สารพัดกลยุทธ์! เมื่อธุรกิจร้านอาหาร “ต้องรอด” วิกฤตโควิด-19

SME Update
21/04/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 4131 คน
สารพัดกลยุทธ์! เมื่อธุรกิจร้านอาหาร “ต้องรอด” วิกฤตโควิด-19
banner

การรับมือกับโรคอุบัติใหม่อย่างโควิด-19 ซึ่งในหลายประเทศทั่วโลกต้องใช้มาตรการเข้มเพื่อยับยั้งการแพร่กระจาย หนึ่งในมาตรการสำคัญคือการให้อยู่บ้านและปิดพื้นที่ที่คนจำนวนมากอยู่รวมกัน อย่างศูนย์การค้าและงดการรับประทานอาหารในร้าน สถานการณ์นี้ทำให้ร้านอาหารเผชิญกับความยากลำบาก การกู้วิกฤติครั้งนี้จึงกลายเป็น “ความท้าทาย” อย่างมากในการประคองธุรกิจให้อยู่รอดภายใต้วิกฤติครั้งใหญ่นี้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


MK เจ็บเพื่อจบ จัดโปรแรง “ซื้อ 1 แถม1

บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มีปัจจัยเสี่ยงอยู่ที่การมีสาขานอกศูนย์การค้าจำนวนน้อยการปิดพื้นที่ดังกล่าวจึงได้รับผลกระทบมาก ซึ่งการรับมือครั้งนี้ขั้นแรกเอ็มเค มุ่งไปที่การระบายสต็อกซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาหารสดและอาหารสำเร็จรูปที่มีอายุจำกัด ด้วยแคมเปญซื้อ 1 แถม 1 ในอาหารหลายเมนู ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกในรอบ 33 ปีของเอ็มเค ที่ยอมเฉือนเนื้อลงถึง 50%

โดยหันมาจำหน่ายเฉพาะช่องทางออนไลน์อย่าง www.MK1642.com, MK Delivery แน่นอนว่าสินค้าที่สร้างกระแสให้กับแคมเปญนี้เป็นอย่างมากคือ “เป็ดย่างเอ็มเค” เมื่อมีการจัดแคมเปญซื้อ 1 แถม 1 ในวันที่ 25 มีนาคม พบว่ามีคำสั่งซื้อและส่งเป็ดย่างให้ลูกค้ามากกว่า 100,000 จาน

นอกจากนี้เอ็มเคได้เปิดให้บริการใหม่ผ่าน MK FRESH MART ด้วยการจำหน่าย“ผักสด”ภายใต้แนวคิด “พร้อมส่งผักสด ตรงถึงบ้าน” เป็นผักจากโครงการหลวงและไม่คิดค่าส่งเมื่อสั่งครบ 150 บาท มีกำหนดให้บริการประมาณ 30 วันหรือจนกว่าสินค้าจะหมด กรณีนี้สะท้อนให้เห็นได้ว่ากลยุทธ์กระจายความเสี่ยงของเอ็มเคได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

เนื่องจากในปีที่ผ่านมาได้ตัดสินใจร่วมทุนกับเซนโค กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด บริษัทโลจิสติกส์จากญี่ปุ่น ซึ่งเชี่ยวชาญในการขนส่งสินค้าแบบเย็น (Cold Chain) ด้วยรถควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งเป็นรายแรกในไทยที่สามารถให้บริการโลจิสติกส์แบบเย็นได้ครบวงจร ทำให้เอ็มเคมีความได้เปรียบในการจัดการด้านคุณภาพของสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จะเห็นว่าครั้งนี้นอกจากเอ็มเคจะสามารถระบายสินค้าในสต็อกได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะไม่ได้ระดับกำไรเทียบเท่าช่วงเวลาปกติก็เชื่อว่ายังมีกำไร ขณะเดียวกันยังทำให้เห็นว่ากลยุทธ์ที่เลือกใช้นั้นสอดคล้องกับพฤติกรรมเป็นอย่างมาก เพราะทุกคนต้องอยู่บ้าน ต้องกินหรือหันมาทำอาหารกินเองมากขึ้น



ZEN รุดปรับโมเดล “ครัวกลาง” ประคองรายได้

สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ระยะแรก ส่งผลกระทบต่อยอดขายบริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) โดยตัวเลขที่ลดลงถึง 20% เนื่องจากรายได้หลักมาจากสาขาในศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยง ประกอบกับผู้บริโภคจะระมัดระวังเรื่องการใช้จ่ายมากขึ้นเพราะความกังวล ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้การขยายตัวของช่องทางเดลิเวอรีเพิ่มขึ้น 20% ขณะที่ร้านอาหารที่ราคาไม่สูงกลับมียอดขายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

การตีโจทย์ของกลุ่มธุรกิจเซ็นกับภาวะวิกฤตครั้งนี้ สิ่งแรกคือปรับเมนูและโมเดลธุรกิจใหม่ เช่น ปลาดิบได้รับผลกระทบมากที่สุดทำให้ลดครัวเย็นลง ปรับไปเน้นเมนูปรุงสุก ขณะเดียวกันเลือกที่จะปรับโมเดลธุรกิจด้วยการหันมาโฟกัสที่ช่องทางเดลิเวอรี่ ด้วยระบบครัวกลาง โดยปรับพื้นที่ครัวของร้านอาหารในเครือ เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการเดลิเวอรี่ได้อย่างหลากหลาย

เช่น ร้านอาหารญี่ปุ่นเซ็นจะปรับพื้นที่เป็น ‘ครัวกลาง’ ให้กับร้านอาหารต่างๆ ในกลุ่ม ซึ่งเฟสแรกจะปรับ 5 สาขา ได้แก่ สาขาดองกิ มอลล์ ทองหล่อ, สยามสแควร์ วัน, เดอะมอลล์ บางกะปิ, เดอะแจส วังหิน และอาคารออล ซีซั่นส์ หรือครัวเขียงจะเข้าไปแบ่งพื้นที่ครัวตำมั่ว, ครัวมุฉะอยู่ในพื้นที่ครัวเซ็น เป็นต้น เป็นการสลับแบรนด์ร้านอาหารลูกมาอยู่ในครัวแบรนด์หลัก ซึ่งคาดว่าจะช่วยทำให้มีรายได้อีก 5-10%

อย่างไรก็ตามจะยังคงมีการพัฒนาปรับรูปแบบธุรกิจรูปแบบนี้ต่อไปอีก 1-2 ปีรวมถึงการมองโมเดลธุรกิจใหม่ เช่น การขยายเมนูที่เป็นสตรีทฟู้ดอย่างข้าวมันไก่ ที่จะให้บริการร่วมกับร้านเขียง หรือการทำอาหารกล่อง ข้าวปั้น อาหารทำสำเร็จที่จะไปขายตามจุดต่างๆ เพื่อตอบโจทย์พนักงานออฟฟิศที่ไม่มีเวลามาก ซึ่งจะทำคู่กับการเดลิเวอรีในอนาคต



ไมเนอร์ ประกาศยกระดับ “เดลิเวอรี่” ขั้นสูง

ด้านบริษัท ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้นำในตลาดเชนร้านอาหารด้วยร้านอาหารในเครือ 1,430 สาขาทั่วประเทศ ซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ไม่น้อยจากการปิดสาขาชั่วคราวไปแล้วกว่า 500 สาขา ซึ่งเป็นช่องทางที่สร้างยอดขายหลักให้กับไมเนอร์ ทำให้สัดส่วนรายได้ในขณะนี้มาจากที่นั่งกินในร้านเหลือ 0% เดลิเวอรี่เพิ่มเข้ามาเป็น 70% และซื้อกลับบ้านมาเป็น 30% ส่วนบริการไดรฟ์ทรูของจากเบอร์เกอร์คิงเติบโตกว่า 2 เท่าตัว

การปรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่สะท้อนจากรายได้ในแต่ละช่องทาง ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ทำให้ไมเนอร์ต้องปรับกลยุทธ์ไปในทิศทางที่สอดคล้อง  เช่น ขยายระยะเวลาให้บริการสำหรับร้านที่ไม่อยู่ในศูนย์การค้า เช่น เดอะ พิซซ่า คอมปานี และเบอเกอร์คิง จากเดิมเริ่มส่งอาหารเวลา 10.00 น. ได้ขยับมาเป็น 08.00 น. และส่งจนถึง 21.00 โดยจะรับผิดชอบค่าส่งแทนผู้บริโภค 50 บาท เมื่อสั่งผ่านแอปพลิเคชั่น

สำหรับไมเนอร์ฯ จัดเป็นเชนร้านอาหารที่มีความหลากหลายด้านช่องทางจัดจำหน่ายสูง ทำให้ในสถานการณ์นี้ยิ่งต้องพยายามนำจุดแข็งที่มีมาใช้ประโยชน์สูงสุด โดยการปรับระบบการให้บริการจากเดิมที่แยกเป็นรายแบรนด์ แต่ปัจจุบันนี้จะสามารถใช้บริการรับคำสั่งซื้อและให้เดลิเวอรี่ได้เช่นเดียวกันทั้งหมด เพื่อเพิ่มความสะดวกและเพิ่มโอกาสในการขาย



KFC ย้ำความมั่นใจด้วย “Contactless Delivery”

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เคเอฟซีมีตัวเลขผู้ใช้บริการผ่านช่องทางเดลิเวอรี เพิ่มสูงขึ้น 50% และบริการไดรฟ์ทรูเพิ่มขึ้น 20%สะท้อนถึงความต้องการสั่งอาหารไปรับประทานที่บ้านเพิ่มขึ้น หากเทียบกับช่วงปกติ ส่งผลให้สำหรับเคเอฟซี เลือกที่จะให้ความสำคัญกับมาตรการทางสังคมเพื่อสร้างมั่นใจในการใช้บริการ

เริ่มการหนุนแนวคิดเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distance) ด้วยบริการใหม่ “Contactless Delivery” หรือ “บริการส่งอาหารแบบไร้สัมผัส” เพื่อให้มั่นใจว่าการจัดส่งนั้นๆ จะช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อที่เกิดจากการสัมผัส ทั้งจากการสัมผัสเงินและการสัมผัสมือ

ผ่าน 3 ขั้นตอนดังนี้ การสั่ง-สั่งผ่านเว็บไซต์ kfc.co.th หรือ แอปพลิเคชัน KFC Thailand เพื่อเลือกและสั่งเมนูตามต้องการ ใช้บริการ Contactless ชำระเงินด้วยบัตรเครดิต หรือ Rabbit Line Pay  จากนั้นจะทำการบรรจุสินค้า ด้วยพนักงานผู้ดูแลออร์เดอร์เป็นคนจัดอาหาร บรรจุ และตรวจคุณภาพอาหารก่อนผูกมัดถุง และนำอาหารจัดใส่กระเป๋าขนส่งของการจัดส่ง ขั้นตอนการส่งพนักงานส่งเดินทางไปยังจุดหมาย โทรหาลูกค้า โดยลูกค้าหยิบถุงบรรจุอาหารออกจากกระเป๋าจัดส่งเองและเว้นระยะห่างในการยืนรอ

นอกจากนี้เคเอฟซี เลือกนำแคมเปญรณรงค์ให้ประชาชนอยู่ในที่ตั้งเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อและติดเชื้อจากภายนอก ผ่านข้อความรณรงค์ให้กำลังใจคนไทย “อยู่บ้าน ยิ้มเข้าไว้ เคเอฟซียังอยู่คอยให้บริการ” ด้วยภาพพนักงานเคเอฟซีจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศที่ร่วมส่งกำลังในให้คนไทยและยืนยันว่าจะอยู่ให้บริการเปิดให้บริการร้านเคเอฟซี บริการเดลิเวอร์รี่ และไดร์ฟทรู ทั่วประเทศ ในทุกจังหวัดที่ได้รับอนุญาตในการให้บริการ ปัจจุบันเคเอฟซีเปิดให้บริการทั้งสิ้น 810 สาขา ใน 73 จังหวัด โดยมีบริการเดลิเวอรีรวมกว่า 600 สาขา และไดรฟ์ทรูอีก 94 สาขา

 

เห็นได้ชัดว่าแม้แต่ธุรกิจอาหารรายใหญ่ต่างได้รับผลกระทบหนักจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 จนต้องมีการปรับกลยุทธ์ขนาดใหญ่ เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์และพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันที่ต้องกักตัวอยู่บ้าน

เพราะแม้ว่า อาหาร จะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีพ แต่ด้วยข้อจำกัดต่างๆ ในปัจจุบัน ทำให้รายใหญ่ รายย่อยต่าง ขยับ เพื่อทางทางรอด โดยการใช้กลยุทธ์ออนไลน์ที่ต้องใกล้ชิดและง่ายต่อผู้บริโภคมากที่สุด ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้านธุรกิจอาหารสามารถนำไปปรับใช้ตามความเหมาะสมได้ 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


กำลงซื้อซึม! สัญญาณชีพ “ค้าปลีก” จากวิกฤตโควิด 

อุดช่องโหว่! กรณีน่าศึกษาจากร้านอาหารแบบ QUICK FOOD


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1198 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1561 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1846 | 25/01/2024
สารพัดกลยุทธ์! เมื่อธุรกิจร้านอาหาร “ต้องรอด” วิกฤตโควิด-19