่เริ่มเข้าสู่ภาวะอิ่มตัว เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคและมาตรการขึ้นภาษีของภาครัฐ จะเห็นได้ว่ากระแสของอาหารและเครื่องดื่มในปี 2020 นั้นได้เปลี่ยนไป ผู้บริโภคฉลาดเลือกมากขึ้น และคำนึงถึงสุขภาพเป็นหลัก ผู้ประกอบการในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มควรปรับตัวให้ทันต่อความต้องการของตลาดผู้บริโภค และควรมีความสามารถในการคิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ๆอยู่เสมอ




สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


เทรนด์อาหารแห่งปี 2020 ที่ธุรกิจอาหารต้องรู้ !

FOOD INNOPOLIS จิ๊กซอว์สู่มหาอำนาจด้านอาหารของโลก



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6266 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2026 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5038 | 23/10/2022
อาหารและเครื่องดื่มตลาดอาเซียนโตแรง