8 มาตรการรับมือน้ำหลากช่วงหน้าฝน

SME Update
07/07/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2059 คน
8 มาตรการรับมือน้ำหลากช่วงหน้าฝน
banner

หลังจากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ประกาศประเทศไทยถึงการสิ้นสุดฤดูแล้งเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนทั่วประเทศต่างโล่งใจขึ้นมาได้ระดับหนึ่งเพราะพ้นภัยแล้ง แต่ก็สร้างความกังวลตามมาเพราะเมื่อเข้าฤดูฝนคงหนีไม่พ้นต้องเผชิญภัยกับน้ำท่วมครั้งใหญ่ซ้ำซากทุกปี และหวั่นเกิดเหตุน้ำท่วมซ้ำรอยเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ที่จังหวัดอุบลราชธานีหนักสุดเมื่อปี 2562 ประชาชนเดือดร้อนทั้งจังหวัดและสร้างความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจหลายหมื่นล้านบาท

ฤดูแล้งที่ผ่านมาจากการที่ต้องต่อสู้ในการบริหารจัดการ “น้ำน้อย” เข้าหน้าฝนปีนี้ต้องหันมาต่อสู้กับ “น้ำมาก” แทน แต่ทั้ง 2 ปัญหาดังกล่าวภาครัฐได้เตรียมแผนการรับมืออย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะประเทศไทยเมื่อเข้าสู่หน้าฝน ได้ให้ความสำคัญมากกับการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝน โดยมอบหมายให้ กอนช.เร่งดำเนินการฟื้นฟูและเพิ่มศักยภาพแหล่งเก็บกักน้ำ รวมทั้งให้มีการวางแผนบริหารจัดการน้ำอย่างสอดคล้องกับกิจกรรมการใช้น้ำและปริมาณน้ำต้นทุนในแต่ละพื้นที่อย่างครอบคลุม

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ผนวก 8 มาตรการรับมือน้ำหลากหน้าฝน

สำหรับการดำเนินการตามมาตรการเตรียมความพร้อมรองรับฤดูฝน ปี 2563 เพื่อดำเนินมาตรการเชิงป้องกันและลดผลกระทบความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นให้มากที่สุด ดังนี้

1. การคาดการณ์พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วม โดยใช้ข้อมูลฝนคาดการณ์รายเดือนของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ในระบบ ONE MAP ร่วมกับข้อมูลทางกายภาพจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เส้นทางลำน้ำ และข้อมูลพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยที่หน่วยงานจัดทำไว้ อาทิ พื้นที่แก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งอย่างเป็นระบบ (Area Based) สถานีเฝ้าระวังน้ำท่วมในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม 2563 พื้นที่การเตือนภัยน้ำหลาก ดินโคลนถล่ม พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากต่อเนื่อง 5 ปี (ปี 2556 - 2560)

2. การปรับแผนการเพาะปลูกพืช โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มต่ำเกิดน้ำท่วมซ้ำซาก เช่น ทุ่งบางระกำ มีการปรับแผนการปลูกข้าวนาปีเร็วขึ้น รวมพื้นที่ 0.265 ล้านไร่ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวทันก่อนฤดูน้ำหลาก และปรับเป็นพื้นที่รับน้ำได้ได้จำนวน 550 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)

3. การจัดทำเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำ เพื่อกำหนดเกณฑ์การระบายน้ำตามการคาดการณ์สภาพฝนในปีนี้ให้กับแหล่งน้ำขนาดใหญ่ อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ รวมถึงขนาดกลาง ขณะเดียวกันยังรวมถึงสถานีวัดน้ำฝน สถานีวัดน้ำท่า และสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำ สำหรับหน่วยงานใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

4. การตรวจสอบอาคารชลศาสตร์ ระบบระบายน้ำ และสถานีโทรมาตร โดยปัจจุบันมีสถานีในความดูแลของหน่วยงานต่างๆ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิต กรมชลประทาน สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์กรมหาชน) รวม 1,317 สถานี โดยได้รับการตรวจสอบซ่อมแซมเรียบร้อยเกือบทั้งหมด 100%

5. การตรวจสอบสิ่งกีดขวางทางน้ำ ซึ่งจากการตรวจสอบทั่วประเทศ 625 แห่ง มีการปรับปรุงแก้ไขมิให้เป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำแล้ว 186 แห่ง ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างเร่งรัดให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

6. การสำรวจแม่น้ำคูคลองและดำเนินการขุดลอก กำจัดผักตบชวา โดยเร่งรัดติดตามการจัดเก็บผักตบชวาในแหล่งน้ำด้วยเรือท้องแบนที่ได้จัดซื้อไว้แล้ว โดยให้ท้องถิ่นมีการจัดเก็บทุกวันอย่างต่อเนื่อง โดยผลการดำเนินการกำจัดวัชพืช ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 11 พฤษภาคม 2563 ดำเนินการแล้วกว่า 2 ล้านตัน ขณะเดียวกันยังขอความร่วมมือประชาชนไม่ทิ้งขยะลงในแม่น้ำ คลอง และท่อระบายน้ำ ที่เป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำด้วย

7. เตรียมความพร้อมเครื่องจักร หน่วยงานต่างๆ ได้ตรวจสอบเครื่องมือช่วยเหลือประชาชนในกรณีเกิดอุทกภัยจำนวนรวม 7,661 เครื่องมือ และได้ดำเนินการบำรุงรักษาให้พร้อมสำหรับการใช้งานแล้ว

8. สร้างการรับรู้กับประชาชน โดยร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ร่วมถึงเครือข่ายคณะกรรมการลุ่มน้ำ เพื่อสร้างเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลและแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์

 

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันหลายโครงการอยู่ระหว่างการขับเคลื่อนของรัฐบาล ตามแผนแม่บทบริหารจัดการน้ำ 20 ปี (2561-2580) ทั่วประเทศ แก้ปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม เพื่อบรรเทาทุกข์ประชาชน


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1046 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1382 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1661 | 25/01/2024
8 มาตรการรับมือน้ำหลากช่วงหน้าฝน