4 แนวทางพัฒนากรุงเทพฯ รับมือ Climate Change

SME Update
10/11/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 1869 คน
4 แนวทางพัฒนากรุงเทพฯ รับมือ Climate Change
banner

อย่างที่ทราบกันดีว่าทุกครั้งที่เข้าสู่ฤดูฝน กรุงเทพฯ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ราบลุ่ม และมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ มักเกิดสภาวะน้ำท่วมขัง หรือน้ำรอการระบาย ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของคนมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการตั้งคำถามว่า ในอนาคตกรุงเทพฯ จะเป็นอย่างไร จะเกิดน้ำท่วมกลายไปเป็นเมืองลอยน้ำหรือไม่ รวมถึงจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดในอนาคต  

ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา “ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ” (FutureTales Lab by MQDC) ได้ทำการศึกษาและวิจัยในเรื่องแนวโน้มของการดำรงชีวิตของคนเมือง และรูปแบบการพัฒนากรุงเทพฯ ในอนาคตว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และการใช้ชีวิตของผู้คนจะเป็นเช่นไร ร่วมกับนักวางแผนด้านการพัฒนาเมืองระดับโลกและทีมนักพัฒนาเมือง ภายใต้บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

โดยเฉพาะในประเด็นที่คนกรุงตั้งคำถามถึงความเปราะบางของเมืองต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงขึ้น หรือ Climate Change จึงได้ทำการศึกษาเพื่อให้เห็นถึงผลกระทบของเมืองในอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้น และเพื่อที่จะมองว่าเมืองอย่างกรุงเทพฯ ในอนาคตนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร โดยผลการศึกษาได้คาดการณ์รูปแบบเมืองได้เป็น สถานการณ์ ได้แก่

1. กรุงเทพฯ เมืองสีเขียว (Green Metropolis) กรุงเทพฯ สามารถพัฒนาเป็นเมืองสีเขียวได้ หากมีการจริงจังด้านกฎหมายและการเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนเมือง ด้วยการปรับตึกสูงให้กลายเป็นอาคารสีเขียวที่ได้รับการออกแบบอย่างดี โดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากร พลังงาน และสภาพแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น เราจะสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพกายที่ดี รวมไปถึงสุขภาพใจที่พร้อมต่อการใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ จากพื้นที่สีเขียวที่มากขึ้น จะช่วยส่งผลถึงคุณภาพอากาศที่ดีและช่วยปรับคุณภาพอากาศได้อย่างยั่งยืน

2. กรุงเทพฯ เมืองแห่งแม่น้ำ (River City) เมื่อระดับน้ำในเมืองมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น และพื้นดินที่อาศัยทรุดตัวลงอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ ส่งผลให้คนต้องปรับตัวเพื่อดำรงชีวิตในภาวะน้ำที่เพิ่มขึ้น โดยจำเป็นต้องมีนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยให้เราสามารถตั้งถิ่นฐานบนผิวน้ำได้ และก่อให้เกิดการเติบโตจนเป็นเมืองที่สามารถอยู่รอดได้แม้จะมีผืนแผ่นดินที่น้อยลง มีการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้อยู่ร่วมกับน้ำได้อย่างยั่งยืน เช่น ชุมชนการค้าลอยน้ำ ที่ทำให้เกิดจุดเชื่อมต่อการเดินทาง เป็นต้น ซึ่งถือเป็นการตอบสนองความต้องการของผู้คนที่ใช้ชีวิตร่วมกับแม่น้ำ หรือการทำฟาร์มแสงอาทิตย์บนผิวน้ำ โดยการแปลงความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ ผ่านแผงโซลาร์เซลล์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า

3. กรุงเทพฯ เมืองป้องกันมลพิษ (Indoor City) เป็นสถานการณ์ที่ไม่อยากให้เกิด เมื่อสภาพเมืองในอนาคตพังทลาย อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น มลพิษทางอากาศที่ย่ำแย่ ยากต่อการใช้ชีวิตภายนอกอาคาร สาเหตุอาจเกิดจากวิถีการดำเนินชีวิตที่ไม่มีการเปลี่ยนพฤติกรรม และนโยบายเมืองที่ไม่สนับสนุนต่อการเปลี่ยนแปลง ยกตัวอย่างเช่น เมื่อสภาพเมืองมีฝุ่นเยอะและอากาศร้อน คนก็จะเปิดแอร์และเก็บตัวใช้ชีวิตอยู่ในอาคารแบบปิด และเมื่อหนาวจากการเปิดแอร์ ก็จะหลบอยู่ในผ้าห่ม แทนที่จะปรับอุณภูมิแอร์ในห้องให้เหมาะสม เป็นต้น

ซึ่งการปรับตัวของเมืองภายใต้สภาวะอากาศภายนอกที่เป็นพิษ อาจจะมีการสร้างทางเดินเชื่อมระหว่างอาคาร เพื่อไปยังสถานที่ต่างๆ ในเมือง จะถูกปกคลุมด้วยโครงสร้างที่สามารถปกป้องมลภาวะทางอากาศนอกอาคาร จากสถานการณ์นี้คาดการณ์ได้ว่า จะเกิดความเหลื่อมล้ำแบบสุดขั้ว ทั้งในรูปแบบการเข้าถึงสิทธิ์อากาศหายใจที่สะอาด ซึ่งควรเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทุกประเภทที่ไม่ใช่เพียงแค่มนุษย์เท่านั้น

4. กรุงเทพฯ เมืองรับมือกับภัยพิบัติ (Disaster – Resilient City) สถานการณ์ที่ไม่อยากให้เกิดมากที่สุดในรูปแบบเมืองที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น เป็นมุมมองการพัฒนาเมืองไปพร้อมกับการรับมือภัยพิบัติ ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยเผชิญปัญหาอุทกภัยกว่า 213 ครั้ง ในช่วง 20 ปี ระหว่างปี 2532 – 2552 และในปี 2554 มีพื้นที่ประสบอุทกภัยกว่า 69.02 ล้านไร่  จากหลากหลายภัยพิบัติ ทำให้เมืองต้องเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ที่สามารถช่วยรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด เช่น การปรับพื้นที่สีเขียวในหน้าแล้งเป็นพื้นที่รับน้ำในฤดูฝน รวมถึงปรับได้ทุกรูปแบบของการดำเนินชีวิต เป็นต้น

นอกจากนี้ กรณีน้ำท่วมหรือแม้แต่ปัญหาภัยแล้ง ควรมีพื้นที่รองรับน้ำเพื่อกักเก็บน้ำไว้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ภายในเมืองหรือพื้นที่ชุมชนใกล้เคียง อีกทั้งเตรียมพื้นที่สาธารณะที่สามารถรองรับกิจกรรมต่างๆ ของผู้คน รวมไปถึงสร้างเป็นพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ของเมือง ซึ่งหากเกิดภัยพิบัติขึ้น ยังสามารถเปลี่ยนเป็นพื้นที่รองรับคนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ และตั้งเป็นจุดช่วยเหลือได้ในเวลาจำเป็น

ทั้งนี้ วิถีการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมต่างๆ ของพวกเราทุกคนในปัจจุบัน ล้วนจะส่งผลให้อนาคตมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งในแง่มุมการใช้ชีวิต การอยู่อาศัย การใช้เทคโนโลยี การเดินทาง และการดูแลสุขภาพ ตลอดจนแนวโน้มของนโยบายภาพใหญ่ของภาครัฐบาล ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่พวกเราต้องเตรียมตัวในหลากหลายมิติ ดังนั้นจึงต้องเตรียมความพร้อมรับมืออย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคตข้างหน้าได้อย่างยั่งยืน


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


แนวโน้มอสังหาริมทรัพย์ ช่วงโควิด 19 

ที่อยู่อาศัย ซื้อ” หรือ “เช่า” แบบไหนโดนใจ ตอบโจทย์ชีวิตยุคใหม่


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

กระแสการเติบโตของอินฟลูเอนเซอร์และสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้แนวคิดเรื่อง Personal Branding ถูกนำมาพูดถึงอย่างกว้างขวางอีกครั้ง เพราะในวันนี้ที่โลกมีคนเก่งเกิดขึ้นมากมาย…
pin
7 | 17/04/2025
สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

แนวโน้มการใช้ AI และประโยชน์ต่อการเติบโตของ SMEในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เข้ามาสร้างผลกระทบอย่างมหาศาลต่อธุรกิจ…
pin
7 | 16/04/2025
ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

Topic Summary: นโยบายขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ สร้างแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ต่อการค้าโลก มาดูกันว่าเหตุการณ์นี้กระทบ…
pin
9 | 11/04/2025
4 แนวทางพัฒนากรุงเทพฯ รับมือ Climate Change