แฟรนไชส์กาแฟไทย บุกตลาดกัมพูชา

SME Go Inter
26/06/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 5156 คน
แฟรนไชส์กาแฟไทย บุกตลาดกัมพูชา
banner

อันเนื่องมาจากอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกัมพูชา GDP โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับ 6-7% ต่อเนื่องกันมาหลายปีรวมถึงกระแสนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หลั่งไหลเข้าไปในกัมพูชาเพิ่มมากขึ้น คนรุ่นใหม่ คนวัยทำงานในพื้นที่และชาวต่างชาติที่ทำงานอยู่ที่นี่นิยมดื่มกาแฟมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจร้านกาแฟแบรนด์ดังจากต่างประเทศและจากไทยพากันหลั่งไหลเข้าไปขยายธุรกิจกันอย่างคึกคัก

หากใครได้ไปกัมพูชาหรือพนมเปญจะเห็น 2 ข้างทางมีร้านกาแฟอยู่เต็มไปหมด คาดว่าเฉพาะในกรุงพนมเปญ น่าจะมีไม่ต่ำกว่า 300-400 แห่ง และทั่วประเทศมากกว่า 500 แห่งกาแฟ และร้านกาแฟกลายเป็นดัชนีชี้วัดความเป็นไปทั้งสภาพเศรษฐกิจ และไลฟ์สไตล์ของผู้คน เฉพาะในกรุงพนมเปญซึ่งเป็นเมืองหลวง มีร้านกาแฟสารพัดยี่ห้อ ตกแต่งสวยงาม มีทั้งร้านที่มาจากต่างประเทศ และร้านของนักธุรกิจท้องถิ่น

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme 


เริ่มต้นที่กาแฟเจ้าดังสัญลักษณ์นางเงือกอย่าง สตาร์บัคส์เริ่มมาเปิดสาขาที่กรุงพนมเปญ ก็อย่างที่รู้ๆ กันว่า หากแบรนด์สตาร์บัคส์ไปเปิดที่ไหน ในบ้านเมืองใด แสดงว่าที่นั่นเริ่มมีผู้คนที่เป็นชนชั้นกลางจำนวนมากขึ้น ส่วนดัชนีอีกตัวที่ยืนยันว่า วิถีชีวิตของชาวกัมพูชากำลังเปลี่ยนไปก็คือ การเปิดสาขาของ  "บราวน์คาเฟ่แอนด์เบเกอรี่ ร้านกาแฟยอดนิยมของชาวกัมพูชา ซึ่งเป็นกิจการของนักลงทุนท้องถิ่น ที่ตกแต่งแบบอินเตอร์และมีผู้มาใช้บริการเนืองแน่นจนแทบไม่มีที่นั่งตลอดเวลา และว่ากันว่ามีสาขาถึง  20 กว่าแห่งแล้วในเวลานี้

โฟกัสที่ธุรกิจ ร้านกาแฟในกัมพูชามีการลงทุนหลายรูปแบบ นักลงทุนหลายรายลงทุนซื้อธุรกิจแฟรนไชส์จากต่างประเทศ และมีบางรายที่เลือกสร้างแบรนด์ร้านกาแฟตัวเองขึ้นมา ปัจจุบันมีร้านกาแฟไทยไปดำเนินธุรกิจในกัมพูชาแล้วกว่า 10 แบรนด์ อาทิ อเมซอน,คอฟฟี่ ทูเดย์, อินทนิล, ชาพะยอม ชาตรามือ และArabitia โดยแต่ละแบรนด์มีกลยุทธ์ในการทำตลาดที่ต่างกันออกไป เช่น การขายแฟรนไชส์เต็มรูปแบบ หรือ ขายวัตถุดิบ เป็นต้น

โดยร้านกาแฟแบรนด์ไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้านกาแฟในกัมพูชาเป็นอันดับ 1 คิดเป็นสัดส่วน 45% แต่ที่น่าภูมิใจคือ  อเมซอน” ร้านกาแฟในกลุ่ม ปตท.ของไทย ยังคงเป็นที่นิยมมากที่สุดเมื่อเทียบกับแบรนด์ร้านกาแฟข้ามชาติที่อยู่ในกัมพูชา โดยอเมซอนขยายสาขาไปแล้ว 104 สาขา โดยตั้งอยู่ในกรุงพนมเปญ 12 สาขา (ข้อมูล ณ ส.ค. 2561) และภายใน 5 ปี มีแผนจะขยายเพิ่มอีก 20 สาขามีทั้งเปิดในห้างสรรพสินค้า เปิดเป็นร้านแบบแสตนด์อโลน รวมถึงในปั๊มปตท.ที่ไปเปิดสถานีบริการน้ำมันที่นั่น

ว่ากันว่าสั่งกาแฟอเมซอนแล้วยังต้องเข้าคิวกันนานมากกว่าจะได้กิน แต่คนก็ยังนิยม โดยเฉพาะชาวออฟฟิศทั้งหลาย

อดีตผู้บริหารปตท.เคยเล่าว่ารายได้ของคาเฟ่อเมซอนที่กรุงพนมเปญมียอดขายดีเป็นอันดับหนึ่งดีกว่าทุกสาขาทั้งในไทย

ประเทศอันดับ 2 ก็ยังคงเป็นแบรนด์ไทย คือ คอฟฟี่ ทูเดย์ ที่มีสาขาราว ๆ 50 สาขา ต้องบอกว่าสินค้าไทยมีภาพลักษณ์ที่ดี คุณภาพ ในสายตาของคนที่นี่

กล่าวสำหรับหนึ่งในเหตุผลหลักที่ทำให้กาแฟไทยสามารถขยายสาขาและครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดในกัมพูชา น่าจะมาจากราคาที่ถูกและปริมาณมากกว่าคู่แข่ง กลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาหรือวัยเพิ่งเริ่มทำงาน ทำเลที่ตั้งที่สะดวก เน้นการบริการแบบ take away มากกว่าการนั่งดื่มในร้านแตกต่างจากกาแฟแบรนด์ดังอื่น เช่น สตาร์บัคส์ และบราวน์ คอฟฟี่ ที่เน้นกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ปานกลางถึงสูง รวมถึงนักธุรกิจและนักท่องเที่ยวต่างชาติ การตกแต่งร้านจะเน้นมานั่งพักผ่อน พบปะสังสรรค์ และนั่งทำงาน


ทั้งนี้ บริษัท อเมซอนได้มอบสิทธิในการขายแฟรนไชส์คาเฟ่อเมซอนทั้งหมดในกัมพูชาให้บริษัท ปตท.(กัมพูชา) หรือ PTTCLเพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการเพื่อขยายตลาดดังกล่าว การมอบสิทธิในการขายแฟรนไชส์นี้ จะเป็นต้นแบบการดำเนินธุรกิจค้าปลีกอย่างเต็มรูปแบบในต่างประเทศของกลุ่ม ปตท.

ส่วนแบรนด์ท้องถิ่นจะเป็นร้านเล็กร้านน้อย เป็นบูธกาแฟ แต่ถ้าพูดถึงแบรนด์ที่เป็นเชนก็จะมี 2 รายคือ บราวน์ คาเฟ่ฯ ทำร้านอินเตอร์แต่เติมอัธยาศัย น้ำใจไมตรีแบบคนท้องถิ่น เช่นมีบริการมาเสิร์ฟ พูดคุยให้คำแนะนำเรื่องเมนูด้วยภาษาท้องถิ่น

ต่างจาก "สตาร์บัคส์" ที่วางระบบแบบเครื่องจักร ซึ่งคนท้องถิ่นอาจจะยังไม่คุ้นเคย ทำให้ สตาร์บัคส์ มองว่า "บราวน์คาเฟ่แอนด์เบเกอรี่" เป็นคู่แข่งรายสำคัญ นอกจากนี้ยังมีพาร์ค คาเฟ่ ที่เป็นของนักธุรกิจท้องถิ่น ทั้งสองรายเป็นของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ของกัมพูชามีสาขาทั้งประเทศประเทศ รวมกันน่าจะมีประมาณ 30-40 สาขา ขณะที่สตาร์บัคส์ แบรนด์ดังระดับโลกมีแค่สิบกว่าสาขาเท่านั้น

อย่างไรก็ตามทำให้ธุรกิจร้านกาแฟทั้งแบรนด์ท้องถิ่นและต่างประเทศโดดเข้ามาเป็นผู้เล่นหน้าใหม่มากขึ้นทุกวัน ทำให้มีการแข่งขันสูงจนมีสัญญาณว่าธุรกิจร้านกาแฟในกัมพูชาโดยเฉพาะในพนมเปญอาจอยู่ในภาวะล้นตลาด จนทำให้มีแบรนด์ใหญ่บางรายเริ่มมีการปิดสาขาบางแห่งแม้จะเป็นโอกาสของแบรนด์กาแฟไทยก็ตาม แต่ควรลงทุนรอบคอบ


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6322 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2032 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5058 | 23/10/2022
แฟรนไชส์กาแฟไทย บุกตลาดกัมพูชา