ช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจฮ่องกงได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ประท้วงอย่างรุนแรง
โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ส่งผลให้ธุรกิจภาคบริการ ซึ่งรวมถึงธุรกิจโรงแรม
ธุรกิจการเดินทาง การท่องเที่ยว และร้านอาหารเครื่องดื่ม แม้แต่ธุรกิจค้าปลีก
ยังร่วงลงถึงร้อยละ 11 ในปี 2562
จากสถานการณ์ประท้วง
ร้านค้าปลีกทั้งหลายที่มีลูกค้าหลักเป็นชาวจีน แผ่นดินใหญ่ อาทิ
ธุรกิจค้าเครื่องประดับอัญมณี และเครื่องสำอางค์ มียอดขายลดลงถึงร้อยละ 36
และร้อยละ 30 ตามลำดับ
ซ้ำร้ายด้วยการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ยิ่งทุบเศรษฐกิจฮ่องกงให้ย้ำแย่หนักไปอีก ทั้งนี้สมาคมค้าปลีกในฮ่องกง (HKRMA) ได้ชี้แจงว่าภายใต้ผลกระทบจากการประท้วงรัฐบาล และการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่านี้ ผลประกอบการของการค้าปลีกซึ่งโดยปกติจะสามารถทำยอดได้สูงสุดในช่วงเทศกาลตรุษจีน (24 ม.ค. – 2 ก.พ. 63) ได้ทำสถิติยอดขายร่วงลงถึง 40-60 เปอร์เซ็นต์
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
อย่างไรก็ตาม
ท่ามกลางข่าวร้ายและขาลงของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องจากการท่องเที่ยวและค้าปลีก
ยังมีธุรกิจบางประเภทที่ยังทำยอดขายสวนกระแสเศรษฐกิจขาลงนี้ได้แก่
1. E-Sports
ในระหว่างที่ผู้คนถูกขอความร่วมมือให้อยู่ในที่พักอาศัย
เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสนี้ เกมส์กีฬาออนไลน์ (ESports) ได้กลายเป็นความบันเทิงในที่พักอาศัย ยกตัวอย่างเกมส์ Honor of King ซึ่งเป็นเกมส์ที่รู้จักเป็นอย่างดีจาก TENCENT ได้ทำรายได้ในวันที่
24 ม.ค. 63 เพียงวันเดียวถึง 2 พันล้านหยวน มากกว่าช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว ถึง
1.3 พันล้านหยวน ทั้งนี้จำนวนผู้เล่นได้เพิ่มขึ้น 1 ร้อยล้านรายต่อวัน
จากช่วงก่อนเพียง 6-7 หมื่นล้านรายต่อวัน
เนื่องจากกลุ่มนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเป็นลูกค้าหลักของธุรกิจประเภทนี้
และจากการปิดการเรียนการสอนจะยังทำให้ธุรกิจ นี้ได้รับความนิยมต่อไป
2. Home Delivery
บริษัทการค้าระหว่างประเทศบางรายได้ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน
โดยได้มุ่งเน้นด้าน e-commerce เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการชุมนุมในที่สาธารณะ
ป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า อาทิ บริษัท Xiaomi Corporation ได้วางแผนปล่อยเครื่องโทรศัพท์มือถือออนไลน์
นอกจากนั้นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ Tesla ยังได้พัฒนาการส่งเสริมการตลาดในช่วงเทศกาลตรุษจีน
และทางบริษัทยังได้แนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทางแอปพลิเคชั่นของบริษัทอีกด้วย ซึ่งความต้องการซื้อสินค้าออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นนี้
บริการส่งถึงบ้านจะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นด้วย
3. สินค้าของกินของใช้จำเป็น
ผู้คนต่างหันมาทำอาหารที่บ้าน เนื่องจากไม่สามารถออกไปทานอาหารนอกบ้านได้
ความต้องการข้าว น้ำมัน เครื่องปรุงอาหาร และวัตถุดิบในการประกอบอาหารได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ตั้งแต่มีสถานการณ์ความไม่สงบ ในช่วง 2 เดือนนี้
จะมีร้านอาหารจำนวนมากที่ต้องปิดตัวลง เนื่องจากไม่สามารถหารายได้เพียงพอเพื่อจ่ายค่าเช่าร้าน
โดยยังไม่กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส ดังนั้นเหตุการณ์ทั้ง 2
นี้อาจจะทำให้การเติบโตของสินค้าบริโภคประเภทอาหารสมดุลกัน
4. รถยนต์ส่วนบุคคล
การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่านี้ทำให้เกิดความกลัวในการเดินทางขนส่งสาธารณะ
และเป็นการกระตุ้นให้ผู้คนมีความสนใจในการซื้อรถยนต์ส่วนบุคคลในช่วงระยะสั้นๆ
นี้ได้
5.ประกันภัย
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่านี้
คาดว่าบริษัทประกันภัยอาจจะได้กำไรลดลงในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้
แต่สถานการณ์ดังกล่าวจะช่วยให้ผู้คนสนใจการประกันภัยมากยิ่งขึ้น
และจะทำให้ธุรกิจประเภทนี้เติบโตได้ในระยะยาว
เป็นที่น่าสังเกตว่า จากการที่รัฐบาลจีนออกมาประกาศขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้อยู่ในที่พักอาศัย และหากไม่มีความจำเป็นให้หลีกเลี่ยงการออกมาชุมนุมในที่สาธารณะนั้น พฤติกรรมออนไลน์กลับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในการแพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์ เรื่องนี้ธุรกิจไทยน่าจะนำมาเป็นกลยุทธ์สร้างยอดขายจากลูกค้าชาวจีนได้ไม่ยาก เนื่องจากสินค้าไทยก็เป็นที่นิยมในตลาดจีน ยิ่งช่วงนี้คนจีนอยู่แต่ในที่พักอาศัย ไม่ค่อยได้ออกไปไหนยิ่งเป็นโอกาสในช่วงวิกฤติที่ดี