อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มจีนมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา
จากการวิเคราะห์ของสมาคมการครัวจีน ที่ระบุว่ารายจ่ายของประชาชนในด้านอาหารช่วงทศวรรษ
70-80 ซึ่งเป็นยุคที่จีนมีประชากรประมาณ
962 ล้านคน เฉลี่ยต่อคนต่อปีเพียง 6 หยวน จนถึงปี 2017 จีนมีมีประชากร 1,390
ล้านคน รายจ่ายด้านอาหารเพิ่มขึ้นเป็น 2,852 หยวนต่อคนต่อปี เรียกว่าเพิ่มขึ้นกว่า
500 เท่า!!!
จากเดิมการบริโภคของคนจีนส่วนใหญ่ คือ ‘กินเพื่ออิ่ม’ เริ่มจะเปลี่ยนเป็นกินอย่างมี ‘เอกลักษณ์’ และเปลี่ยนไปเป็นกินอย่างมีวัฒนธรรม
กินอย่างมีประโยชน์ ไปจนถึงกินเพื่อรักษาสุขภาพ
โดยการใช้จ่ายในการรับประทานอาหารของคนจีนเปลี่ยนไป จากระดับครอบครัวไปจนถึงสังคม
คนจีนอยากที่จะไปรับประทานอาหารนอกบ้านมากยิ่งขึ้น ทำให้วัฒนธรรมการรับประทานอาหารนอกบ้านของคนจีนกลายเป็นที่นิยมและเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศอย่างหนึ่ง
ทั้งนี้ ข้อมูลอ้างอิงจากงานวิจัยล่าสุดของบริษัท Beneo ที่ระบุว่า ปัจจุบันผู้บริโภคชาวจีนหันมาให้ความสำคัญต่อสุขภาพของลำไส้มากขึ้น เนื่องจากรายได้ของประชากรชาวจีนเพิ่มขึ้น ประกอบกับการเติบโตและวิถีชีวิตของชนชั้นกลางมีการ เปลี่ยนแปลง ผู้บริโภคชาวจีนส่วนใหญ่จึงหันมาตระหนักถึงการเลือกรับประทานอาหารที่มีผลดีต่อสุขภาพของตนเอง
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
ต้องการอาหารที่มีโปรไบโอติกและเส้นใย
โดยจากการสำรวจพบว่า ผู้บริโภคจีนกว่าร้อยละ 72
เชื่อว่าอาหารมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพ และเกือบครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคให้ความสำคัญอย่างมากต่อระบบการย่อยอาหาร
การเติบโตของเศรษฐกิจที่รวดเร็วและการพัฒนาความเป็นเมือง
ทำให้ผู้บริโภคชาวจีนต้องเผชิญกับความกดดัน
และความเครียดที่ก่อให้เกิดปัญหาการนอนไม่เพียงพอ และการบริโภคอาหารแปรรูปในปริมาณมาก
วิถีชีวิตที่เร่งรีบเช่นนี้
อาจทำลายความสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ ซึ่งจากรายงานพบว่าผู้บริโภคชาวจีนกำลังแสวงหาอาหารที่อุดมไปด้วยโปรไบโอติกและเส้นใยอาหาร
เพื่อปกป้องสุขภาพของลำไส้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น โยเกิร์ตและธัญพืช
ถือเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยโปรไบโอติกและเส้นใยอาหาร
และสามารถช่วยเรื่องของระบบย่อยอาหารซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ จากการสำรวจยังพบว่า
ผู้บริโภคชาวจีนร้อยละ 25 มีความกังวลต่อปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหารในลำไส้
ซึ่งผู้บริโภคชาวจีนร้อยละ 33.3
เชื่อว่าหากร่างกายมีระบบย่อยอาหารที่ดีจะมีผลเชิงบวกต่ออารมณ์และช่วยปรับปรุงคุณภาพของชีวิต
ในขณะเดียวกันผู้บริโภคชาวจีนกว่าร้อยละ 75 กำลังมองหาอาหารและเครื่องดื่มที่มีไฟเบอร์
และมีแนวโน้มที่จะซื้ออาหารและเครื่องดื่มที่มีความเป็นธรรมชาติและเป็นออร์แกนิกมากขึ้นด้วย
ผู้บริโภคชาวจีนยังมีความกังวลต่อสุขภาพลำไส้ที่มีอิทธิพลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์ การเผาผลาญ โรคภูมิแพ้ การนอนหลับ รวมถึงสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด โดยส่วนใหญ่เชื่อว่าหากสุขภาพลำไส้ไม่ดีจะเพิ่มแนวโน้มของการเกิดโรคมะเร็ง โรคภูมิคุ้มกันและโรคทางจิต
เห็นได้ชัดว่า ผู้บริโภคชาวจีนยุคใหม่หันมาใส่ใจต่อสุขภาพมากขึ้น
รวมทั้งนิยมบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่ให้คุณค่าทางโภชนาการและมีส่วนผสมจากธรรมชาติ
ซึ่งการที่ผู้บริโภคชาวจีนหันมาตระหนักและใส่ใจถึงสุขภาพของลำไส้มากขึ้น
จึงนับเป็นโอกาสที่ดีของผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มไทยที่มีส่วนผสมของโปรไบโอติกและเส้นใยอาหารที่จะเข้ามาขยายตลาดในจีนเพิ่มมากขึ้น
โดยผู้ผลิตสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารดังกล่าว ควบคู่ไปกับการติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคชาวจีนอย่างใกล้ชิด เพื่อกำหนดกลยุทธ์และพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาด รวมทั้งแสวงหาช่องทางการเปิดตลาดในระบบอีคอมเมิร์ซ และช่องทางโซเชียลชื่อดังอย่าง Wechat Weibo Tencent Youku ที่กกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศจีน เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ไทยสามารถขยายตลาดและเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคชาวจีนได้อย่างมีศักยภาพ
อ้างอิง : https://news.21food.cn/12/2891650.html
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองชิงต่าว
EU กับกระแสการบริโภคโปรตีนจากพืช
FIoT ต้นแบบงานวิจัยเพื่อเอสเอ็มอี