บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่มีจำหน่ายและใช้อยู่ในตลาดปัจจุบัน
ส่วนใหญ่เป็นพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่ผลิตจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี (Petroleum-based biodegradable plastics) และพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่ผลิตจากวัตถุดิบมวลชีวภาพ
(Bio-based biodegradable plastics) ที่ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า
5 ปีในการย่อยสลายตามธรรมชาติ
นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับชนิดองค์ประกอบของวัตถุดิบและสภาพแวดล้อมที่จะเอื้อต่อระยะเวลาในการย่อยสลายอีกด้วย
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
Michelle Demers, Jared Wood และ Kimberly Bolton
ทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยซิดนียิ์
จึงเกิดแนวคิดการคิดค้นพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติมากขึ้นที่ใช้เวลาในการย่อยสลายได้เร็วขึ้น
โดยได้รางวัล “Inventing the Future program” ในการพัฒนาการผลิตพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
(Biodegradable plastics)
โดยนำแนวคิดการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกจาก
เปลือกกุ้ง (Shrimple solutions) ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ยั่งยืนและสามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้ภายใน
90 วัน มาพัฒนาต่อยอด เพื่อให้สามารถนำมาใช้บรรจุอาหารในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ
ได้จริง เพื่อลดปริมาณขยะเหลือทิ้งให้เป็นศูนย์ หรือการนำเอาขยะมา Recycle หรือพัฒนาให้เกิดประโยชน์ใช้สอยที่คุ้มค่าแทนการถูกนำไปฝังกลบโดยเปล่าประโยชน์
ต่อมาได้นำเงินรางวัลมาเป็นทุนในการจัดตั้งบริษัท
Carapac เพื่อพัฒนา Phototypes บรรจุภัณฑ์ดังกล่าวก่อนนำสู่ตลาด
ซึ่งปัจจุบันบริษัท Carapac อยู่ระหว่างการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารสดเป็นหลัก
โดยได้สำรวจความต้องการของตลาดในแต่ละอุตสาหกรรมต่างๆ
พบว่า ตลาดออสเตรเลียมีความต้องการบรรจุภัณฑ์ประเภท Punnet (สำหรับผักและผลไม้สด) บรรจุภัณฑ์แบบถุง (Pouches)
Clingwrap ถุงบรรจุช้อนและส้อมในธุรกิจร้านอาหาร ถุงขยะและถุงพลาสติก
เป็นต้น
ข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้บริษัทฯ
สามารถออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการในตลาดมากที่สุด
เนื่องจากต้นทุนในการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากเปลือกกุ้งหรือเปลือกของสัตว์น้ำประเภท
Crustacean (สัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง
อันหมายถึงสัตว์น้ำจำพวก กุ้ง กั้ง หรือ ปู) ค่อนข้างสูงกว่าการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ไม่สามารถสลายตัวได้ทางชีวภาพ
(Non compostable) ถึง 3 เท่า และคาดว่าเมื่อตลาดมีความต้องการบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต
จะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม นับเป็นสิ่งที่น่าจับว่าปัจจุบันมาตรการควบคุมต่างๆ
ที่เกี่ยวข้อง COVID-19
ส่งผลให้ภาคธุรกิจร้านอาหารต้องมีการปรับตัวทางธุรกิจ และเน้นการให้บริการในรูปแบบ
Takeaway/ Delivery เป็นหลัก ทำให้ความต้องการบรรจุภัณฑ์ในภาคธุรกิจร้านอาหารเพิ่มสูงขึ้น
เพื่อสุขอนามัยและความปลอดภัยของประชาชนในสถานการณ์ปัจจุบัน
อีกทั้ง Department of the Environment and Energy ได้รายงานผลสำรวจปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก
Recycle Australian Plastics Recycling Survey (APRS) ปี 2560
พบว่า ชาวออสเตรเลียใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกประมาณ 3.5 ล้านตัน ขยะพลาสติกร้อยละ 58 ได้ถูกนำกลับมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติก
Recycle ส่วนที่เหลือถูกฝังกลบและส่งออกไปจีน
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันจีนได้กำหนดมาตรฐานการนำเข้าขยะพลาสติกที่เข้มงวด
ทำให้ปริมาณการส่งออกขยะพลาสติก Recycle ลดลง ดังนั้นออสเตรเลียต้องเผชิญปัญหาปริมาณขยะสะสมที่ต้องฝังกลบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
และสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
ประเด็นนี้สำหรับภาคธุรกิจไทย จากแนวโน้มการเติบโตของตลาดบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติในออสเตรเลีย
น่าเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ประกอบการไทยต่อการส่งออกบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
อาทิ กระดาษ เยื่อไผ่ มันสำปะหลัง รวมไปถึงบรรจุภัณฑ์ Biodegradable plastics อื่นๆ
มายังตลาดออสเตรเลียเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพตลาดในปัจจุบัน
อีกทั้งปัจจุบันออสเตรเลียสนับสนุนให้ภาคธุรกิจร้านค้าหันมาใช้บรรจุภัณฑ์ Biodegradable และส่งเสริมให้มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน
ทั้งคุณสมบัติด้านความคงทน ดีไซน์ ทันสมัยและความเหมาะสมกับสินค้าในแต่ละประเภท
ดังนั้นบรรจุภัณฑ์ที่จะเข้ามาทำตลาดในออสเตรเลียจึงควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ
ข้างต้น ในการพัฒนาและผลิตสินค้าให้เหมาะสมกับการใช้งานและพฤติกรรมของผู้บริโภค
แหล่งอ้างอิง : https://carapac.co / www.foodprocessing.com.au
สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อ Bualuang
Green<<