พิษโควิด-19! ‘อียู’ อาจใช้มาตรการปกป้องตลาดสินค้าเกษตร

SME Go Inter
16/05/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2109 คน
พิษโควิด-19!  ‘อียู’ อาจใช้มาตรการปกป้องตลาดสินค้าเกษตร
banner

วิกฤตการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทําให้ร้านอาหารต้องปิด ความต้องการไก่จึงน้อยลง อย่างไรก็ดีบริษัทผู้นําเข้าไก่ยังคงนําเข้าไก่จากต่างประเทศ (จากบราซิล ยูเครน และไทย เป็นหลัก) เพื่อไม่ให้เสียสิทธิในระบบโควตาภาษีของอียู และเก็บรักษาไว้ในช่องแข็งจนกว่าร้านอาหารจะเปิดอีกครั้ง ดังนั้นจึงทำให้เกิดสถานการณ์ไก่ล้นตลาด

ในขณะที่สถานการณ์แพร่ระบาดโรคไข้หวัดนกในโปแลนด์ ฮังการี และโรมาเนียทําให้ไก่ของประเทศทั้งสามไม่สามารถส่งออกไปประเทศที่สามได้ และไหลเข้าสู่ตลาดยุโรปด้วย ทําให้วิกฤตยิ่งเลวร้ายลง

ทั้งนี้สถานการณ์ไก่ล้นตลาดทําให้ราคาไก่ลดลงร้อยละ 20 และผู้ผลิตไก่ในยุโรปต้องลดปริมาณการผลิต แต่ประเทศที่สามกลับได้ประโยชน์ ด้วยเหตุดังกล่าว กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ค้าสัตว์ปีกในยุโรปจึงเรียกร้องขอให้ประเทศสมาชิกอียู ลดโควตาการนําเข้าสินค้าไก่เป็นการชั่วคราวไปจนถึงสิ้นปีนี้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


นอกจากนี้ ยังมีสินค้าเกษตรหลายประเภทล้นตลาด เช่น มันฝรั่ง เนื้อสัตว์ นม และดอกไม้ เป็นต้น คณะกรรมาธิการยุโรปแสดงความห่วงกังวลต่อมาตรการหรือท่าทีของสมาชิกอียูบางประเทศ เกี่ยวกับการจํากัดการส่งออกหรือนําเข้าสินค้าเกษตร ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบตลาดเดียวของอียู และอาจขัดต่อกฎหมายการแข่งขันของอียู เช่น กรณีรองนายกรัฐมนตรีบัลกาเรีย เสนอให้จํากัดการนําเข้าสินค้าเกษตรมายังบัลกาเรีย

อย่างไรก็ดีในชั้นนี้การจํากัดการนําเข้าดังกล่าว ยังเป็นเพียงข้อเสนอในส่วนของประเทศอียูอื่นๆ เช่น สาธารณรัฐเช็ก ออสเตรีย กรีซ และเยอรมนี ได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนบริโภคสินค้าเกษตรท้องถิ่น โดยให้เหตุผลทั้งเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรภายในประเทศ และเหตุผลทางด้านข้อกังวลของคณะกรรมาธิการยุโรปตามที่เกี่ยวข้องกับการไหลเวียนสินค้าภายในอียู ซึ่งหากสมาชิกอียูประเทศใดประเทศหนึ่งออกมาตรการจํากัดการนําเข้าสินค้าจากประเทศอียูอื่น ก็อาจขัดต่อระบบตลาดเดียว ซึ่งมีหลักการสําคัญคือการการเคลื่อนย้ายโดยเสรีของสินค้า

สําหรับการค้าระหว่างอียูกับประเทศที่สาม ข้อเรียกร้องของสมาคมผู้ผลิตสินค้าเกษตรต่างๆ อาจกดดันให้อียูต้องพิจารณาหาแนวทางปกป้องตลาดมากขึ้น

สอดคล้องกับคํากล่าวของนาย Phil Hogan กรรมาธิการการค้ายุโรป ในการประชุม INTA เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2563 ซึ่งระบุว่าสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศที่ตกต่ำ สืบเนื่องจากวิกฤตโควิด-19 ทําให้อียูต้องทบทวนนโยบายการค้า รวมถึงการทบทวนเรื่องเครื่องมือปกป้องทางการค้าด้วย

แหล่งที่มา สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ / คณะผู้แทนไทยประจําสหภาพยุโรป 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


COVID-19 ติดมากับโอกาส ‘สินค้าเกษตรไทย’

ผลกระทบจากโควิด-19 ใน ‘อียู’ สะเทือนส่งออกไทย


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6346 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2035 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5076 | 23/10/2022
พิษโควิด-19!  ‘อียู’ อาจใช้มาตรการปกป้องตลาดสินค้าเกษตร