การลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในชั้นบรรยากาศ เป็นหนึ่งในความปัญหาเร่งด่วนที่สุดที่โลกกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน จึงเกิดวาระเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030 (Sustainable Development Goals-SDGs) ถูกกำหนดขึ้นตั้งแต่ปี 2015 โดยการรับรองของประเทศสมาชิกในกลุ่มสหประชาชาติ (United Nations-UN) เพื่อสร้างสันติภาพ–ความเจริญรุ่งเรืองสำหรับผู้คนและโลก
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
ร่วมด้วยช่วยลด ‘ปล่อยก๊าซเรือนกระจก’
จากข้อมูลของสถาบันการเงิน ‘สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด สหราชอาณาจักร’ ระบุว่า
เรื่องการลดคาร์บอนฟุตพรินต์ของภาคธุรกิจจะยังคงเป็นประเด็นร้อนในปี 2021
เพราะว่าทั่วโลกกำลังตระหนักว่าอุณหภูมิโลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ โดยคาร์บอนฟุตพรินต์คือปริมาณรวมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ จากการทำกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
ทั้งนี้กว่า 189
ประเทศร่วมเป็นภาคีในข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งเป็นตราสารกฎหมายที่รับรองภายใต้กรอบอนุสัญญา UNFCCC ฉบับล่าสุด
เพื่อกำหนดกฎกติการะหว่างประเทศที่มีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
โดยข้อตกลงปารีสถือเป็นแนวทางเร่งกระบวนการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในหลายประเทศ
ซึ่งถึงตอนนี้ยังมีอีกหลายประเทศที่ไม่สามารถทำตามสัญญาที่ให้ไว้ได้
หากความคืบหน้าของแต่ละประเทศทำได้ไม่ดีพอ อาจทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นถึง 2.7
องศาเซลเซียส สูงกว่าที่ข้อตกลงปารีสกำหนดไว้ให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส ดังนั้น ปี
2021 ทุกประเทศจึงต้องเร่งมือทำเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน
ด้วยเหตุนี้รัฐบาลของหลายประเทศ เช่น
เยอรมนี นิวซีแลนด์ เดนมาร์ก แคนาดา และเกาหลีใต้ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง
และได้บรรจุ ‘มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม’ (Green Recovery) ด้วยการให้เงินสนับสนุน
ปล่อยเงินกู้ หรือออกมาตรการลดหย่อนภาษี สำหรับโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ไม่ว่าจะเป็นด้านคมนาคมขนส่ง เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานสะอาด ซึ่งรวมถึงการให้เงินสนับสนุนและดำเนินโครงการต่างๆ
เพื่อสร้างงานใหม่และกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตต่อไปอย่างยั่งยืนด้วย
ก่อกำเนิด ‘เครื่องฟอกอากาศโลก’
บริษัทประเทศอังฤษและแคนาดาเตรียมสร้าง ‘โรงงานดูดคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศ’
ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสกอตแลนด์ โดยแผนดังกล่าวจะสามารถกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึงหนึ่งล้านตันต่อปี
ซึ่งเป็นจำนวนที่ปกติแล้วต้องใช้ต้นไม้ถึง 40 ล้านต้น
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกสกัดออกจากอากาศแล้ว จะถูกนำไปฝังไว้ใต้ก้นทะเลนอกชายฝั่งสกอตแลนด์
โครงการไดเร็คแอร์แคปเจอร์ (Direct
Air Capture - DAC) หรือการดูดอากาศโดยตรง
เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทสตอร์เรกกา (Storegga) จากสหราชอาณาจักร
และบริษัทคาร์บอนเอ็นจิเนียริง (Carbon Engineering) ของแคนาดา
การประกาศเมื่อวันที่ 24
มิถุนายน ที่ผ่านมา นับเป็นจุดเริ่มต้นของการออกแบบและกระบวนการด้านวิศวกรรม
หลังจากที่ได้มีการศึกษาเรื่องความเป็นไปได้ของแผนนี้แล้ว หากทุกอย่างเป็นไปตามเป้าหมายก็จะเริ่มใช้งานได้ภายในปี
2026 โดยจะเป็นโรงงานไดเร็คแอร์แคปเจอร์ใหญ่ที่สุดในยุโรป และเมื่อปรับตั้งค่าในขั้นตอนสุดท้ายแล้วก็อาจจะใหญ่ที่สุดในโลกด้วย
กระบวนการทำงาน ‘เครื่องฟอกอากาศโลก’
บริษัทคาร์บอนเอ็นจิเนียริงเคยมีโรงงานนำร่องแล้วที่เขตสควีมมิช
รัฐบริติชโคลัมเบียของแคนาดา ซึ่งสามารถดูดคาร์บอนไดออกไซด์วันละ 1 ตัน มาตั้งแต่ปี 2015 ระบบของโรงงานนี้คือมีพัดลมดูดอากาศ
จากนั้นก็จะนำไปผสมเข้ากับส่วนผสมทางเคมีที่จะไปดึงคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ หลังจากขั้นตอนการกลั่นเพิ่มเติมของเหลวจะกลายเป็นเม็ดแคลเซียมคาร์บอเนต
และเมื่อเม็ดแคลเซียมคาร์บอเนตโดนความร้อนที่ 900
องศาเซลเซียส เม็ดดังกล่าวก็จะสลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์เหลวและแคลเซียมออกไซด์
จากนั้น
คาร์บอนไดออกไซด์เหลวจะถูกนำไปกลั่นจนน้ำที่เจือปนอยู่หมดไป และคาร์บอนไดออกไซด์นี้ก็จะถูกปั๊มลงใต้ก้นทะเลและฝังเป็นการถาวร
หรือจะขายเชิงพาณิชย์–นำไปทำเป็นน้ำมันก็ได้
เหตุผลที่ต้องมี ‘เครื่องฟอกอากาศโลก’
คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(Intergovernmental
Panel on Climate Change - IPCC) บอกว่าโลกต้องพยายามไม่ให้อุณหภูมิสูงเกิน
1.2 องศาเซลเซียสก่อนสิ้นศตวรรษนี้ แต่อุณหภูมิโลกในปี 2020 นับเป็นปีที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดตั้งแต่มีการเก็บข้อมูลมา
สตีฟ โอล์ดแฮม
ประธานกรรมการบริหารของบริษัทคาร์บอนเอ็นจิเนียริง เผยว่า แม้จะใช้มาตรการอื่นๆ
ไม่ว่าจะเป็นลดการปล่อยคาร์บอน ใช้รถยนต์ไฟฟ้า หรือพลังงานหมุนเวียน แต่ก็ควรต้องใช้เทคโนโลยีดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ร่วมด้วย
ที่ผ่านมาเรายังทำได้ไม่ดีพอ?
โดยปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่ง
คือเป็น ‘ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลก’ ทั้งในแง่ของสาเหตุ
ผลกระทบ รวมไปถึงแนวทางการแก้ปัญหา พูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ
ปัญหานี้มีจุดเริ่มต้นมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่มาจากการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์
เพื่อเป้าหมายในการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับประชากรของทุกๆ ประเทศทั่วโลก
จึงถือได้ว่าทุกประเทศมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในระดับความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน
หากไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ก็มีโอกาสสูงอย่างยิ่งที่ในอนาคตโลกใบนี้จะเผชิญกับความเสี่ยงจากเหตุการณ์สภาพอากาศ
‘หายนะภัย’ ที่ยากจะคาดเดา ดังนั้นจะดีกว่าไหมถ้าพวกเราทุกคนร่วมมือแก้ปัญหานี้อย่างจริงจังตั้งแต่ตอนนี้
แหล่งอ้างอิง :