‘สินค้าจีน’ ทะลัก ทำธุรกิจ ‘อาเซียน’ ช้ำ

AEC Connect
28/09/2024
รับชมแล้วทั้งหมด 89 คน
‘สินค้าจีน’ ทะลัก ทำธุรกิจ ‘อาเซียน’ ช้ำ
banner
‘สินค้าจีน’ ทะลัก ทำธุรกิจ ‘อาเซียน’ ช้ำ 

ในปัจจุบัน ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเผชิญกับคลื่นสินค้านำเข้าราคาถูกจากจีนไหลทะลักเข้าท่วมอุตสาหกรรมท้องถิ่น ส่งผลกระทบและเกิดการว่างงานขึ้นมากมาย

ผลกระทบที่เห็นภาพอย่างชัดเจน เช่น โรงงานเซรามิกใน จ.ลำปาง ที่ปิดตัวลงไปแล้วกว่าครึ่งหนึ่ง ขณะที่แรงงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอของอินโดนีเซียหลายพันคนกำลังตกงาน ส่วนผู้ผลิตในมาเลเซียกล่าวว่า ความพยายามของรัฐบาลในการเก็บภาษีอีคอมเมิร์ซเพียง 10% ไม่ได้ช่วยปกป้องธุรกิจจากสินค้าจีนไหลทะลักได้

ทั้งนี้ การไหลทะลักเข้ามาของสินค้าจีนได้รับแรงส่งมาจากการที่จีนเป็นตลาดอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบกับเส้นทางรถไฟใหม่และการยกระดับท่าเรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์ รวมถึงเครือข่ายความตกลงการค้าเสรีต่างๆ ตั้งแต่เขตการค้าเสรีอาเซียนไปจนถึง RCEP ซึ่งปูทางให้สินค้าจีนสามารถเจาะตลาดท้องถิ่นเข้ามาได้

จุดเริ่มต้นของปัญหา

จากการปิดตัวอย่างรวดเร็วของกิจการต่างๆ เริ่มส่งสัญญาณให้รัฐบาลมีจุดยืนที่เข้มแข็งมากขึ้น หลังจากหลายปีที่ผ่านมามีการกระชับความสัมพันธ์กับคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดอย่างจีนมาโดยตลอด เช่น การส่งเสริมให้เข้าถึงตลาดระหว่าง 2 ประเทศได้อย่างง่ายดาย การลงทุนด้านโลจิสติกส์ นโยบายฟรีวีซ่า เป็นต้น
ซึ่งตั้งแต่ช่วงโควิด 19 บริษัทจีนค่อย ๆ ขยายเข้ามายังเศรษฐกิจที่ยังซบเซาของไทย โดยผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า ทั้งไทยและประเทศอื่นๆ ในอาเซียนจะต้องรักษาความสมดุลระหว่างการปกป้องธุรกิจภายในประเทศและการทำตามความตกลงการค้าต่างๆ ที่ลงนามไว้

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ผู้บริโภคชาวไทยบางคนออกมารณรงค์ให้ซื้อสินค้าไทย และชี้ให้เห็นว่ากำลังเกิดการทุ่มตลาดของสินค้าจีน
นายทองอยู่ คงขันธ์ ประธานที่ปรึกษาสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทยเตือนว่า ภาคธุรกิจสำคัญของไทย โดยเฉพาะภาคโลจิสติกส์ กำลังถูกเปลี่ยนมือไปเป็นของชาวจีน ซึ่งจะกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า ‘การขนส่งศูนย์เหรียญ’ หรือสถานการณ์ที่บริษัทจีนจะจ่ายเงินให้ซัพพลายเออร์จีนเพื่อขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกที่เป็นของคนจีน ซึ่งบ่อยครั้งมักเป็นเงินที่ไม่ต้องเสียภาษีและอาจผิดกฎหมายได้

นอกจากนี้ยังเสริมว่า บริษัทโลจิสติกส์ไทยที่ไม่มีกำไรกำลังถูกซื้อและถูกเปลี่ยนให้เป็นตัวแทนของเจ้าของรายใหม่ที่เป็นชาวจีน ทำให้บริษัทเหล่านี้สามารถเลี่ยงภาษีและเลี่ยงการตรวจสอบตามกฎระเบียบได้

การจู่โจมของอีคอมเมิร์ซ

จากความพยายามในการควบคุมการไหลทะลักของสินค้าจีนราคาถูก รัฐบาลมาเลเซียจึงเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าที่มีมูลค่า 500 ริงกิตหรือน้อยกว่านั้น ในอัตรา 10% ไปเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา 

แต่ผู้ค้าปลีกหลายรายก็ถกเถียงว่า มาตรการเพียงเท่านี้นั้นไม่เพียงพอ เนื่องจากธุรกิจในประเทศได้สูญเสียยอดขายให้แก่ธุรกิจออนไลน์ที่ขนส่งสินค้าจากจีนโดยตรงไปมากถึง 30%

นอกจากนี้ จากข้อมูลของบริษัท GlobalData ยังคาดว่าภาคอีคอมเมิร์ซจะเติบโตขึ้น 12.8% เป็นมูลค่า 5.03 หมื่นล้านริงกิต เนื่องจากผู้บริโภคหันไปซื้อของออนไลน์มากขึ้น

อย่างไรก็ดี นาย Ameer Ali Mydin รองนายกสมาคมการค้าปลีกมาเลเซียรู้สึกผิดหวังอย่างมากกับรัฐบาล เนื่องจากไม่สามารถบังคับใช้กฎระเบียบได้อย่างเข้มงวด ทำให้มาเลเซียกลายเป็นสนามแห่งการทุ่มตลาดของสินค้าที่เกินมาจากจีน และยังกล่าวว่าการขนส่งที่ทำได้โดยตรงจากต่างประเทศส่งผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรมท้องถิ่นในประเทศ จึงอยากสนับสนุนให้เรียกเก็บภาษีแบบอัตราคงที่สูงถึง 20% สำหรับสินค้าออนไลน์ที่มาจากต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

สร้างสิ่งใหม่หรือตายจากไป

ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา แรงงานในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอได้ออกมาเดินประท้วงในกรุงจาการ์ตา ของอินโดนีเซีย เพื่อเรียกร้องการสนับสนุน หลังจากที่สูญเสียส่วนแบ่งการตลาดไปให้กับธุรกิจเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอของจีนที่กำลังเติบโตอย่างมากบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอย่าง Shopee, Lazada และ TikTok Shop 

โดยจากข้อมูลของสมาพันธ์สหภาพแรงงานแห่งนุสันตาราพบว่า ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกรกฎาคม 2567 มีโรงงานปิดตัวไปแล้วอย่างน้อย 12 แห่ง ส่งผลให้มีคนตกงานมากกว่า 13,000 คน

อย่างไรก็ดี การประท้วงดังกล่าวได้กระตุ้นให้รัฐบาลออกมาตรการภาษีนำเข้าใหม่ ซึ่งจะอยู่ในช่วง 100%-200% สำหรับสินค้าจีนบางประเภท ซึ่งรวมถึงสินค้าสิ่งทอ เสื้อผ้า รองเท้า เซรามิก และอิเล็กทรอนิกส์ ด้วย ขณะเดียวกัน อินโดนีเซียหวังว่าอัตราภาษีใหม่จะไม่ก่อให้เกิดมาตรการตอบโต้ แต่จะส่งเสริมให้ผู้ผลิตจีนเข้ามาลงทุนในธุรกิจท้องถิ่นอย่างยั่งยืนมากกว่า

ที่มา: As cheap Chinese imports flood Southeast Asia, industries struggle to stay afloat, Aidan Jones, Amy Sood and Joseph Sipalan, South China Morning Post

ผู้เรียงเรียง: ณภัสสร มีไผ่แก้ว


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ไทย-ลาว-จีน ปฏิวัติโลจิสติกส์ ยกระดับภูมิภาคสู่ศูนย์กลางการค้า

ไทย-ลาว-จีน ปฏิวัติโลจิสติกส์ ยกระดับภูมิภาคสู่ศูนย์กลางการค้า

จากความคืบหน้าของโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคายที่เป็นไปอย่างราบรื่น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายกำลังร่วมมือกันพัฒนาภูมิภาคนี้ให้กลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญ ไทย…
pin
4 | 11/04/2025
เทรนด์ ‘ตลาดพรีเมียม’ ของจีน

เทรนด์ ‘ตลาดพรีเมียม’ ของจีน

ตลาดสินค้าพรีเมียมของจีน โดยเฉพาะสินค้าหรูหรา ได้ประสบกับการหดตัวอย่างมีนัยสำคัญในปี 2567 โดยลดลง 18-20% และกลับไปสู่ระดับในปี 2563 ซึ่งเกิดจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ต่ำลงและการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในต่างประเทศ…
pin
24 | 21/03/2025
สำรวจโอกาส ‘ 3 อุตสาหกรรมฮาลาล’ ในอินโดนีเซีย

สำรวจโอกาส ‘ 3 อุตสาหกรรมฮาลาล’ ในอินโดนีเซีย

อินโดนีเซียนับเป็นหัวใจของเศรษฐกิจฮาลาลทั่วโลก ด้วยจำนวนประชากรชาวมุสลิมที่มีมากที่สุดในโลกที่ประมาณ 229 ล้านคน ซึ่งในปี 2566 ที่ผ่านมา…
pin
20 | 14/03/2025
‘สินค้าจีน’ ทะลัก ทำธุรกิจ ‘อาเซียน’ ช้ำ