จับตาโควตาสินค้าประมงไทยหลัง Brexit

SME Update
19/06/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 2727 คน
จับตาโควตาสินค้าประมงไทยหลัง Brexit
banner

สืบเนื่องจากสถานการณ์แบ่งสัดส่วนการจัดสรรโควตาของ EU และ UK ภายหลังการถอนตัวของสหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการปรับแก้ไขตารางข้อผูกพันภาษีที่ไทยและประเทศอื่นจะได้รับการจัดสรรจากสหภาพยุโรป (EU 27) และสหราชอาณาจักร (UK) ภายหลังจาก Brexit ซึ่งเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2562 สหภาพยุโรปได้ออกประกาศระเบียบการจัดสรรโควตา Regulation (EU) 2019/216 กำหนดสัดส่วนโควตาระหว่าง EU 27 และ UK โดยสัดส่วนโควตาที่จัดสรรภายใต้กฎระเบียบนี้จะมีผลบังคับใช้ภายหลังจาก Brexit

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme 

 


จากข้อมูลในปี 2561 (ม.ค.-ธ.ค.) พบว่าสหภาพยุโรป (EU 27) นำเข้าปลาซาร์ดีนแปรรูปจากไทยเป็นอันดับ 3 ปริมาณ 42 ตัน สัดส่วนร้อยละ 1.1 ของการนำเข้าจากทั่วโลก(นำเข้าจากโมร็อกโกเป็นอันดับหนึ่ง สัดส่วนร้อยละ 91) 

นำเข้า ปลาทูน่าแปรรูปจากไทยเป็นอันดับหนึ่ง ปริมาณ 5,094 ตัน สัดส่วนร้อยละ 21 ของการนำเข้าจากทั่วโลก

นำเข้ากุ้งแช่แข็งจากไทยเป็นอันดับ 13 ปริมาณ 1,402 ตัน สัดส่วนร้อยละ 1.6 ของการนำเข้าจากทั่วโลก (นำเข้าจากเวียดนามเป็นอันดับหนึ่ง สัดส่วนร้อยละ 25)

นำเข้าปลาแปรรูปจากไทยเป็นอันดับ 13 ปริมาณ 299 ตัน สัดส่วนร้อยละ 1.2 ของการนำเข้าจากทั่วโลก (นำเข้าจากตุรกีเป็นอันดับหนึ่ง สัดส่วนร้อยละ 19)



ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ สหราชอาณาจักร (UK) นำเข้าปลาซาร์ดีนแปรรูปจากไทยเป็นอันดับ ปริมาณ 104 ตัน สัดส่วนร้อยละ 52 ของการนำเข้าจากทั่วโลก

นำเข้าปลาทูน่าแปรรูปจากไทยเป็นอันดับ 9 ปริมาณ 8 ตัน สัดส่วนร้อยละ 0.4 ของการนำเข้าจากทั่วโลก (นำเข้าจากมอริเซียสเป็นอันดับหนึ่ง สัดส่วนร้อยละ 77) 

นำเข้า กุ้งแช่แข็งจากไทยเป็นอันดับ 7 ปริมาณ 1,434 ตัน สัดส่วนร้อยละ 4 ของการนำเข้าจากทั่วโลก (นำเข้าจากเวียดนามเป็นอันดับหนึ่ง สัดส่วนร้อยละ 25)

ไม่มีการนำเข้าปลาแปรรูปจากไทยในช่วงเวลาดังกล่าว 

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาสถิติการส่งออกของไทยประกอบกับการจัดสรรโควตาภายใต้กฎระเบียบดังกล่าวจะเห็นว่าสัดส่วนการแบ่งโควตาในสินค้าปลาซาร์ดีนแปรรูปและปลาทูน่าแปรรูประหว่าง EU 27 และ UK สอดคล้องกับสถานการณ์ส่งออกของไทย 



สำหรับสินค้าปลาแปรรูปและกุ้งแช่แข็งที่นำเข้าจากไทยน้อยนั้น คาดว่าในอนาคตไทยจะมีโอกาสและศักยภาพในการส่งออกสินค้าดังกล่าวมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบัน EU ได้ปลดใบเหลือง IUU ให้ไทยแล้วตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2562 ทำให้ประเทศคู่ค้ามั่นใจว่าสินค้าประมงไทยมาจากการทำประมงที่ถูกกฎหมาย ปราศจาก IUU นอกจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งของไทย EU และ UK อยู่ระหว่างการเจรจาหารือการจัดสรรโควตาภายใต้กฎระเบียบดังกล่าวเพื่อให้ฝ่ายไทยได้รับผลประโยชน์สูงสุด 


อ้างอิง : กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

กระแสการเติบโตของอินฟลูเอนเซอร์และสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้แนวคิดเรื่อง Personal Branding ถูกนำมาพูดถึงอย่างกว้างขวางอีกครั้ง เพราะในวันนี้ที่โลกมีคนเก่งเกิดขึ้นมากมาย…
pin
5 | 17/04/2025
สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

แนวโน้มการใช้ AI และประโยชน์ต่อการเติบโตของ SMEในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เข้ามาสร้างผลกระทบอย่างมหาศาลต่อธุรกิจ…
pin
5 | 16/04/2025
ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

Topic Summary: นโยบายขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ สร้างแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ต่อการค้าโลก มาดูกันว่าเหตุการณ์นี้กระทบ…
pin
7 | 11/04/2025
จับตาโควตาสินค้าประมงไทยหลัง Brexit