ข้อมูลรายงานขนมสำหรับสัตว์เลี้ยงในสหรัฐฯ
ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 (Pet Treats and Chews in the U.S.,3rd Edition) โดย Packaged Facts เปิดเผยว่า ตลาดสินค้าขนมสำหรับสัตว์เลี้ยง (Pet Treat) ในสหรัฐฯ มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 3.1 จากปีที่ผ่านมาเป็นมูลค่า 6.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี
2562 โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้มูลค่าตลาดสินค้าสัตว์เลี้ยงสหรัฐฯขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากแนวโน้มของผู้บริโภคชาวอเมริกันในปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงเปรียบเสมือนเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งในครอบครัว
ซึ่งมีส่วนผลักดันให้ผู้ประกอบการในตลาดให้ความสำคัญในการพัฒนาสินค้า
และเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อรองรับตลาดมากขึ้น
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
Mr. David Sprinkle ตำแหน่งผู้อำนวยการด้านศึกษาวิจัยของ Packaged
Facts กล่าวว่า ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา
ตลาดสินค้าขนมสำหรับสัตว์เลี้ยงในสหรัฐฯ ได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยจะเห็นได้จากการจัดวางสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงในห้างสรรพสินค้า ที่ปัจจุบันสินค้าขนมสำหรับสัตว์เลี้ยงมีพื้นที่จัดวางสินค้าใกล้เคียงกับสินค้าขนมขบเคี้ยวสำหรับมนุษย์
โดยผู้ประกอบการในตลาดต่างพยายามชูจุดเด่นของสินค้าของตนว่ามีประโยชน์สำหรับสัตว์เลี้ยง
เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้บริโภคสนใจเลือกซื้อสินค้าขนมสำหรับสัตว์เลี้ยงที่ใช้วัตถุดิบคุณภาพสูงและให้ประโยชน์ต่อสุขภาพของสัตว์เลี้ยงมากขึ้น เช่น สินค้าปราศจากธัญพืช (Grain-Free) หรือสินค้าจากวัตถุดิบสุดยอดอาหาร (Super food) เป็นต้น นอกจากนี้ สินค้าประเภทใหม่ ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตก็ได้รับความสนใจจาก ผู้บริโภคมากขึ้นเช่นเดียวกัน
กัญชงกับอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยง
กัญชง (Hemp) และน้ำมันกัญชง (ที่ให้สาร Cannabidiol หรือ CBD ซึ่งมีฤทธิ์ต่อระบบสมอง) เป็นวัตถุดิบที่ได้รับความนิยมอย่างมากในตลาดสินค้าขนมสำหรับสัตว์เลี้ยงสหรัฐฯ
เนื่องจากเจ้าของสัตว์เลี้ยงบางส่วนเชื่อว่าวัตถุดิบดังกล่าวมีส่วนช่วยรักษาอาการป่วยหรือส่งเสริมสุขภาพของสัตว์เลี้ยงได้
เช่น อาการกระวนกระวาย ระบบการย่อยอาหาร การปวดเรื้อรัง การเคลื่อนไหวของร่างกาย
การอักเสบ และการระคาย เคืองทางผิวหนัง
จากข้อมูลการสำรวจเจ้าของสัตว์เลี้ยงในสหรัฐฯ
ปี 2562 พบว่าร้อยละ 39 ของเจ้าของสุนัขและร้อยละ 34 ของเจ้าของแมว เห็นด้วยกับการใช้กัญชงเป็นวัตถุดิบในการผลิตขนมสำหรับสัตว์เลี้ยง
โดยร้อยละ 29 ของทั้งเจ้าของสุนัขและแมวยังสนใจที่จะเลือกซื้อสินค้าหรืออาหารเสริมที่มีส่วนผสมของกัญชงให้สัตว์เลี้ยงของตน ทั้งนี้ร้อยละ 11 ของเจ้าของสุนัข
และร้อยละ 8 ของเจ้าของแมวยังเคยซื้อสินค้าที่มีส่วนผสมของกัญชงให้สัตว์เลี้ยงของตนมาแล้วด้วย
นอกจากที่สาร CBD จะได้รับความนิยมสำหรับการบริโภคในมนุษย์
เนื่องจากมีสรรพคุณในการรักษาอาการป่วยทางร่างกาย เช่น อาการวิตกกังวล
และอาการหอบหืด
ความนิยมของสารดังกล่าวยังเริ่มแพร่ขยายไปสู่ตลาดสินค้าสัตว์เลี้ยงด้วย
โดยเฉพาะหลังจากที่สหรัฐฯ ได้ผ่านร่างกฎหมายเกี่ยวกับอาหารและสินค้าเกษตร (Farm
Bill) เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ซึ่งได้จำแนกสารสกัด CBD จากกัญชงออกจากสารสกัด CBD จากกัญชาอย่างชัดเจน
อย่างไรก็ตาม
กฎระเบียบควบคุมสินค้าดังกล่าวในระดับรัฐยังไม่มีความชัดเจนมากนัก ทั้งในปัจจุบันสาร
CBD ที่สกัดได้จากกัญชายังไม่ได้รับอนุญาตจากองค์การอาหารยาสหรัฐฯในการผลิตอาหารสำหรับสัตว์
ดังนั้นสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงที่มี CBD เป็นส่วนประกอบจึงยังไม่สามารถทำตลาดได้อย่างถูกกฎหมายเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ กฎระเบียบในการควบคุมการใช้สาร
CBD และสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงที่มีวัตถุดิบจากกัญชงยังไม่มีความชัดเจนและยังมีความเสี่ยงสำหรับผู้ประกอบการที่สนใจตลาดดังกล่าว
โดยที่ผ่านมามีความสับสนในตลาดว่ากัญชง และ CBD ได้รับอนุญาตให้ใช้กับสัตว์หรือใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์หรือไม่
ทั้งพบว่าสมาคมควบคุมอาหารสัตว์อเมริกัน (the Association of American Feed
Control หรือ AAFCO) และ
องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) มีจุดยืนร่วมที่ชัดเจนยังไม่อนุญาตให้ใช้สารดังกล่าวในการผลิตสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงในขณะนี้
ดังนั้นหากผู้ประกอบการประสงค์ที่จะใช้กัญชง หรือ CBD ในการผลิตสินค้าจึงควรเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ
เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความเคร่งครัดกับการบังคับใช้กฎหมายในการใช้สารดังกล่าว
Mr. Steve Smith ประธานกรรมการบริหาร บริษัท Pet Releaf ผู้ผลิตสินค้าสัตว์เลี้ยงจากกัญชงกล่าวในระหว่างการบรรยายเรื่องสถานการณ์การผลักดันด้านกฎหมายสำหรับสาร
CBD และกัญชง (the State of CBD and Hemp
Legalization and Legislation) ในเข้าร่วมงานแสดงสินค้า SuperZoo
(งานแสดงสินค้าสำหรบั สัตว์เลี้ยง) เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาว่า
องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ กำลังอยู่ในระหว่างการกำหนดกฎระเบียบและบรรทัดฐานในการใช้กัญชงเป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้าสัตว์เลี้ยงให้ชัดเจนมากขึ้น
CBD ในกัญชง โอกาสสำหรับผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
ไทยเป็นครองตลาดส่งออกสินค้าอาหารและขนมสำหรับสัตว์เลี้ยงในตลาดสหรัฐฯ
เนื่องจากต้นทุนค่าแรงงานการผลิตค่อนข้างถูก
อีกทั้งยังมีวัตถุดิบในการผลิตสินค้าจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมการแปรรูปสินค้าอาหารทะเล
(เศษปลาทูน่า แมคเคอเรล) อีกทั้งมาตรฐานโรงงานผลิตและคุณภาพการผลิตสินค้าไทยยังเป็นที่ยอมรับจากผู้นำเข้าทั่วโลก
กระนั้นแม้ว่าประเทศไทยจะมีสัดส่วนส่งออกสินค้าอาหารและขนมสำหรับสัตว์เลี้ยงสูงสุดในสหรัฐฯ
แต่ส่วนใหญ่เป็นมูลค่าการส่งออกของผู้ผลิตแบรนด์จากต่างประเทศที่เข้ามาตั้งโรงงานในประเทศไทย
หรือการรับจ้างผลิต (OEM) ส่วนสินค้าแบรนด์ไทยนั้นยังมีค่อนข้างน้อย
ดังนั้น
ผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพจึงควรที่จะเน้นการพัฒนาสินค้าควบคู่กับการทำตลาดแบรนด์สินค้าไทย
เพื่อให้อาศัยจุดแข็งในด้านการยอมรับคุณภาพสินค้าของผู้บริโภคในการตลาดสหรัฐฯ
ในการสร้างแบรนด์และรักษาสัดส่วนตลาดสินค้าอาหาร และขนมสำหรับสัตว์เลี้ยงของไทยในสหรัฐฯ
ในอนาคต นอกจากนี้ผู้ประกอบการไทยยังควรที่จะศึกษาแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคในตลาด
เพื่อนำมาพัฒนาเทคโนโลยีและสินค้าเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
สำหรับในส่วนของสินค้าขนมสำหรับสัตว์เลี้ยงที่มีส่วนผสมของ CBD หรือกัญชง
แม้ว่าประเทศไทยจะมีมติจากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบกฎกระทรวงในการอนุญาตให้สามารถผลิตจำหน่าย หรือ ครอบครองกัญชง
ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561
(ระยะศึกษา 3 ปี ระหว่าง วันที่ 1 มกราคม 2561 ถึง 31 ธันวาคม 2563)
แต่ก็เป็นการอนุญาตเฉพาะเกษตรกรที่อยู่ภายใต้การควบคุมที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
อีกทั้งกฎหมายท้องถิ่นในสหรัฐฯเองก็ยังไม่มีความชัดเจน ดังนั้นจึงยังไม่สามารถพัฒนาสินค้าเพื่อรองรับตลาดส่งออกได้อย่างเป็นรูปธรรมในขณะนี้
อย่างไรก็ตาม
จากการสำรวจตลาดปลีกสินค้าขนมสำหรับสัตว์เลี้ยงและผลิตภัณฑ์สัตว์เลี้ยงที่มี
ส่วนผสมของ CBD หรือ กัญชงในสหรัฐฯ
พบว่า สินค้าที่วางจำหน่ายในตลาดมีราคาจำหน่ายปลีกค่อนข้างสูง ดังนั้นสินค้าขนมสำหรับสัตว์เลี้ยงมีส่วนผสม CBD
หรือกัญชงจึงอาจจะเป็นสินค้าศักยภาพที่สามารถพัฒนาไปเป็นสินค้าส่งออกได้ในอนาคต
หากกฎหมายควบคุมสินค้ากัญชงของไทยและตลาดเป้าหมายมีความชัดเจนและสอดคล้องกันมากขึ้น
อ้างอิง : Pet Food Processing เรื่อง: “CBD, Other
Ingredient Trends Drive Projected $6.7 Billion Pet Treat
Market” โดย: Mr. Jordan Tyler
: สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ
(สคต.) ไมอามี