‘ใจเปิด’ ปรับตัว ปรับธุรกิจ พร้อมรับมือทุกความเสี่ยงจากโควิด 19

Library > Economic Outlook/Trends
14/08/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 4222 คน
‘ใจเปิด’ ปรับตัว ปรับธุรกิจ พร้อมรับมือทุกความเสี่ยงจากโควิด 19
banner

การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ทั่วโลกที่รุนแรงต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี 2563 ส่งผลให้หลายประเทศ รวมถึงไทยใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคด้วยการล็อกดาวน์ประเทศ จนทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกเกิดชะงักในชั่วขณะหนึ่ง และแม้ว่าปัจจุบันทั่วโลกคลายล็อกดาวน์ไปบ้างแล้ว ทว่าผลกระทบจากโควิด 19 ได้ทุบเศรษฐกิจโลกให้เกิดภาวะถดถอยอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจที่ถดถอยของโลกในช่วง 2 ไตรมาสหลังจากนี้ จะเข้าสู่ภาวะตกต่ำลงเรื่อยๆ ขณะที่ประเทศไทยเริ่มมีเค้าลางว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวกลับมา หลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดำเนินการได้ภายหลังรัฐบาลคลายล็อกดาวน์ แต่ยังคงนิ่งนอนใจไม่ได้ เพราะมีปัจจัยที่ต้องจับตาว่า การระบาดระลอกสองจะเกิดขึ้นหรือไม่ และหากเกิดขึ้น แสงสว่างที่ริบหรี่ในขณะนี้อาจดับวูบลงทันทีก็เป็นได้ 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

คุณวีระศักดิ์ สุตัณฑวิบูลย์ รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เมื่อเทียบกับวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 ที่ผลกระทบส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเอเชีย ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรปยังคงแข็งแกร่งนั้น วิกฤติโควิด 19 ในปัจจุบันเรียกได้ว่าเป็น Global Issue ทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบ ผู้ที่ได้รับผลกระทบหนักสุดคือ SMEs ตั้งแต่รายเล็ก กลาง จนไปสู่ธุรกิจขนาดใหญ่ ที่สำคัญทุกวันนี้ยังเห็นผลความรุนแรงไม่ชัดเจนนักว่าจะลุกลามในระดับใด และยุติลงเมื่อไร มีการคาดการณ์ว่า ผลกระทบจากโควิด 19 จะยังคงส่งผลต่อเศรษฐกิจทั่วโลกไปจนถึงปี 2565 หรือ อีก 2 ปี กว่าทุกอย่างจะคลี่คลาย

สอดรับกับการประเมิน GDP ประเทศไทยโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า เศรษฐกิจไทยปี 2563 จะติดลบ 8-10 % ดังนั้นระยะเวลาในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจนสามารถกลับไปอยู่จุดเดิมได้ก็อีกประมาณ 2 ปีเป็นอย่างน้อย

ขณะเดียวกัน โควิด 19 ก็ได้ Disrupt สถาบันการเงินทั้งหมดเช่นกัน ทำให้ต้องมีการปรับวิธีคิดใหม่ และปรับตัวให้สามารถทำงานได้เร็วขึ้น ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้มีความทันสมัย สอดรับกับวิกฤติการณ์ในปัจจุบันที่หลายอย่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

โจทย์ยากของการทำงานแบบ Work from home คือ การแจกจ่ายงานอย่างไร ให้สามารถบริหารจัดการทุกอย่างได้ดีที่สุด ดังนั้นการแบ่งทีม แบ่งหน่วยงานในส่วนต่างๆ ต้องกระชับ เพื่อกระจายความเสี่ยงและคล่องตัว ผสานการใช้แพลตฟอร์มต่างๆ ให้เจ้าหน้าที่ธนาคารสามารถทำงานจากบ้านหรือที่ใดก็ได้ เพื่อให้บริการลูกค้าได้เร็วขึ้น หลักการคือ ต้องทำให้คนพร้อม ถ้าไม่พร้อมก็ช่วยผู้ประกอบการไม่ได้ สิ่งเหล่านี้จึงต้องคิดและพัฒนาตลอดเวลา 

วันนี้ผู้ประกอบการกำลังลำบาก ธนาคารกรุงเทพเองก็พยายามคิดว่าจะช่วยลูกค้าให้มากขึ้นได้อย่างไร มีการปรับกระบวนการคิด การทำงานใหม่ ให้กระชับ รวดเร็ว เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการอย่างราบรื่นและทันท่วงที ยกตัวอย่าง กรณีซอฟท์โลนของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ช่วยเหลือ SMEs ธนาคารก็มีการประชุม วางแผน และจัดการทุกอย่างรวดเร็วมาก เพื่อปล่อยสินเชื่อให้ถึงมือ SMEs ได้รวดเร็วที่สุด

สถาบันการเงินมีความเข้มแข็ง

เรื่องดีของวิกฤติโควิด 19 คือ สถาบันการเงินมีความเข้มแข็ง ต้องชื่นชมนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่มองการณ์ไกล ทำให้สถาบันการเงินมีการเตรียมเงินทุนสำรองเพียงพอสำหรับรับมือวิกฤติอยู่เสมอ และเมื่อสถาบันการเงินมีความพร้อมก็สามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการได้ ตรงกันข้ามกับวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 ตอนนั้นเงินบาทอ่อนค่าและสถาบันการเงินได้รับผลกระทบหนัก

ที่ผ่านมาเราเหมือนถูกปลุกตอนตี 5 มาวิ่งออกกำลังกายทุกวัน และต้องคิดตลอดเวลาว่าจะป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างไร คำนึงถึงความเสี่ยงมากขึ้น ต้องทำ Stress Test ตลอดเวลาเพื่อประเมินสถานการณ์ต่างๆ ว่าเราจะมีเงินสำรองเพียงพอไว้รับมือหรือไม่ ผลคือตอนนี้สถาบันการเงินมีความแข็งแรง และมีกำลังมากพอจะช่วยเหลือผู้ประกอบการ

มุ่งส่งเสริม SMEs อย่างต่อเนื่อง

ตลอดหลายปีที่ผ่านมาธนาคารกรุงเทพจัดสัมมนาทั่วประเทศเพื่อให้ความรู้ SMEs ทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ โดยมีแพลตฟอร์ม Bangkokbanksme ที่ใช้สื่อสาร ให้ข้อมูลความรู้แก่ SMEs ในทุกช่องทางทั้งเว็บไซต์ Facebook,  Instagram, Twitter และ YouTube ซึ่งที่ผ่านมา SMEs ยังไม่ค่อยมีการปรับตัวมากนัก จากนี้จึงต้องมีการกระตุ้นให้ลงมือปฏิบัติจริงๆ มากขึ้น ขณะที่การระบาดของโควิด 19 ก็จะเป็นตัวเร่งให้ SMEs ตระหนักมากขึ้นด้วย

ปัจจุบันผู้บริโภคทุก Generations มีความเปลี่ยนแปลงสู่ New Normal การค้าออนไลน์มีบทบาทเพิ่มขึ้น ธุรกิจจึงต้องพร้อมและปรับตัว สิ่งสำคัญ คือผู้ประกอบการต้องเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของตลาด การเติบโตของตลาดออนไลน์ และเทคโนโลยีสื่อสาร การระบาดของโควิด 19 เป็นตัวเร่ง ทำให้การขายของออนไลน์ในทุกวันนี้ทำได้ง่าย ทั้งการขายผ่านแพลตฟอร์มมาเก็ตเพลส ไลฟ์ขายในเฟซบุ๊ก หรือช่องทางโซเชียลมีเดีย ซึ่งผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้เพื่อสร้างโอกาสที่มากขึ้นตราบเท่าที่เร็วพอ แต่ต้องไม่ลืมว่า การเติบโตของออนไลน์ก็นำมาซึ่งคู่แข่งที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน

“เราบอกลูกค้า SMEs เสมอว่า คุณต้องเปลี่ยนนะ เทคโนโลยีมีการพัฒนาไปอย่างมากมาย จะใช้ช่องทางการขายแบบเดิมๆ ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนไปออนไลน์ ที่สำคัญต้องเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของตลาดที่เปลี่ยนไปตามสถานการณ์ด้วย”

ใจเปิดปรับตัวรับมือผลกระทบจากโควิด 19

โควิด 19 ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวและโรงแรมได้รับผลกระทบหนักที่สุด จากข้อมูลระบุว่าวิกฤติโควิดครั้งนี้จะทำให้คนทั่วโลกตกงานกว่า 400 ล้านคน หมายความว่าโควิดยังทำให้คนทั่วโลกจนลง ดังนั้นต้องกลับมามองว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อจากนี้ และจะรับมืออย่างไร

“สิ่งที่ต้องทำลำดับแรกคือ ใจเปิด คิดอยู่ในกรอบเดิมๆ ไม่ได้ โลกกำลังเปลี่ยน ถ้ามองภาพใหญ่ จะเห็นว่า กระแส Globalization เกิดการทวนกระแส ทุกประเทศเน้นการดูแลตัวเองมากขึ้น พึ่งพาธุรกิจภายในประเทศมากขึ้น เห็นได้จากประเทศจีนไม่ส่งเสริมให้คนจีนออกเที่ยวต่างประเทศ แต่กลับกระตุ้นการเที่ยวในประเทศแทน นี่คือรูปแบบการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภายในประเทศ ทุกประเทศจะทำเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้น”

ดังนั้น SMEs จะต้องปรับวิธีคิด แม้ทุกวันนี้ การค้าออนไลน์จะทำให้สามารถขายสินค้าไปได้ทั่วโลก แต่ตลาดกำลังเปลี่ยน จึงต้องรู้ด้วยว่าสินค้าที่ผลิตนั้น ขายใคร ยังอยู่ในกระแสหรือไม่ ผู้ประกอบการต้องกลับมาคิดเรื่อง Learn How to Learn ว่าจะสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้อย่างไร ซึ่งปัจจุบันการเรียนรู้ทำได้ง่าย เรียนออนไลน์ก็ได้

ที่สำคัญหลังจากนี้ Partnership เป็นสิ่งสำคัญ SMEs ควรรวมซัพพลายเชนทั้งหมดเป็น Cluster จะทำให้ต้นทุนสินค้าต่ำลง เพราะอย่างที่กล่าวไว้ว่าวิกฤติโควิดทำให้คนกว่า 400 ล้านคนทั่วโลกจนลง กำลังซื้อลดลง การใช้จ่ายคำนึงถึงเหตุผลความจำเป็นมากขึ้น ผู้ผลิตสินค้าจะต้องทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป

การทำให้ผู้ซื้อรู้สึกว่าคุ้ม คือการผลิตสินค้าคุณภาพในราคาที่เหมาะสม (ไม่แพง) เรื่องนี้ผู้ผลิตไม่สามารถทำคนเดียวได้ SMEs ต้องรวมตัวกันทั้งซัพพลายเชนสนับสนุนซึ่งกันและกัน เพื่อทำให้ต้นทุนสินค้าต่ำลงโดยไม่กระทบต่อคุณภาพสินค้า รวมทั้งธุรกิจต้องมีการนำเทคโนโลยีมาตอบโจทย์ด้านต้นทุนสินค้ามากยิ่งขึ้นด้วย

SMEs ต้องย้อนกลับมาคิดว่า การทำคนเดียวอยู่คนเดียวยุคนี้อยู่ยากมาก ที่ผ่านมาทางธนาคารพยายามช่วยลูกค้าโดยการรวบรวมกลุ่มลูกค้าที่เกี่ยวข้องกัน มาพบปะพูดคุยกัน ซื้อสินค้าระหว่างกัน หรือแม้กระทั่งการทำ Business Matching พานักธุรกิจไทยไปเมียนมา เวียดนาม สปป.ลาว กัมพูชา และอินโดนีเซีย ไปพบปะพูดคุยกัน เพื่อสร้างโอกาสให้เกิดความร่วมมือทางธุรกิจและซื้อขายระหว่างกันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

คุณวีระศักดิ์ มีความเชื่อว่าธนาคารก็สามารถมีบทบาทในการพัฒนาขีดความสามารถ SMEs ได้ เช่น การพัฒนาแพลตฟอร์มให้ความรู้ การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมการเงินได้อย่างสะดวกขึ้น รวมถึงแนวคิดการทำมาร์เก็ตเพลสให้ SMEs ใช้เป็นช่องทางในการขายสินค้าได้เพิ่มขึ้น เป็นสิ่งที่ธนาคารเข้าไปช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกิจได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น เริ่มต้นได้ดีขึ้น เข้าใจธุรกิจแบบใหม่มากยิ่งขึ้น

เรียนรู้ใหม่เน้นสร้างโอกาสใหม่ๆ 

สำหรับคนที่กำลังมองหา New Business Model ในขณะนี้ จะต้องดูว่าธุรกิจนั้นอยู่ในกระแสหรือไม่ ที่สำคัญ พร้อมสำหรับการแข่งขันหรือไม่ ธุรกิจที่จะยืนหยัดอยู่ได้ในทุกวันนี้ต้องยึดหลัก  2 L 2 ต. คือ Light ธุรกิจต้องเบาและคล่องตัว และ Liquid คือธุรกิจต้องลื่นไหลและ มีสภาพคล่องที่ดี

ส่วน 2 ต. คือ ‘ต่าง’ สินค้าและบริการแตกต่างจากทั่วไปหรือไม่ ถ้าไม่ก็ต้องสู้กันในสมรภูมิราคาที่รุนแรง โอกาสอยู่รอดจึงมีไม่มาก ส่วน ต. ที่สองคือ ‘ต่ำ’ หมายถึงต้นทุนต้องต่ำ และเมื่อมีต้นทุนที่ต่ำแล้วสามารถขายในราคาที่เหมาะสมได้ เพราะฉะนั้น SME ทุกวันนี้ต้องยึดหลัก 2 L 2 ต. ให้ได้ก่อน จากนั้นค่อย Re- Learn เพื่อที่จะ Re-Skill ตัวเองใหม่ และอย่าปิดกั้นการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆของตัวเอง ทั้งการเรียนรู้จากรอบๆ ตัว เรียนรู้จากผู้คน เรียนรู้จากเหตุการณ์ เรียนรู้จากโลกออนไลน์ สิ่งเหล่านี้เปิดกว้างอยู่  

สุดท้ายคือ Speed ธุรกิจวัดกันที่ความเร็ว คือคิดเร็ว ตัดสินใจเร็ว ลงมือทำเร็ว ถ้ายึดหลักทั้งหมดนี้ไว้ได้ ความเสี่ยงก็ลดลงได้เยอะ ธุรกิจคุณก็สามารถไปต่อได้อย่างราบรื่น

ด้านการเริ่มต้นธุรกิจใหม่และการระดมทุน ปัจจุบัน SMEs มีรูปแบบการลงทุนจากช่องทางการเงินที่หลากหลาย อีกทั้งในประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานด้านการส่งเสริมการลงทุนที่ดี แถมการระดมทุนจากต่างประเทศที่ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น ง่ายขึ้น เป็นรูปแบบการลงทุนแบบใหม่ที่เป็นอีกทางเลือกให้ผู้ประกอบการ

“ในฐานะที่อยู่ในสถาบันการเงิน มองว่าสถานการณ์ปัจจุบันเป็นสิ่งที่ผิดปกติมาก ดังนั้นการลงทุนทำธุรกิจต้องทำในสิ่งที่เป็นออร์แกนิค และสอดรับกับบริบททางสังคมในประเทศ ต้องเร็ว ต้องเรียนรู้ใหม่ และต้องแตกต่าง ที่สำคัญคือมีต้นทุนต่ำ เป็นคาถาที่คนทำธุรกิจยุคนี้ต้องท่องจำให้ขึ้นใจ” คุณวีระศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย

สัมมนาออนไลน์ "Next Normal รู้ก่อน รุกก่อน"



 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Bnomics | ดัชนีเศรษฐกิจหลายตัวเริ่มหมดแรง เว้นภาคการท่องเที่ยวซึ่งยังฟื้นตัวต่อไป

Bnomics | ดัชนีเศรษฐกิจหลายตัวเริ่มหมดแรง เว้นภาคการท่องเที่ยวซึ่งยังฟื้นตัวต่อไป

เครื่องยนต์ของเศรษฐกิจไทยในหลายด้านเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลง อันเป็นผลมาจากแรงกดดันทางด้านอัตราเงินเฟ้อและการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจคู่ค้าไทยในต่างประเทศเป็นสำคัญ…
pin
1295 | 04/11/2022
เจาะใจ สตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ปั้นระบบ ‘FoodStory’ เสริมแกร่งร้านอาหาร ช่วยให้ SME บริหารร้านได้ทุกที่ทุกเวลา

เจาะใจ สตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ปั้นระบบ ‘FoodStory’ เสริมแกร่งร้านอาหาร ช่วยให้ SME บริหารร้านได้ทุกที่ทุกเวลา

ย้อนเส้นทาง บริษัท ลีฟวิ่ง โมบาย จำกัด สตาร์ทอัพผู้นำด้านการพัฒนาระบบ POS ด้วย แอปพลิเคชัน ‘FoodStory’ สำหรับร้านอาหารทุกประเภท ตั้งแต่ร้านอาหารรายย่อย…
pin
3656 | 26/10/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
4915 | 23/10/2022
‘ใจเปิด’ ปรับตัว ปรับธุรกิจ พร้อมรับมือทุกความเสี่ยงจากโควิด 19