ใครเป็นใคร ใครแข็งแกร่งในอาเซียน

SME Update
06/11/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 4026 คน
ใครเป็นใคร ใครแข็งแกร่งในอาเซียน
banner

ไม่นานมานี้  World Economic Forum (WEF) ออกรายงานดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก (Global Competitiveness Index : GCI) ประจำปี 2562 พบว่า ประเทศไทยมีดัชนีความสามารถทางการแข่งขันอยู่ในอันดับที่ 40 ลดลงจากปี 2561 ที่อยู่ในอันดับที่ 38 จากทั้งหมด 141 ประเทศที่ได้รับการจัดอันดับ จากตัวชี้วัดหลัก 103 ตัวชี้วัด ซึ่งจัดอยู่ใน 12 เสาหลัก อาทิ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน การปรับใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาค ตลาดแรงงาน ระบบการเงินและขนาดตลาด  เป็นต้น

ในปีนี้ประเทศสมาชิกอาเซียนอย่าง ’สิงคโปร์’ สามารถก้าวขึ้นเป็นอันดับ 1 โค่น “สหรัฐ” แชมป์เก่าตกลงไปเป็นอันดับ 2 ตามมาด้วย ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น เยอรมนี สวีเดน สหราชอาณาจักร และเดนมาร์ก ตามลำดับ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


หากพิจารณาเฉพาะในส่วนของไทยซึ่ง “อันดับลดลง” แต่ได้รับคะแนนเพิ่มขึ้นจาก 67.5 คะแนนในปีที่ผ่านมาเป็น 68.1 คะแนนในปีนี้ สะท้อนให้เห็นว่าไทยมีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น โดยใน 12 เสาหลักนั้นไทยมีจุดแข็งในด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคอยู่ที่ 90 คะแนนจากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ขณะที่ด้านสาธารณสุขอยู่ที่ 88.9 คะแนน และด้านระบบการเงินที่ดีขึ้นอยู่ที่ 85.1 คะแนน

ไทยยังคงมีจุดอ่อนในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านสภาพแวดล้อมของหน่วยงานที่มีการคอร์รัปชันเพิ่มสูงขึ้นทำให้คะแนนลดลงมาที่ 54.8 คะแนน ด้านการแข่งขันภายในประเทศมีคะแนนอยู่ที่ 53.5 คะแนน เนื่องจากตลาดภายในประเทศถูกผูกขาดโดยทุนขนาดใหญ่ไม่กี่ราย ทำให้ภาคธุรกิจขนาดเล็กไม่สามารถเติบโตและขยายธุรกิจได้ได้ยาก

ขณะที่ด้านทักษะแรงงานยังขาดทักษะรอบด้าน โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งจบการศึกษา การขาดการฝึกทักษะในการคิดวิเคราะห์ (critical thinking) ซึ่งมีคะแนนอยู่ที่ 62.3 คะแนน และสุดท้ายคือด้านความสามารถทางนวัตกรรมที่ได้เพียง 43.9 คะแนน ทำให้คนไทยจึงเป็นเพียงผู้ใช้เทคโนโลยี แต่ไม่ใช่ผู้สร้างเทคโนโลยี 

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตุว่าในปีนี้ เวียดนาม กลายเป็นดาวจรัสแสงขึ้นมา จากค่าดัชนีเพิ่มขึ้นถึง 3.5 คะแนน ทำให้อันดับขยับเพิ่มขึ้นได้ถึง 10 อันดับ จากอันดับที่ 77 เมื่อปีที่ผ่านมาขึ้นเป็นอันดับที่ 67 ของโลก


จับตา เวียดนาม ทะยาน

สำหรับการที่เวียดนามขยับขึ้นมา 10 อันดับ เป็นอันดับที่ 67 จากคะแนนอยู่ที่ 61.5 คะแนน สูงกว่าคะแนนโดยเฉลี่ยทั่วโลกที่ 61 ซึ่งคะแนนที่สูงที่สุดของเวียดนาม คือ ปัจจัยด้านสุขภาพ (81 คะแนน อันดับที่ 71) เสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาค (75 คะแนน อันดับที่ 64) และขนาดตลาด (72 คะแนน อันดับที่ 26) ขณะที่ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของประเทศมีคะแนนน้อยที่สุดใน 12 ปัจจัย เพียง 37 คะแนน อันดับที่ 76

ไม่แปลกใจที่เวียดนามจะเติบโตและแข็งแกร่งขึ้น โดยตามรายงานของสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงฮานอย ระบุว่า การเติบโตของ GDP เวียดนามปี 2562 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.05 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่รัฐสภาเวียดนามกําหนดไว้ ที่ร้อยละ 6.6-6.8 ตามรายงานเศรษฐกิจมหภาคที่ออกโดยสถาบันวิจัยเศรษฐกิจและนโยบายของเวียดนาม (VEPR) ซึ่งเป็นผลจากการเติบโตของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 7.31 และการคาดการณ์ร้อยละ 7.26 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2562

ปัจจัยขับเคลื่อนหลักของการเติบโตในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มาจากภาคการผลิตและการแปรรูปเพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.37 ภาคการก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.56 และภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.68


นาย Pham The Anh หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ VEPR กล่าวว่า ตัวเลขการเติบโตที่สูงของเวียดนามในปีนี้เป็นผลมาจาก การเติบโตที่แข็งแกร่งในภาคอุตสาหกรรมซึ่งชดเชยการลดลงของภาคเกษตร โดยการเติบโตนั้นแข็งแกร่งอย่างมากในอุตสาหกรรมเหมืองแร่โดยเฉพาะถ่านหิน

แต่ทว่าผลพวงจากการเติบโตทางเศรษฐกิจเชื่อมโยงกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ทําให้คุณภาพการเติบโตลดลง เวียดนามกําลังเผชิญกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งจากจากการเพิ่มขึ้นของมลพิษทางอากาศ จนทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเวียดนามออกมายอมรับว่าระดับมลพิษทางอากาศในฮานอยสูงที่สุดในรอบ 5 ปี และมีจำนวนผู้ป่วยจากปัญหาระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นจํานวนมาก ประเด็นนี้นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่งของเวียดนาม

จริงหรือไม่? เวียดนามผู้นำเศรษฐกิจดิจิทัลในอาเซียน 

เช็คอุณหภูมิการค้าชายแดน-ผ่านแดนไทย



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
892 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1223 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1520 | 25/01/2024
ใครเป็นใคร ใครแข็งแกร่งในอาเซียน