Biodegradable คือการนำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ ซึ่งมีคุณสมบัติในการย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติและสามารถนำมารีไซเคิลใหม่ได้ (Recyclable) โดยศาสตราจารย์ Jayashree
Arcot และศาสตราจารย์ Martina Stenzel นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย
University of New South Wales (UNSW) ได้คิดค้นแนวทางการใช้ประโยชน์จากต้นกล้วย
ที่ผ่านการเก็บเกี่ยวแทนการฝังกลบ
โดยอธิบายว่า ที่ผ่านมาในภาคอุตสาหกรรมผลิตเกี่ยวกับกล้วยนั้น ได้ใช้ประโยชน์จากต้นกล้วยเพียงร้อยละ 12 เท่านั้น (ส่วนใหญ่คือ ผลกล้วย) ส่วนของลำต้นและส่วนที่เหลือจะถูกตัดทำลายทิ้ง โดยการฝังกลบซึ่งเป็นการสูญเสียอย่างเปล่าประโยชน์
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
ทั้งนี้
จากการวิจัยพบว่า เส้นใยจากลำต้นกล้วยเป็นแหล่งเซลลูโลส (Cellulose) ซึ่งมีคุณสมบัติที่เหมาะต่อการนำมาใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์สินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆ
(ถุงบรรจุอาหาร หรือกระดาษอบขนม) รวมถึงสามารถนำมาทำเป็นสิ่งทอ สำหรับใช้ในทางการแพทย์เพื่อช่วยรักษาแผลหรือผลิตยารักษาโรคได้อีกด้วย
ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากต้นกล้วยสามารถย่อยสลายตามธรรมชาติภายใน 6 เดือน และนำกลับมา Recycle ได้สูงถึง 3 ครั้ง โดยไม่เสื่อมคุณภาพ
ดังนั้นเส้นใยที่ได้จากต้นกล้วยจึงถือว่าเป็นเส้นใยจากธรรมชาติที่ปราศจากสารตกค้าง
มีคุณสมบัติเหมาะสำหรับการนำมาผลิตบรรจุภัณฑ์ทางเลือกใหม่แทนการใช้พลาสติกในอนาคต ซึ่งเป็นการช่วยลดปริมาณขยะฝังกลบในภาคการเกษตร
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ Arcot และศาสตราจารย์ Stenzel ยังมีแผนในการหาแนวทางลดปริมาณขยะฝังกลบ
ที่เกิดจากการเพาะปลูกข้าวและฝ้ายในอนาคตอีกด้วย
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจออสเตรเลียที่ผ่านมา
ภาคอุตสาหกรรมเกษตรออสเตรเลียมักประสบปัญหาจากภัยธรรมชาติอยู่บ่อยครั้งในแต่ละปี
ส่งผลให้ผลผลิตได้รับความเสียหาย ทำให้เกษตรกรต้องขาดทุนและประสบภาวะหนี้สิน เนื่องจากไม่สามารถจำหน่ายผลผลิตได้และต้องฝังทิ้งอย่างไร้ประโยชน์
อีกทั้งรายงานโดย The National Waste Report 2018 พบว่ามีปริมาณขยะเกษตรอินทรีย์ประมาณ 14.2 ล้านตัน
ดังนั้นผลการวิจัยโดยศาสตราจารย์มหาวิทยาลัย UNSW นอกจากจะช่วยลดปริมาณขยะที่ถูกฝังกลบอย่างเปล่าประโยชน์ และสร้างผลิตภัณฑ์ทางเลือกใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในออสเตรเลียแล้ว ยังสามารถช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกร ในการจำหน่ายลำต้นกล้วยที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวให้กับอุตสาหกรรมแปรรูป เพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในอนาคตต่อไป
โอกาสของผู้ประกอบการไทย
เนื่องจากกระแสการรักษาสิ่งแวดล้อมและการใช้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
กำลังเป็นที่นิยมที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย และมีอิทธิพลอย่างมากต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคออสเตรลีย
ดังนั้น ผู้ประกอบการส่งออกสินค้าไทยเพื่อเข้ามาจำหน่ายในออสเตรเลีย จึงควรให้ความสำคัญและคำนึงถึงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้สินค้าไทยเป็นที่น่าสนใจในสายตาผู้บริโภคออสเตรเลีย
รวมถึงเป็นการสร้างโอกาสในการประสบความสำเร็จ ในการทำธุรกิจในตลาดออสเตรเลียมากขึ้น
ปัจจุบันผู้ประกอบการในตลาดออสเตรเลีย
เริ่มมีการใช้บรรจุภัณฑ์และวัตถุดิบในการผลิตใหม่ๆ ออกสู่ตลาดจำนวนมาก เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสนิยมของตลาดในปัจจุบัน
อาทิ Bee Wax ใช้แทนพลาสติกสำหรับห่ออาหาร สามารถใช้ซ้ำได้หลายครั้ง
เสื้อผ้าสิ่งทอที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล
นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์ซักล้างปลอดสารเคมี Natural laundry detergent ที่ผลิตจากเปลือกของผล Sapindus Mukorossi ตากแห้งที่มีคุณสมบัติในการซักล้าง อาทิ Organic Soapberries ของ ThatRedHouse ซึ่งสามารถ reusable ได้ถึง 3 ครั้ง และกากที่เหลือสามารถย่อยสลายเป็นปุ๋ยธรรมชาติได้ ซึ่งไร้สารเคมีและเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ง่าย