โฟกัสเศรษฐกิจบรูไน ปี 2562

SME Go Inter
06/09/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 4745 คน
โฟกัสเศรษฐกิจบรูไน ปี 2562
banner

ประเทศบรูไน หรือชื่อทางการว่า “รัฐบรูไนดารุสซาลาม” (State of Brunei Darussalam) หรือในภาษามาเลย์ว่า เนการาบรูไนดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam) มีรายได้หลักมาจากการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ โดยบรูไนส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติกว่าร้อยละ 90 ของการส่งออกทั้งหมด เนื่องจากปริมาณการบริโภคภายในประเทศค่อนข้างน้อยด้วยมีจำนวนประชากรประมาณสี่แสนคน

ที่ผ่านมารัฐบาลบรูไนตระหนักดีว่าพลังงานที่ครอบครองอยู่นั้นกำลังจะหมดไปในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า จึงเร่งปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ โดยประกาศแผนพัฒนาระยะยาว “วิสัยทัศน์บรูไน ปี 2578” (Wawasan 2035 – Vision Brunei 2035) แผนพัฒนาฉบับนี้แสดงให้เห็นว่าบรูไนให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาคเศรษฐกิจอื่นนอกจากภาคพลังงานที่ไม่ต้องการพึ่งพาน้ำมันเพียงอย่างเดียว รวมถึงการส่งเสริมให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศ

จากรายงานของ World Economic Outlook 2019: Growth Slowdown, Precarious Recovery ของ International Monetary Fund (IMF) เศรษฐกิจบรูไนถูกคาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวในระดับปานกลางภายใน 2 ปีข้างหน้าและจะเริ่มชะลอตัวหลังจากนั้น โดยมีอัตราขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.8 (ปี 2562) ร้อยละ 6.6 (ปี 2563) และร้อยละ 2.2 (ปี 2567)

ความหมายคือเศรษฐกิจในบรูไนกำลังถึงจุดอิ่มตัว และเริ่มมาถึงทางตัน !

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 



ขณะที่รายงาน Asian Development Outlook 2019:Strengthening Disaster Resilience ของ Asian Development Bank (ADB) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจบรูไนในปี 2562 และปี 2563 จะมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.0 และ 1.5 ตามลำดับ ซึ่งก็คาดการณ์ในที่ดีกว่า ยังคงการเติบโตแม้จะไม่ดีมากนัก

ทั้งสองรายงานแตกต่างกันแล้วจะเชื่อใครดี ?

รายงานทั้งสองฉบับมีการคาดการณ์แนวโน้มอัตราการการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่างกัน โดยรายงานของ IMF ได้วิเคราะห์ว่าเศรษฐกิจโลกจะเกิดการชะลอตัวในต้นปี 2562 เพราะปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาค อาทิ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกา-จีน สถานการณ์ Brexit ปัญหาหนี้สินและการเงิน และอื่น ๆ แต่ยังคงมีแนวโน้มฟื้นตัวได้หากสถานการณ์ต่าง ๆ คงที่ และเศรษฐกิจใหญ่ ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน และอินเดียยังคงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (Emerging Market and Developing Economies) สามารถคงอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5

ส่วนรายงานของ ADB จะเน้นการวิเคราะห์สถานะและปัจจัยเศรษฐกิจรายประเทศ โดยได้คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจบรูไนจะสามารถเติบโตได้ในอัตราที่ต่ำ เนื่องจากยังคงพึ่งพาอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซเป็นหลัก ในขณะที่แนวโน้มใหม่ของโลกเริ่มนิยมใช้พลังงานทดแทนมากยิ่งขึ้น รวมทั้งราคาน้ำมันโลกยังคงถูกกด จึงส่งผลเชิงลบต่อเศรษฐกิจบรูไนในระยะยาว นอกจากนี้ การปิดซ่อมแซมโรงกลั่นน้ำมันของบรูไน ได้แก่ Hengyi Refinery ที่ Palau Muara Besar และ Brunei Fertilizer Industries ที่ Sungai Liang Industrial Park ยังเป็นปัจจัยสำคัญในการลดอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจบรูไนในระยะสั้นอีกด้วย

 

สภาวะเศรษฐกิจบรูไนฯ ในครึ่งปีแรก

ด้านการค้า : กรมการวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจ (Development of Economic Planning and Development) ได้รายงานข้อมูลมูลค่าการค้าบรูไนในไตรมาสแรก ดังนี้ ในเดือนมกราคมมีมูลค่าการค้าที่ BND 1,436.7 ล้าน (ขยายตัวร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน) กุมภาพันธ์มูลค่าการค้า BND 1,038.9 ล้าน (หดตัวร้อยละ 27.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน) และมีนาคมมูลค่าการค้า BND 1,144.9 (ขยายตัวร้อยละ 24.2 m-o-m)ทั้งนี้ 5 ประเทศแรกที่บรูไนส่งออกสินค้าไปมากที่สุด ได้แก่ ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลี มาเลเซีย และสิงคโปร์ ส่วน 5 ประเทศแรกที่บรูไนนำเข้าสินค้ามากที่สุด ได้แก่ จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ

การลงทุน : รัฐบาลบรูไนยังคงให้ความสำคัญกับภาคอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซเป็นหลัก โดยได้พยายามส่งเสริมให้ประเทศต่าง ๆ อาทิ จีน รัสเซีย และมาเลเซีย เข้ามาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม Palau Muara Besar อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน บุคลากร และองค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิตน้ำมันและก๊าซ ในขณะเดียวกัน รัฐบาลบรูไนได้พยายามส่งเสริมให้มีการลงทุนมากยิ่งขึ้นในภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายการพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจที่หลากหลาย ได้แก่ อุตสาหกรรมฮาลาล อุตสาหกรรมด้านการเกษตร อุตสากรรมโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เป็นต้น

ปัญหาการตกงานในบรูไน : กรมการวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจ (Development of Economic Planning and Development)ได้รายงานว่า บรูไนมีอัตราการว่างงานสูงถึงร้อยละ 9.3 (ข้อมูลล่าสุดจากปี 2561) ซึ่งเป็นผลมาจากการที่รัฐไม่สามารถผลิตแรงงานที่มีทักษะตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวกระทรวงแรงงานและอุตสาหกรรม และกระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ริเริ่มพัฒนาระบบการบริหารข้อมูลเกี่ยวกับแรงงาน (Labour Management Information System) เมื่อปี 2561 เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลความต้องการแรงงานของภาคเอกชนเข้ากับระบบพัฒนาแรงงานของรัฐ อย่างไรก็ดีระบบดังกล่าวยังไม่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าจะสามารถเริ่มใช้งานได้เมื่อใด


หลายปีที่ผ่านมาการค้าไทยกับบรูไนมีตัวเลข 3,092.40 ล้านบาท ถือว่าน้อยที่สุดในภูมิภาค แต่อย่างไรก็ตาม ภาคการลงทุนในบรูไน มีท่าทีเปิดกว้างในด้านการลงทุนมากขึ้น รวมทั้งการเปิดรับสินค้าต่างประเทศ เอกชนไทยที่มีศักยภาพอาจใช้โอกาสนี้ในการุกตลาดบรูไน ...ตัวเลขเศรษฐกิจอาจไม่หรูแต่ประเทศนี้กำลังซื้อสูง เพียงแต่ที่ผ่านมาเราไม่โฟกัสเท่าที่มากนัก โดยเฉพาะธุรกิจอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภคฮาลาล และเทคโนโลยีด้านการเกษตร

สถานเอกอัครราชทูต ณ บันดาร์เสรีเบกาวัน

CLMV เนื้อหอมลงทุนนานาชาติ

‘Kandol’ โครงการเพาะปลูกข้าวบรูไน ของภาคเกษตรไทย


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
5935 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
1903 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
4854 | 23/10/2022
โฟกัสเศรษฐกิจบรูไน ปี 2562