เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้
ที่เทศกาลสงกรานต์ปีนี้ ความคึกคัก สีสันไม่มีให้เห็น บรรยากาศทั้งในกรุงเทพฯ
ต่างจังหวัด เงียบเหงาไม่แตกต่างกัน
เนื่องจากคนส่วนใหญ่ใจจดจ่ออยู่กับการติดตามข้อมูลข่าวสารสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
รวมทั้งต้องระแวดระวังตนเอง คนรอบข้างให้รอดปลอดภัยจากไวรัสร้าย
ประกาศคำสั่งของทางการ อย่างเช่นการห้ามรดน้ำดำหัว การฉีดน้ำ สาดน้ำ ประแป้ง หรือรวมกลุ่มเป็นคนหมู่มาก ไม้เว้นแม้กระทั่งการตักบาตรทำบุญตามธรรมเนียมประเพณี ฯลฯ ป้องกันการแพร่เชื้อโควิดจึงได้ผลเกินคาด ขณะที่การฝ่าฝืนกฎหมายข้อห้ามมีน้อยราย
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
อย่างไรก็ตาม
ไม่ใช่แค่เทศกาลสงกรานต์เท่านั้นที่คนไทยต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดงานจัดกิจกรรมเหมือนกับที่เคยทำตามปกติแต่ในอดีต เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการของรัฐบาล
และพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 กระทรวงวัฒนธรรม
ได้ออกประกาศกระทรวงวัฒนธรรม เรื่องแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเทศกาล ประเพณี
พิธีทางศาสนา ตลอดจนพิธีการต่างๆ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19
เพื่อควบคุมป้องกันการติดเชื้อจากกิจกรรมที่มีการรวมตัวของคนหมู่มาก
ทั้งการจัดงานทำบุญ งานมงคลสมรส งานศพ
การไหวบรรพบุรุษโดยกำหนดข้อห้าม ข้อปฏิบัติ ที่ทุกคนจำเป็นต้องรู้ ดังนี้
1. งดหรือเลื่อนการจัดงานเทศกาล
ประเพณี พิธีทางศาสนา และพิธีการต่างๆ ที่เป็นการรวมตัวของคนจำนวนมาก
2. กรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด
ไม่สามารถงดหรือเลื่อนการจัดงานนั้นๆ ได้ ให้ปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้
2.1ให้ปฏิบัติโดยไม่ขัดต่อประกาศ
คำสั่งและข้อกำหนด
- ประกาศ คำสั่ง และข้อกำหนดที่ออกโดยพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ.2548 พร้อมทั้งมาตรการที่รัฐบาล
และศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 กำหนด
- ประกาศ
หรือคำสั่งที่ออกโดยหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย
- ประกาศ
หรือคำสั่งที่ออกโดยผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร
หรือผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ละจังหวัด
- ประกาศขององค์การทางศาสนาที่ทางราชการให้การรับรอง
หรือหน่วยงานของรัฐที่กำกับ
2.2 แนวทางปฏิบัติทั่วไป
ผู้จัดงาน
1. ต้องแจ้งพนักงานหรือหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคระดับหมู่บ้านหรือชุมชนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร
หรือผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายให้กำกับดูแลในพื้นที่
2. ต้องระบุข้อความบัตรเชิญร่วมงานว่า
“ให้สวมใส่หน้ากากอนามัย รวมทั้งให้นำบัตรประชาชน
หรือบัตรที่ทางราชการออกให้มาด้วย และหากมีอาการป่วน เป็นไข้ ไอ
ให้งดการมาร่วมงานโดยเด็ดขาด”
3. ต้องจัดให้มีจุดคัดกรองและตรวจวัดไข้ผู้เข้าร่วมงาน
หากตรวจพบผู้มีอุณหภูมิเกิน 37.5 องศา แนะนำให้ไปพบแพทย์โดยทันที
4. ต้องจัดให้มีการลงทะเบียน
หรือบันทึกชื่อ นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ พร้อมทั้งบันทึกภาพผู้เข้าร่วมงาน
เพื่อประโยชน์ในการติดตามและเฝ้าระวังโรค
ในกรณีเกิดเหตุการณ์ที่มีผู้ติดเชื่อไวรัสโควิด-19
5. ต้องจัดให้มีแอลกอฮอล์เจลบริเวณจุดทางเข้างาน
ตลอดจนจุดต่างๆ รอบบริเวณงาน และสำรองหน้ากากอนามัยไว้ให้บริการ
6. ต้องทำความสะอาดอุปกรณ์
และพื้นที่ในบริเวรการจัดงาน ที่ผู้เข้าร่วมงานต้องสัมผัสบ่อยๆ หรือใช้รวมกันจำนวนมาก
รวมทั้งพื้นที่โดยรอบการจัดงาน เช่น ราวบันได ลูกบิดประตุ ลิฟต์ ห้องสุขา
7. ต้องใช้ระยะเวลาในการจัดงานให้สั้นที่สุด
8 .ต้องรีบแจ้งและจัดส่งรายชื่อผู้เข้าร่วมงานทั้งหมดต่อกระทรวงสาธารณสุขทันที
หากทราบภายหลังว่ามีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เข้าร่ามงาน
9. งดจัดงานเลี้ยงทุกประเภท
10. งดจัดให้มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
11. งดการแสดง ดนตรี มหรสพ
หรือเต้นรำทุกชนิด
ผู้เข้าร่วมงาน
1. ต้องแต่งกายให้มิดชิด เตรียมอุปกรณ์ป้องกัน
เช่น หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์เจล โดยต้องสวมในหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่อยู่ในงาน
2. ต้องเว้นระยะห่างการนั่งหรือยืนระหว่างบุคคลไม่น้อยกว่า
2 เมตร
3.ต้องปฏิบัติตามหลักสุขอนามัย
ล้างมือบ่อยๆ ด้วยแอลกอฮอล์แจล หรือด้วยน้ำสะอาดและสบู่เหลว
4. ต้องทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจล
หรือล้างน้ำและสบู่ทันทีหลังออกจากงาน รวมทั้งทำความสะอาดอุปกรณ์สื่อสาร
และของใช้ส่วนตัวที่พกติดตัวในงาน เช่น โทรศัพท์มือถือ แทบเล็ต
5. ต้องอาบน้ำชำระล้างร่างกายและเปลี่ยนเครื่องแต่งกายโดยทันทีเมื่อกลับถึงที่พัก
6. งดเข้าร่วมงานหากมีอาการป่วย เช่น
ตัวร้อน ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ปวดเนื้อปวดหัว หายใจเหนื่อยหรือหายใจลำบาก
และให้รีบไปพบแพทย์
7. งดเข้าร่วมงงาน
หากตนเองเดินทางกลับจากต่างประเทศยังไม่ครบ 14 วัน และ/หรือ
สัมผัสกับผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19
8. งดคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ร่วมงานคนอื่นๆ
ที่ไม่มีการป้องกันตนเอง หรือมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค เช่น
ไม่สวมหน้ากากอนามัย หรือมีอาการไอ จาม ในขณะร่วมงาน
2.3 แนวทางปฏิบัติเป็นการเฉพาะ
งานมงคลสมรส
1. ต้องปฏิบัติตามข้อ 2.1 และ 2.2
2. ต้องจำกัดจำนวนคนรดน้ำสังข์ให้น้อยที่สุด
เช่น บิดามารดา ญาติผู้ใหญ่ หรือแขกผู้ใหญ่เท่านั้น
และต้องจัดแถวเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลไม่น้อยกว่า 2 เมตร
3. งดพิธีแห่ขันหมาก
4. งดหรือเลื่อนจัดงานเลี้ยงฉลองทุกประเภท
งานพิธีการศพ
1. ต้องปฏิบัติตามข้อ 2.1 และ 2.2
2. ต้องลดจำนวนวันสวดพระอภิธรรมศพให้น้อยที่สุด
และใช้เวลาสวดให้น้อยที่สุด
3. ต้องจัดอาสนะสงฆ์
ให้มีระยะห่างระหว่างกันไม่น้อยกว่า 1-2 เมตร
4. ต้องจัดเก้าอี้นั่งสำหรับแขกที่มาร่วมฟังสวดอภิธรรม
หรือร่วมฌาปนกิจศพ ให้มีระยะห่างระหว่างกันไม่น้อยกว่า 2 เมตร
5. ต้องจำกัดจำนวนคนร่วมพิธีแห่ศพเวียนเมรุให้น้อยที่สุด
และให้ตั้งแถวตอนลึก ต้องเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลไม่น้อยกว่า 2 เมตร
6. ต้องจัดแถวระยะห่างระหว่างผู้ขึ้นวางดอกไม้จันทน์ไม่น้อยกว่า
2 เมตร
7. ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข
หากเป็นกรณีผู้เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19
8. ต้องปฏิบัติตามประกาศของสำนักจุฬาราชมนตรี หากเป็นกรณีศาสนาอิสลาม ส่วนศาสนาอื่นๆ ให้ปฏิบัติตามประกาศ หรือคำแนะนำขององค์กรทางศาสนานั้นๆ
วันสำคัญทางศาสนาหรืองานบุญ
1. งดการเข้าร่วมกิจกรรม ณ ศาสนสถาน
โดยให้ใช้ช่องทางสื่อออนไลน์แทน เช่น การฟังธรรมะออนไลน์
2. งดการใช้มือหยิบของใส่บาตรพะภิกษุ
ข้อควรปฏิบัติ และข้อห้ามต่างๆ เหล่านี้ อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่รับจัดงานพิธีต่างๆ รวมถึงเจ้าภาพผู้จัดงานเองด้วย ซึ่งต้องศึกษารายละเอียดเหล่านี้และปฏิบัติตามประกาศให้ถูกต้อง