ถ่านชีวภาพ ‘ไบโอชาร์’ ตอบโจทย์เกษตรอินทรีย์-พืชสมุนไพร

SME Update
05/10/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 4226 คน
ถ่านชีวภาพ ‘ไบโอชาร์’ ตอบโจทย์เกษตรอินทรีย์-พืชสมุนไพร
banner

ไบโอชาร์ (Biochar-Biological Charcoal) หรือถ่านชีวภาพ ซึ่งได้จากกระบวนการแยกสลายมวลชีวภาพด้วยความร้อน หรือการเผาไหม้ เช่น การเผาวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร กำลังได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐให้นำมาใช้สำหรับปรับปรุงดินเพื่อใช้ในการปลูกพืช  เนื่องจากเป็นถ่านชีวภาพที่มีรูพรุนสูงเป็นแหล่งสะสมของจุลินทรีย์ซึ่งมีประโยชน์ต่อพืช

นอกจากนี้ยังอุ้มน้ำ ระบายอากาศได้ดี ช่วยลดความเป็นกรดเป็นด่างในดิน ทั้งยังช่วยดูดซับธาตุอาหารและปลดปล่อยธาตุอาหารให้พืชอย่างช้าๆ จึงมีคุณสมบัติเหมาะสมในการทำการเกษตร ขณะเดียวกันก็ช่วยรักษาความสมดุลของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้ถ่านชีวภาพไบโอชาร์ได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมนำมาใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการปรับปรุงสภาพดินโดยถ่านไบโอชาร์ ในการปลูกพืชอินทรีย์กับพืชสมุนไพรที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษเกี่ยวกับสารพิษ หรือสารตกค้าง มุ่งเน้นการทำการเกษตรโดยอาศัยหลักธรรมชาติ ไม่ให้ผลผลิตปนเปื้อนสารเคมี สารพิษ ปุ๋ยเคมี หรือสิ่งที่ได้จากการตัดต่อพันธุกรรม ให้ได้มาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์

หนึ่งในกรณีตัวอย่างการส่งเสริมการใช้ถ่านชีวภาพไบโอชาร์ คือ โครงการระบบผลิตพืชผักอินทรีย์ในเขตปฏิรูปที่ดิน ภายใต้ความร่วมมือแบบทวิภาคีระหว่างประเทศไทยกับออสเตรเลีย ในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน ในตำบลปางสวรรค์ อำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์

ทั้งนี้ นอกเหนือจากความร่วมมือในระดับประเทศระหว่างไทยกับออสเตรเลียแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงานในพื้นที่ได้ผนึกกำลังร่วมจัดทำโครงการดังกล่าว อาทิ สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดนครสวรรค์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ฯลฯ โดยเริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ต้นปี 2563 ที่ผ่านมา

แนวทางการดำเนินการมีการจัดทำหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพระบบผลิตพืชสมุนไพรและพืชอินทรีย์ โดยใช้เทคโนโลยีไบโอชาร์กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกร โครงการปลูกข้าวและพืชผักปลอดภัยและพลังงานทดแทนฯ ซึ่งมีสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนรวม 126 ราย ที่ผลิตพืชผักอินทรีย์และได้รับการรับรองมาตรฐาน มาตรฐาน Organic Thailand และ Participatory Guarantee Systems (PGS)

สำหรับพืชผักที่ทำการผลิต อาทิ ต้นหอม ผักชี กวางตุ้ง กระเจี๊ยบเขียว กล้วย มะขามป้อม และอื่นๆ ขณะเดียวกันก็แปรูปผลผลิตที่ได้บางส่วนออกจำหน่ายสร้างรายได้ ได้แก่ มะขามป้องเชื่อม มะขามป้องแช่อิ่ม น้ำมะขามป้อง ไซรัปกล้วย เป็นต้น

ข้อมูลจากสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) ระบุว่าโครงการระบบผลิตพืชผักอินทรีย์ในเขตปฏิรูปที่ดิน ภายใต้ความร่วมมือทวิภาคี ไทย-ออสเตรเลีย ในเขตปฏิรูปที่ดิน เป็นการให้องค์ความรู้ในการผลิตถ่านชีวภาพไบโอชาร์ หรือเตาเผาถ่านแบบไร้ควันเป็นเตา ใช้หลักการเผาจากบนลงล่างแบบ 2 ครั้งในคราวเดียวกัน โดยมีถังด้านในและด้านนอกครอบวัสดุที่ใช้เป็นถ่านฟืน เริ่มจากเผาวัสดุภายในเตาก่อนเป็นอันดับแรก ทำให้เกิดควันและเปลวไฟออกมาเพื่อทำการเผาถังรอบนอกต่อ การเผา 2 ครั้งในลักษณะนี้จะเกิดควันจากการเผาน้อยมากหรือไม่มีควันไฟเลย

โดยวัตถุดิบที่ใช้ในการผาจะเป็นเศษกิ่งไม้ ใบไม้ ที่แห้งหรือมีความชื้นน้อยที่สุด เพื่อให้วัตถุดิบที่ได้กลายเป็นถ่านชีวภาพ หรือถ่านไบโอชาร์ ที่มีรูพรุนตามมธรรมชาติ เมื่อใส่ลงในดินจะช่วยระบายอากาศ ช่วยอุ้มน้ำ ช่วยดูดยึดธาตุอาหาร เป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ และลดความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ช่วยเพิ่มคุณภาพดิน ลดการใช้ปุ๋ย สารเคมีทางการเกษตร โดย สปก.จะขยายผลต่อยอดโครงการนี้ไปดำเนินการในพื้นที่อื่น และเขตปฏิรูปที่ดินในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ

ขณะเดียวกันนอกจาก สปก.แล้ว หน่วยงานอื่นๆ  อาทิ กรมพัฒนาที่ดิน รวมทั้งสถาบันการศึกษาหลายแห่งก็ร่วมส่งเสริมเกษตรกรให้ทำการเกษตร โดยหันมาใช้ถ่านไบโอชาร์ในการปรับปรุงดินเพื่อก้าวสู่เป้าหมายการผลิตอินทรีย์ ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ปี 2560-2564 เพื่อผลด้านสุขภาพของผู้บริโภค สิ่งแวดล้อม ทางเลือกในการทำการเกษตรแบบปลอดภัยของผู้ผลิต รวมทั้งยกระดับศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ปัจจุบันประเทศไทยส่งเสริมการปลูกพืชอินทรีย์หลากหลายชนิด อาทิ ข้าว พืชไร่ ผัก ผลไม้ ชา การแฟ ผักและผลไม้ผสมผสาน ฯลฯ ทั้งขายภายในประเทศ และส่งออกไปตลาดต่างประเทศ

โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหัวงานหลักในการส่งเสริมการผลิตเกษตรอินทรีย์ และตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ ปี 2563 ได้จัดทำโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินเพื่อขับเคลื่อนกลุ่มเกษตรกรเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ 75,00 ไร่ ด้วยการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ 1,700 ราย จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ PGS หรือระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม 40 แห่ง การสร้างเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ PGS ทั้งในระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ

โดยมีพื้นที่ดำเนินโครงการพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมประชารัฐ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาค ปี 2561 จำนวน 8 จังหวัด ประกอบด้วย แม่ฮ่องสอน น่าน เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี อุดรธานี และสกลนคร

และโครงการบริหารจัดการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมประชารัฐแบบครบห่วงโซ่ ปี 2562-ปัจจุบัน จำนวน 34 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงใหม่ ลำพูน แพร่ เชียงราย พะเยาตาก อุตรดิตถ์ สิงห์บุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี นครนายก สระแก้ว บึงกาฬ เลย หนองบัวลำภู หนองคาย เพชรบูรณ์ (หล่มสัก) นครพนม มุกดาหาร ขอนแก่น ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ชุมพร พัทลุง และสงขลา

ถ่านชีวภาพไบโอชาร์ คือหนึ่งในแนวทางปรับปรุงพัฒนาที่ดิน เพื่อขับเคลื่อนการปลูกพืชเกษตรอินทรีพย์ พืชสมุนไพรให้บรรลุเป้าหมาย สร้างรายได้ และมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกร 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


‘สวนทุเรียนลุงแกละ’ การปรับใช้ Agritech ลดต้นทุน ลดเวลา เพิ่มมูลค่าผลผลิต

‘โอโซนฟาร์ม’ เกษตรยุคใหม่กับการปรับตัวสู่ New Normal


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1220 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1580 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1858 | 25/01/2024
ถ่านชีวภาพ ‘ไบโอชาร์’ ตอบโจทย์เกษตรอินทรีย์-พืชสมุนไพร