ไม่ใช่เพียงประเทศไทยเท่านั้นที่ตื่นตัวกับกระแสการดูแลขยะพลาสติก
เพื่อบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้น แต่ "ญี่ปุ่น"
เป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างมาก
ที่ผ่านมาญี่ปุ่นประสบปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงขึ้น โดยมีปริมาณขยะพลาสติกที่ไม่ย่อยสลายเพิ่มจำนวนขึ้นมหาศาล โดยปรากฎว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีปริมาณพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง (Disposable Plastic) ต่อคนเป็นอันดับ 2 โลก รองจากสหรัฐ
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
รัฐบาลญี่ปุ่นได้ดำเนินมาตรการคล้ายกับรัฐบาลไทย
โดยประกาศให้ซุปเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าห้ามให้ถุงพลาสติกฟรีกับลูกค้าในเดือนพฤศจิกายน
ปี 2563 และให้เก็บเงินกับลูกค้าที่ต้องให้ใส่ถุงพลาสติก
เริ่ม 1 กรกฎาคม 2563 นี้
แต่ภาคเอกชนของญี่ปุ่นหลายรายตัดสินใจที่เริ่มดำเนินการให้เร็วขึ้นกว่าเป้าหมาย
บางรายให้เริ่มตั้งแต่ 1 เมษายน 2563
ย้อนกลับไปดูก่อนหน้านี้รัฐบาลญี่ปุ่นได้วางนโยบาย
แนวทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังหลายมาตรการ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือการส่งเสริมการใช้พลาสติกชีวภาพขึ้นมาใช้ทดแทน
นับตั้งแต่ปี 2545 ได้ให้สัตยาบันพิธีสารเกียวโต
วางแนวทางในการส่งเสริมการใช้ไบโอแมส
ซึ่งเป็นทรัพยากรที่หมุนเวียนให้กลับมาใช้ใหม่ได้ โดยวางเป้าหมายว่าจะใช้พลาสติกชีวภาพทดแทนการใช้พลาสติกแบบเดิมได้
20% หรือประมาณ 2.5-3 ล้านตัน ในช่วงปี
2553
ตามด้วยการเข้าสู่ความตกลงปารีส หรือ Paris
Agreement กำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ 26% ในปี 2573 พร้อมกันนี้
รัฐบาลญี่ปุ่นได้มีแผนรับมือภาวะโรคร้อน
ด้วยเป้าหมายจะเพิ่มปริมาณการใช้พลาสติกชีวภาพจาก 70,000 ตัน
ในปี 2556 เป็น 790,000 ตันในปี 2563 และเพิ่มเป็น 1.97 ล้านตันในปี 2573
การลดขยะพลาสติกเริ่มเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรมในปี
2562 หลังจากรัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายลดปริมาณขยะพลาสติกให้ได้ 25% ในปี 2573 และจะต้องมีปริมาณภาชนะ 60% ที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ และเพิ่มเป็น 100% ในปี 2578
จากนโยบายการส่งเสริมการใช้พลาสติกชีวภาพ ทำให้แนวโน้มตลาดพลาสติกชีวภาพเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ปริมาณ 32,880 ตัน เพิ่มเป็น 51,285 ตันในปี 2561 ตามข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น
สำหรับประเภทของพลาสติกชีวภาพ (Bio
Plastic) ซึ่งเป็นพลาสติกที่ผลิตขึ้นจากวัตถุดิบธรรมชาติ
ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตทางการเกษตร เช่น อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. พลาสติกที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ
(Compostable
หรือ Biodegradable Plastic) ซึ่งเมื่อย่อยสลายแล้วจะกลายเป็นปุ๋ย
จึงทำให้พลาสติกประเภทนี้เหมาะกับการใช้เป็นวัสดุสัมผัสอาหาร
เนื่องจากสามารถย่อยสลายไปพร้อมกับเศษอาหาร และคืนกลับสู่ธรรมชาติ
นอกจากนี้ยังสามารถนำแปลสภาพทอเป็นเส้นด้ายสำหรับผลิต
ผ้า ตาข่าย เชือก หรือนำไปทำเป็นแผ่นฟิล์ม ชีทสำหรับใช้ในภาคเกษตร เช่น PLA
(Polylactic acid), PHA (Polyhydroxyalkanoates), PBS (Polybutylene Succinate) เป็นต้น
2. พลาสติกที่ผลิตจากชีวมวล
(Biomass
Plastic) พลาสติกประเภทนี้ผลิตจากพืชหรือวัสดุทดแทนต่างๆ
โดยใช้กระบวนการทางเคมีหรือชีววิทยา
มีคุณสมบัติเหมือนพลาสติกที่ได้จากปิโตรเคมีซึ่งสลายตัวไม่ได้ทางชีวภาพ หรือ non-compostable
แต่มีวัตถุดิบที่นำมาใช้ได้อย่างไม่มีการสิ้นสุด นอกจากนั้นเมื่อเผาทำลาย
คุณสมบัติคาร์บอนของไบโอแมส จะไม่เพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นอากาส
ซึ่งเป็นการป้องกันภาวะโรคร้อนรวมถึงลดการพึ่งพาน้ำมันด้วย เช่นกลุ่ม Bio-PP,
Bio-PE, BioPA11 เป็นต้น
แม้ว่ากระแสการลดใช้พลาสติกโดยหันมาใช้พลาสติกชีวภาพในญี่ปุ่นจะเริ่มได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้น
อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่า
เหตุผลสำคัญที่ทำให้ตลาดนี้ยังไม่ได้ขยายกว้างเท่าที่ควร
เป็นผลจากต้นทุนการผลิตพลาสติกประเภทนี้ยังสูง หากเทียบกับพลาสติกแบบเดิม