จีน-ญี่ปุ่น ประชันสมรภูมิการค้า การลงทุนใน CLMVT

SME Go Inter
23/10/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2341 คน
จีน-ญี่ปุ่น ประชันสมรภูมิการค้า การลงทุนใน CLMVT
banner

ถนนทุกสายต่างมุ่งหน้าสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ปรากฏการณ์ดังกล่าวนับวันยิ่งชัดเจนมากขึ้น หลังจากสถานการณ์โรคโควิด 19 ในภูมิภาคแห่งนี้คลี่คลายลง ตรงข้ามกับทั่วโลกยังแพร่ระบาดไม่หยุดฉุดเศรษฐกิจพังพินาศ และยังทำลายบรรยากาศลงทุนส่งผลให้กลุ่มทุนทั่วโลก ไม่ว่าจะกลุ่มทุนจากเอเชียและยุโรปต่างก็หันมาให้ความสำคัญชาติอาเซียน ในฐานะเป็นภูมิภาคดาวจรัสแสงแห่งซีกโลกตะวันออก เช่นเดียวกับกลุ่ม CLMVT 5 ประเทศ  ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย ที่เนื้อหอมไม่แพ้กันและกำลังกลายเป็นสมรภูมิการค้าการลงทุนในอนุภูมิภาคแห่งนี้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ตลอดหลายปีที่ผ่านมามีแค่ 2 ชาติมหาอำนาจเอเชีย คือ จีนและญี่ปุ่น ที่เข้าไปขยายบทบาททางด้านการค้าและการลงทุนใน CLMVT แต่ในช่วง 2-3 ปีมานี้จีนผงาดขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 เหนือญี่ปุ่นในสถานะผู้เล่นสำคัญภูมิภาคนี้ ทั้งด้านการค้าและการลงทุนเติบโตไม่หยุดขยับแซงหน้าญี่ปุ่นแบบไม่เห็นฝุ่น แม้แต่ประเทศไทยที่เคยเป็นฐานการผลิตของญี่ปุ่นมาไม่ต่ำกว่า 5 ทศวรรษ ยังถูกจีนเข้ามามีบทบาทสำคัญแทนโดยมีเม็ดเงินลงทุนเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่ากลัวจนกลายเป็นผู้ลงทุนอันที่ 1 ในประเทศไทยในปี 2019 คิดมูลค่า 2.62 แสนล้านบาท เมื่อเทียบกับญี่ปุ่น คิดมูลค่า 7.31 หมื่นล้านบาท ตามมาด้วย ฮ่องกง คิดมูลค่า 3.63หมื่นล้านบาท

อย่างไรก็ตามการแข่งขันระหว่างจีนกับญี่ปุ่นใช่ว่าจะสิ้นสุดลงแบบง่ายดาย ตราบใดที่ CLMVT ยังมีผลประโยชน์ที่อุดมสมบูรณ์ให้แก่ทั้ง 2 ประเทศมหาอำนาจ การช่วงชิงย่อมมีให้เห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วงชิงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึก คือพื้นที่แห่งการแข่งขันที่เห็นได้ชัดเจนตอนนี้ ญี่ปุ่น มีโอกาสใช้ประโยชน์จากท่าเรือดานังของเวียดนาม และท่าเรือในเขตโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของไทย (ท่าเรือมาบตาพุดและท่าเรือแหลมฉบัง) ได้มากกว่า

ทำให้จีนต้องหันหัวรบมองหาแหล่งพัฒนาแห่งใหม่ และกัมพูชาคือตัวแปรสำคัญที่จีนต้องการเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาท่าเรือ เป้าหมายอยู่ในพื้นที่เมืองสีหนุวิลล์ ซึ่งจีนหวังจะขยายภาคการผลิตและส่งออกทางทะเลไปยังตลาดชาติตะวันตก ซึ่งไม่แตกต่างกับการแข่งขันลงทุนในเขตตะวันตกของเมียนมาติดกับมหาสมุทรอินเดีย ต่างกำลังลงทุนพัฒนาท่าเรือและนิคมอุตสาหกรรมริมชายฝั่งอย่างแข็งขัน เพื่อสร้างความเชื่อมโยงไปสู่เอเชียใต้

 

ไทยพลอยได้รับอานิสงส์ทั้งขึ้นทั้งล่อง

การที่จีนผงาดขึ้นเป็นผู้เล่นสำคัญใน CLMVT บั่นทอนความเชื่อมั่นของญี่ปุ่นอย่างมาก ทำให้ญี่ปุ่นต้องทำทุกวิถีทางเพื่อทวงบทบาทกลับคืนมา ซึ่งในมุมมองของ ดร.อนุรัตน์ อินทร ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย สะท้อนความคิดเห็นว่าไทยมีแต่ได้กับได้ เพราะจะว่าไปแล้วไทยเองยืนอยู่ในฐานะ “เหยียบเรือสองแคม” โดยรัฐบาลไทยให้น้ำหนักที่สำคัญทั้งจีนและญี่ปุ่นในระดับที่เท่าเทียมกัน ด้วยการเชิญนักลงทุนทั้งจากจีนและญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนใน EEC

ส่วนเมียนมาและลาวตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ทั้งจีนและญี่ปุ่นต่างแข่งขันสร้างอิทธิพลด้วยการให้เงินอุดหนุนและลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะให้เงินสนับสนุนช่วยเหลือแบบเปล่าและเข้าไปลงทุนให้ ตลอดทั้งเข้าไปร่วมลงทุนระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลหรือรัฐบาลกับเอกชน ทำให้ประชากรในภูมิภาคแห่งนี้รวมมากกว่า 250 ล้านคน ยกฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมากกว่าอดีตที่ผ่านมา มีทั้งด้านเศรษฐกิจ คมนาคมขนส่ง โทรคมนาคม พลังงาน การค้า การลงทุน เกษตร สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

 

ภาคเหนือของไทยประตูสู่จีนตอนใต้

การที่จีนพัฒนาประเทศก้าวกระโดดในมุมมองของ นางสาวผกายมาศ เวียร์รา ประธานกรรมการบริษัทแม่โขง เดลต้า ทราเวลเอเจนซี จำกัด บอกว่าส่งผลดีต่อกลุ่มประเทศ CLMVT อย่างมาก สำหรับภาคเหนือของประเทศไทยสามารถเชื่อมโยงกับจีนทางตอนใต้ได้หลายช่องทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดตามแนวชายแดนของภาคเหนือ จะเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายที่ต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ด้านโอกาสสามารถเกิดขึ้นได้หากไทยสามารถเกาะกระแสจีนเติบโต ด้วยการสร้างความร่วมมือด้านต่างๆ เช่น ความร่วมมือในกรอบอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งจะสร้างโอกาสในการลดการพึ่งพิงวัตถุดิบและตลาดภายนอกภูมิภาค ลดต้นทุนโลจิสติกส์ ภาคเอกชน อีกยังได้เพิ่มโอกาสการค้าสินค้าและบริการของไทยในตลาด CLMV

นอกจากนี้สามารถขยายตลาดจีนตอนใต้ และโอกาสในการเพิ่มบทบาทในห่วงโซ่กิจกรรมทางเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคตามแนวระเบียงเศรษฐกิจให้สามารถพัฒนาร่วมกันได้เป็นอย่างดี แต่สิ่งที่เป็นความท้าทายที่ไทยควรเตรียมความพร้อมรองรับในด้านต่างๆ ทั้งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเชื่อมโยงอย่างต่อเนื่อง การลดอุปสรรคด้านโลจิสติกส์ระหว่างเมืองตามแนวระเบียงเศรษฐกิจ ที่สำคัญการกระตุ้นให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนตระหนักรับรู้ข้อมูลข่าวสารความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับการเชื่อมโยงการค้า การลงทุน อุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องกับภาคเหนือ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับการเปิดตลาดที่จะมีการแข่งขันสูงขึ้นตามมาด้วย

ไม่ว่าจีนหรือญี่ปุ่นจะแย่งกันเป็นหัวขบวนในด้านการค้า การลงทุนใน CLMVT ประเทศไทยยังสามารถแสวงหาผลประโยชน์จากนโยบายนี้ได้ในทุกทาง เห็นได้จากการพัฒนา EEC ก็มีทั้งจีนและญี่ปุ่นมาแสดงบทบาทการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย และการพัฒนาเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเปิดโอกาสให้ทั้งสองชาติเข้ามามีบทบาท จึงอาจกล่าวได้ว่า ณ จุดนี้ ภูมิรัฐศาสตร์ของไทยยังคงเป็นศูนย์กลางการลงทุนในอาเซียนได้อย่างมีนัยสำคัญต่อไป 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


โควิดทุบลงทุน ‘เมียนมา’ คลายมนต์ขลัง 

"อาเซียน" เป้าหมายการลงทุนของนักลงทุนยุโรป


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6348 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2036 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5087 | 23/10/2022
จีน-ญี่ปุ่น ประชันสมรภูมิการค้า การลงทุนใน CLMVT