บทสรุปรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน

SME Update
24/09/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 2378 คน
บทสรุปรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน
banner

ภูมิภาคอาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจาการขยายการลงทุนในภูมิภาค และการลงทุนโดยตรง (FDI) ที่หลั่งไหลเข้ามา ส่งผลให้ความต้องการใช้พลังงานในภูมิภาคอาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ในเวทีการประชุมระดับรัฐมนตรี​อาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 37 หรือ (The 37th ASEAN Minister on Energy Meeting and Associated Meeting) ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา รัฐมนตรีอาเซียน ทั้ง 10 ประเทศ ได้หยิบยกประเด็นอนาคตพลังงานของภูมิภาค​ต่อสถานการณ์​และสภาวะปัญหาทางด้านพลังงานขึ้นมาหารืออย่างเข้มข้น

โดยมีการคาดการณ์​ว่าการลงทุนด้านพลังงานในอาเซียนจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันอาเซียนจำเป็นต้องเตรียมพร้อมสู่เทรนด์การเปลี่ยนผ่านของพลังงานยุคใหม่ ซึ่งเน้นพลังงานสะอาดมากขึ้น จากการที่หลายฝ่ายตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม ประกอบกับการก้าวสู่ยุคเทคโนโลยีดิสรัปชั่น ส่งผลให้เทคโนโลยีด้านพลังงานมีความก้าวล้ำและมีต้นทุนที่ต่ำลง

ทั้งนี้ รัฐมนตรีพลังงานอาเซียน มีมติตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนจาก 13% ในปัจจุบันให้กลายเป็น 23%ในปี 2568 หรือในอีก 6 ปีข้างหน้า พร้อมปรับลดความเข้มข้นการใช้พลังงานให้ได้ 24.4% หลังจากประเทศสมาชิกสามารถบรรลุเป้าหมายเดิมที่วางไว้ว่าจะลดการใช้พลังงาน 20% ไปตั้งแต่ปี 2560 ที่ผ่านมา

ไฮไลต์สำคัญของการประชุมครั้งนี้ไม่เพียงกำหนดเป้าหมายด้านพลังงานในอนาคต แต่สมาชิกยังมุ่งพัฒนา "โครงสร้างพื้นฐาน" เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานอนาคตด้วย 


นอกจากเวทีระดับรัฐมนตรีพลังงานแล้ว ในฟากฝั่งเวทีการหารือระดับทวิภาคีก็นับว่ามีความเข้มข้นเช่นเดียวกัน โดยไทยในฐานะเจ้าภาพได้หยิบยกแนวทางทางการขยายกรอบความร่วมมือ 3 ประเทศ ทั้ง สปป. ลาว ไทย มาเลเซีย โครงการความร่วมมือด้านไฟฟ้า ระยะที่ 2 (Lao PDR, Thailand, Malaysia – Power Integration Project : LTM – PIP) เพิ่มอีก 2 ปี ปริมาณการซื้อขายสูงสุด จาก 100 เมกะวัตต์ เป็น 300 เมกะวัตต์

คาดว่าจะเริ่มในเดือน ม.ค.2563 รวมถึงร่วมจัดทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าฉบับเพิ่มเติมของสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (energy Purchase and Wheeling Agreement ) ซึ่งอนาคตประเทศสิงคโปร์แสดงความสนใจในการเข้าร่วมด้วย ภายใต้ความร่วมมือไปสู่ "LTMS" ซึ่งถือเป็นรากฐานโอกาสการซื้อขายไฟฟ้าระดับพหุพาคีระดับภูมิภาค

รวมทั้งเวทีการหารือระดับทวิภาคีไทย-เมียนมา เน้นการตอบสนองนโยบายระบบเชื่อมโยงไฟฟ้าอาเซียน ซึ่งได้เห็นพ้องการตั้งคณะทำงานร่วมกัน 2 ประเทศเพื่อศึกษาด้านเทคนิคและความเป็นไปได้ในปริมาณและราคาการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างไทยกับเมียนมา โดยผ่านระบบส่ง 250 KV เส้นทาง อ.แม่สอด จังหวัดตาก-เมียวดี เนื่องจากความต้องการใช้ไฟฟ้าของเมียนมา มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากจากการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ทำให้ต้องการขยายไฟฟ้าไปสู่พื้นที่ประเทศให้มากขึ้นเช่นกัน จากปัจจุบันมีเพียง 50%

ความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นก้าวสำคัญต่อการเชื่อมโยง ไม่เพียงเท่านั้น ไทยยังหารือถึงธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ซึ่งไทยสนใจจะร่วมพัฒนาในเมียนมาโดยเฉพาะการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเมียนมา ซึ่งบมจ.ปตท.ก็มีแผนที่จะพัฒนาร่วมกันอยู่แล้ว เช่นเดียวกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่มีแผนพัฒนาโรงไฟฟ้าต่อเนื่อง

ขณะเดียวกัน การพัฒนาก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ซึ่งเป็นประเด็นที่พูดคุยกันมากพอสมควรในการประชุมครั้งนี้ที่จะนำไปสู่การพัฒนาแอลเอ็นจีขนาดเล็ก (Small Scale LNG) ซึ่งเป็นทิศทางของเทคโนโลยีพลังงานรูปแบบใหม่ในอนาคตที่จะมีความสำคัญมากขึ้น และไทยก็มีความพร้อมรองรับได้ถึง 30 ล้านตันต่อปี จากที่ปัจจุบันมีระบบโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่รองรับอยู่แล้วเพื่อให้สามารถกระจายการใช้ LNG ให้ครอบคลุมมากขึ้น

นอกจากนี้ การประชุมรัฐมนตรีพลังงานร่วมกับจีน-ญี่ปุ่น-เกาหลี ( AMEM+3 ) ครั้งที่ 16 ไทยได้ยืนยันว่าอาเซียนกำลังเดินหน้าสู่การบรรลุเป้าหมายความมั่นคงด้านพลังงานที่ดียิ่งขึ้น และได้เตรียมพร้อมสำหรับการต่อยอดแผน ASEAN Plan of Action for Energy Cooperation (APAEC) ระยะที่ 2 สำหรับปี 2021-2025 ซึ่งจะเริ่มใช้ในปี 2020 ซึ่งแผนนนี้จะมุ่งเน้นการสร้างความมั่นคงและการบรูณาการด้านพลังงาน ผ่านการซื้อขายไฟฟ้าพหุภาคี และการเชื่อมโยงก๊าซธรรมชาติในภูมิภาค


 มาเลเซียผ่าน EIA โครงการถมทะเลในรัฐปีนัง 

เมียนมาแก้ปัญหาไฟฟ้าไม่เพียงพอ

 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
892 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1223 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1520 | 25/01/2024
บทสรุปรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน