กระแสร้อน BLM ต่อการปรับตัวของแบรนด์ในตลาดสหรัฐฯ

SME Go Inter
12/07/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2118 คน
กระแสร้อน BLM ต่อการปรับตัวของแบรนด์ในตลาดสหรัฐฯ
banner

แบรนด์ต้องตั้งอยู่ตามบริบทของสังคม เพราะสุดท้ายผู้บริโภคจะเป็นผู้ชี้ชะตาความอยู่รอดของแบรนด์ ด้วยเหตุนี้แม้จะเป็นช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจการค้าสหรัฐฯ ทว่ากระแสร้อนแรงของรณรงค์ Black Lives Matter : BLMทั่วประเทศสหรัฐฯ ซึ่งเกิดขึ้นจากเหตุการณ์การเสียชีวิตของนายจอร์จ ฟลอยด์ ชาวแอฟริกันอเมริกันเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบไปยังเจ้าของแบรนด์ต่างๆ เช่นกัน

รวมทั้งมีการปรับตัวโดยการที่ใช้ภาพคนผิวดำและชนกลุ่มน้อยเป็นแบรนด์และโลโก้บนบรรจุภัณฑ์สินค้า เพื่อลดกระแสต่อต้านและสร้างความเท่าเทียมทางสีผิว โดยจะออกแบบโลโก้ใหม่และเอาภาพคนบนบรรจุภัณฑ์ออกไป หรือ/และมีการเปลี่ยนชื่อแบรนด์ โดยกลุ่มแบรนด์สินค้าที่ได้รับผลกระทบ ยกตัวอย่าง อาทิ แบรนด์ L'oreal ได้ตัดคำ Whitening ออกจากผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแสดงถึงไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งกรณีลักษณะนี้กำลังเป็นกระแสการปรับตัวครั้งใหญ่ของสินค้าในตลาดสหรัฐฯ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

กระนั้นปัจจุบันผู้ประกอบการรายใหญ่หลายราย เช่น PepsiCo, Volkswagen, Dolce Gabana, Heineken ประสบปัญหาการประท้วงหรือการต่อต้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าที่นำออกเผยแพร่ เนื่องจากมีเนื้อหาสาระขัดแย้งหรือเหยียดต่อพื้นฐานวัฒนธรรมชนชาติและชาติพันธุ์ของผู้บริโภคกลุ่มน้อย ซึ่งผู้ประกอบการดังกล่าวต้องถอนการโฆษณาและประกาศการขอโทษ

โดยผลการสำรวจของบริษัท Morning Consult ในเรื่องปฏิกิริยาของผู้บริโภคจากกระแส Black Lives Matter ที่มีต่อแบรนด์สินค้าพบว่า ร้อยละ 66 ของผู้บริโภคกลุ่ม Gen-Z (มีจำนวนประมาณ 74 ล้านคนในสหรัฐฯ) เห็นว่ารณรงค์เรื่อง Black Lives Matter (BLM) มีอิทธิพลต่อการซื้อแบรนด์สินค้า และร้อยละ 81 สนับสนุน BLM มากที่สุด ในขณะที่กลุ่ม Millennials กลุ่ม Gen-X และกลุ่ม Baby Boomers ให้การสนับสนุนร้อยละ 70 ร้อยละ 62 และร้อยละ 56 ตามลำดับ

ขณะที่ร้อยละ 76 ของผู้บริโคกลุ่ม Gen Z เห็นว่าภาคธุรกิจ บริษัทต่างๆ มีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงการเหยียดผิว และมีอำนาจต่อรองกับภาครัฐที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงระบบ จะเห็นได้ว่าปัจจุบันผู้ประกอบการชั้นนำรายสำคัญในสหรัฐฯ และจากต่างประเทศหลายราย อาทิ  Walmart, Target,  Amazon, Gap, Lululemon, H & M Group ได้ใช้วิกฤตให้เป็นโอกาสในการสร้างภาพลักษณ์ให้แก่กิจการ ได้ร่วมบริจาคเงินให้กับองค์กรต่างๆ ที่รณรงค์การต่อต้านการเหยียดผิว และเสริมสร้างความเท่าเทียมทางสีผิว

ขณะเดียวกันการวางแผนการตลาดและการประชาสัมพันธ์โฆษณาสินค้าในตลาดสหรัฐฯ นั้นจะต้องคำนึงในเรื่อง Marketing Content เป็นสำคัญ การหลีกเลี่ยงการนำชาติพันธุ์มาประกอบ รวมไปถึงการใช้คำที่บ่งบอกถึงชาติพันธุ์ เช่น "Black" หรือ "White" หรือ "Asian" หรือภาพประกอบมาเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์หรือโลโก้ เพื่อเป็นการส่งเสริมสร้างความเข้าใจและเพิ่มความต้องการบริโภคสินค้าของผู้บริโภค

ด้วยเหตุนี้ ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกสินค้าแบรนด์ไทยที่ส่งออกหรือจะส่งออกไปจำหน่ายในสหรัฐฯ ก็ถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่ควรจะทบทวนแบรนด์สินค้าของตนเอง ในเรื่องภาพ โลโก้ และคำที่ใช้บนบรรจุภัณฑ์ ว่าจะมีความขัดแย้งต่อกระแสในปัจจุบันหรือไม่ และหาทางปรับปรุงให้สอดคล้องและสนับสนุนกับกระแสความเท่าเทียมกัน ซึ่งก็เป็นโอกาสในวิกฤติเช่นเดียวกัน

 

แหล่งที่มา : www.foxnews.com/ 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


6 เทรนด์ต้องรู้ เพื่อช่วยเซฟแบรนด์

ปรับตัวอย่างไร ถ้าการทำธุรกิจบน Facebook นั้นไม่ง่ายอีกแล้ว




Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6324 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2033 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5065 | 23/10/2022
กระแสร้อน BLM ต่อการปรับตัวของแบรนด์ในตลาดสหรัฐฯ