จีนได้เข้ามาบทบาทและเป็นมหาอำนาจที่ส่งกระทบต่อการค้าทั่วโลก
ไม่เว้นแม้แต่การค้าภายในอาเซียนรวมถึงไทยมาตลอด15
ปี ทั้งก่อนและหลังการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน( AEC)
ภายใต้ผลการศึกษาภาพรวมการค้าของอาเซียนและการค้าของจีนในกลุ่มประเทศอาเซียน CLMV ซึ่งประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ที่มีผลกระทบต่อการส่งออกของไทย โดยนายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า สัดส่วนการนำเข้าภายในตลาดอาเซียนด้วยกันมีทิศทางลดลง แต่อาเซียนนำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้น 7.5 เท่า หรือคิดเป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้น 277,009 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่อาเซียนส่งออกไปจีนเพิ่มขึ้น 4.1 เท่า คิดเป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้น 194,530 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
โดยเฉพาะ 4
ประเทศ CLMV ส่งออกไปจีนเพิ่มขึ้น 22.3
เท่า คิดเป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้น 58,214 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ
นำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้น 17.6 เท่า คิดเป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้น 95,374 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้จีนมีส่วนแบ่งตลาดในเวียดนามมากที่สุด
สะท้อนว่าหลังเปิด AEC
จีนสามารถชิงส่วนแบ่งตลาดใน CLMV มากขึ้น
เทียบกับก่อนรวม AEC เห็นได้จากจีนการที่ขยับขึ้นเป็นผู้ส่งออกอันดับ
1 ในเวียดนาม มีอัตราเติบโต 178.9%
จากปี 2011 และในเมียนมาอัตราเติบโต 103.4% และยังเป็นอันดับ 2 ในลาวด้วยอัตราเติบโต 151% และในกัมพูชาด้วยอัตราเติบโต 118.8%
ขณะที่ส่วนแบ่งตลาดสินค้าไทยใน CLMV
ลดลง เช่น
สินค้าไทยในตลาดเวียดนามอัตราการเปลี่ยนแปลงส่วนแบ่งตลาดปี 2018 เหลือ 0.0% จากก่อน AEC ในปี 2009 ที่เคยเติบโตถึง 11% หรือในตลาดเมียนมาติดลบ 5.5% จากก่อนรวม AEC ที่เติบโต 31.5% ตลาดลาว ก่อนเปิด AEC อยู่ที่ 5.3% หลังเปิด AEC ติดลบ 10%
ตลาดกัมพูชาก่อนเปิด AEC อยู่ที่ 5.4%
หลังเปิด AEC อยู่ที่ 5.6%
ไทยจะเสียตลาด CLMV
ไปในไม่ช้า
ทั้งนี้ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าอีก 5 ปีข้างหน้า ปี 2022 ( 2567)
จีนส่งออกมายัง CLMV มูลค่า 174,582 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 71.1% จากปี 2018 ที่ส่งออก 102,062 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
และจีนนำเข้าจาก CLMV มูลค่า 192,094
ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 166% จากปี 2018 ที่นำเข้ามูลค่า 72,213 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดยไทยจะมีความเสี่ยงที่จะถูกสินค้าจีนทะลักเข้ามาในอาเซียน
CLMV
มีมูลค่า 187,795 ล้านบาท โดยเฉพาะตลาดเวียดนามมูลค่าความเสี่ยงที่จะสูญเสียตลาดสูงสุด
86,353.9 ล้านบาท รองลงมาคือ ลาว 42,586.2 ล้านบาท เมียนมา 42,327.9 ล้านบาท และกัมพูชา 16,527 ล้านบาท
สำหรับสินค้าที่ไทยมีความเสี่ยงมากที่จะสูญเสียส่วนแบ่งตลาดเวียดนามให้กับจีนใน
5 ปีข้างหน้า คือ ด้าย ผ้าทอ ใยสังเคราะห์ ลอบสเตอร์และกุ้ง ไม้
แผงไม้ปูพื้น กระเบื้องไม้เหล็ก และส่วนประกอบ ข้าวโพด เครื่องหนัง
เครื่องใช้สำหรับ เดินทาง กระเป๋าถือ ชา กาแฟ และสินค้าอื่นที่มีความเสี่ยง เช่น
แผ่นตะกั่ว เปลือกหม้อเก็บไฟฟ้า ผลไม้แห้ง เคมีภัณฑ์ เคมี คอนกรีต น้ำตาล มันสำปะหลัง
แบตเตอรี่ ผลิตภัณฑ์จำพวกดอกไม้เพลิง ไม้ขีดไฟ
ในเมียนมา สินค้าที่ไทยมีความเสี่ยงมากที่จะสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับจีนใน
5 ปีข้างหน้า คือ เครื่องดื่ม สุรา ซอสและผงปรุงอาหาร ผลิตภัณฑ์จาก
เหล็กหรือเหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์ปรุงแต่งจากธัญพืช แป้ง เครื่องแต่งกาย เมล็ดธัญพืช
และสินค้าอื่นๆที่คาดว่าจะมีความเสี่ยง เช่น ยางใน
และยางนอกรถยนต์กระดาษและกระดาษแข็ง เครื่องมือ เครื่องใช้ ของใช้ชนิดมีคม ช้อนและ
ส้อม ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากปลา
ส่วนสินค้าที่ไทยมีความเสี่ยงมากที่จะสูญเสียส่วนแบ่งตลาดลาวให้กับจีนใน
5 ปีข้างหน้า คือ ของปรุงแต่งจากธัญพืช แป้ง ยาง สังเคราะห์ ยางนอก น้ำตาล
ผ้าห่มและผ้าคลุมตัว ดอกไม้เทียม ใบไม้เทียม ผลไม้เทียม พรมและสิ่งทอปูพื้น
สินค้าที่ไทยมีความเสี่ยงมากที่จะสูญเสียส่วนแบ่งตลาดกัมพูชาให้กับจีนใน 5 ปีข้างหน้า คือ น้ำตาล ปูนขาวและซีเมนต์ ผ้าสิ่งทอใช้ในอุตสาหกรรม
เมื่อเห็นดังนี้แล้ว
ผู้ประกอบการของไทยต้องเร่งปรับปรุง พัฒนาศักยภาพการผลิต นำนวัตกรรมเทคโนโลยีต่างๆ
เข้ามาปรับใช้ เพื่อฉีกหนีการแข่งขันกับสินค้าจากจีนที่มีโอกาสจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
โดยเฉพาะภายหลังการเปิดเสรียุทธศาสตร์เศรษฐกิจในภูมิภาค (RCEP) อาจทำให้จีนเข้ามาบทบาทในอาเซียน
เกิดการทะลักของสินค้าราคาถูกของจีนเพิ่มขึ้น
ปัญหาสงครามการค้าที่ยังยืดเยื้อซึ่งอาจจะทำให้ในอีก 5
ปีข้างหน้าไทยอาจสูญเสียการค้าให้กับจีนเพิ่มจากทีประเมินไว้อีกกว่า 1 เท่าตัว คิดเป็นมูลค่าเกือบ 4 แสนล้านบาท ก็เป็นได้