ถ้าคุณรู้สึกว่าร่างกายเหนื่อยล้า เครียด หงุดหงิด ขาดสมาธิในการทำงาน เกิดความเบื่อหน่าย จิตใจหดหู่ ไม่อยากเจอผู้คน รู้สึกน้อยใจและผิดหวัง จนเป็นเหตุที่ทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานแย่ลง นี่อาจจะไม่ใช่อาการของคนเป็นโรคซึมเศร้า หรือโรคขี้เกียจทำงาน แต่คุณอาจกำลังเริ่มเข้าสู่ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome)
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
อาการภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome) นี้กำลังกลายเป็นกลุ่มอาการยอดฮิตที่มาพร้อมกับวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ยุคดิจิตอล ที่ต้องทำงานท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันสูง
ล่าสุดองค์การอนามัยโลกได้หันมาให้ความสนใจกับภาวะอาการของกลุ่มนี้
โดยกล่าวถึงอาการหมดไฟในการทำงาน ว่าเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความเครียดที่สะสมมาจากการทำงานหนักเรื้อรัง ซึ่งอาการของ Burnout ต้องประกอบด้วย 3 อาการคือ รู้สึกอ่อนเพลีย
ไม่มีความสุขจากการทำงาน และประสิทธิภาพการทำงานลดลง
ในมุมมองของนักจิตวิทยากล่าวถึง ภาวะหมดไฟในการทำงานกับโรคซึมเศร้านั้นมีอาการที่ใกล้เคียงกันมาก ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่ยังไม่ถึงขั้นเจ็บป่วยทางจิตเวช แต่เป็นอาการที่มีผลต่อสุขภาวะที่อาจจะนำไปสู่โรคต่างๆ ได้ เช่น ภาวะโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล หรือแม้กระทั่งปวดหัวชนิดเทนชั่น หรือโรคนอนไม่หลับ เป็นต้น ดังนั้นใครที่คิดว่ามีอาการหรือพฤติกรรมเข้าข่ายเสี่ยงจะเป็นโรคนี้ ขอแนะนำให้รีบไปปรึกษาจิตแพทย์ด่วน
สงสัยว่าจะเป็น Burnout Syndrome หรือเปล่า
สามารถเช็คอาการได้ดังนี้
ทางกาย : รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย
นอนไม่หลับ หรือนอนหลับยาก มีอาการคล้าย Office Syndrome คือ
ปวดหลัง-ไหล่ ปวดคอ ปวดหลัง ภูมิคุ้มกันโรคลดลง
ทางอารมณ์ : อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด
โกรธง่าย รู้สึกหดหู่ สิ้นหลัง
ไม่มีแรงจูงใจ ไม่มีความสุขในสิ่งต่าง ๆ กลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้ายตลอดเวลา
พฤติกรรม : ชอบเก็บตัว เงียบขรึม
พูดคุยกับกันอื่น ๆ น้อยลง หมกมุ่นกับงานมากเกินไป ไม่กระตือรือร้น มาทำงานสายและกับเร็ว
ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ ๆ
ลักษณะงานที่ทำให้หมดไฟในการทำงาน
1. ภาระงานหนัก และปริมาณงานมาก รวมถึงงานมีความซับซ้อน
ต้องทำในเวลาเร่งรีบ
2. ขาดอำนาจในการตัดสินใจ
และมีปัญหาการเรียงลำดับความสำคัญของงาน
3. ไม่ได้รับการตอบแทน
หรือรางวัลที่เพียงพอต่อสิ่งที่ได้ทุ่มเทไป
4. รู้สึกไร้ตัวตนในที่ทำงาน
หรือไม่เป็นส่วนหนึ่งของทีม
5. ไม่ได้รับความยุติธรรม ขาดความเชื่อใจ
และการเปิดใจยอมรับกัน
6. ระบบบริหารในที่ทำงานที่ขัดต่อคุณค่า
และจุดมุ่งหมายในชีวิตของตนเอง
วิธีจัดการภาวะหมดไฟในการทำงาน
- ยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ต่าง ๆ
- เปิดใจฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- ทำสมาธิ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- อย่าทำงานหักโหมเกินไป
- อย่าเอางานกลับไปทำที่บ้าน
- ลดความกดดันในการทำงาน
- รู้จักขอความช่วยเหลือและปฏิเสธอย่างเหมาะสม
- นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
แต่ถ้าทำตามคำแนะนำเหล่านี้แล้วก็ยังไม่ได้ผล คุณควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาทางจิตวิทยาก่อนที่จะสายเกินไป