10 เรื่องต้องรู้เพื่อเอาตัวให้อยู่รอดปลอดจากโควิด-19
หลังมีการปกปิดข้อมูลจากบุคคลที่กลับมาจากการเดินทางในประเทศเสี่ยง
จนเกิดการแพร่ระบาดในประเทศไทยบานปลาย และคาดว่าจะมีผู้คนเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการปกปิดข้อมูลในครั้งนี้กว่าสองพันคน
นอกจากนี้ยังมีข่าวคนไทยเพศชาย อายุ 35 ปี ทำงานขายสินค้า ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19และร่วมกับไข้เลือดออกแทรกซ้อน
เสียชีวิตเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา ยิ่งทำให้คนไทยอกสั่นขวัญผวา หวาดกลัวโรคนี้กันมากขึ้น จนไม่กล้าออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านหรือในที่ที่มีคนพลุกพล่านเหมือนในยามปกติ
ในรายที่เลี่ยงไม่ได้ยังมีความจำเป็นต้องเดินทางออกนอกบ้านไปทำงาน ติดต่อธุรกรรมทำกิจธุระ ยิ่งต้องทำความเข้าใจให้มากว่าเจ้าเชื้อโควิด-19 นี้ติดต่อผ่านช่องทางไหนและควรป้องกันตัวเองอย่างไรให้อยู่รอดปลอดภัยจากการติดเชื้อ ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เริ่มลุกลามใหญ่โต จากตัวเชื้อเองที่สังเกตอาการได้ยาก กว่าจะแสดงอาการก็ต้องใช้ระยะเวลาถึง 14 วัน จึงทำให้ผู้ที่ได้รับเชื้อไม่รู้ตัว และสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้โดยไม่เจตนา
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
ทำความเข้าใจกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
ซึ่งเชื้อไวรัสโควิด หรือ โคโรนา มีต้นต่อมาจากสัตว์ป่าที่ติดต่อสู่คนแบบ
Droplet นั่นคือ
เชื้อติดต่อส่งผ่านได้ทางการสัมผัสสารคัดหลั่งที่ออกมาจากร่างกายของผู้ป่วย เช่น
น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ อุจาระ ปัสสาวะ เหงื่อไคล น้ำตา แล้วเดินผ่านเข้าทางรูเปิดธรรมชาติอย่าง
ตา จมูก ปากของร่างกายคนปกติ จึงไม่แพร่กระจายในระบบทางเดินลมหายใจ(Airborne)
เชื้อไวรัสโควิด-19 มีอายุอยู่ในสภาพแวดล้อมได้นานขนาดไหน
นพ.พิเชฐ บัญญัติ
รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ระบุว่า
ตามปกติไวรัสต้องอยู่ในเซลล์ร่างกายคนหรือสัตว์ แต่หากอยู่ในสภาพแวดล้อมนอกร่างกายคนมันจะบอบบางและอ่อนแอลง
รวมถึงไวรัสโควิด-19 หากลอยอยู่ในอากาศ เป็นน้ำมูก เสมหะ น้ำลาย
น้ำตา จะมีชีวิตอยู่ได้นาน 5 นาที หากอยู่บนพื้น โต๊ะ ลูกบิดประตู
จะมีชีวิตอยู่ได้ 7-8 ชั่วโมง ถ้าติดอยู่ในส่วนของผ้าหรือทิชชู จะอยู่ได้ 8-12
ชั่วโมง หากอยู่บนโต๊ะพื้นเรียบ อยู่ได้ 24-48 ชั่วโมง หากอยู่ในน้ำ จะอยู่ได้นาน
4 วัน และถ้อยู่ในสภาพที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียสหรือในตู้เย็น จะมีชีวิตอยู่ได้นาน
1 เดือน
จากความสามารถในการมีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมของเชื้อไวรัสโควิด-19 นี่เอง จึงทำให้เกิดการแพร่ระบาดได้ในวงกว้างภายในเวลาไม่นาน โดยส่วนใหญ่ผู้ที่รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายมักได้รับมาจากการเอามือไปสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ แล้วนำมาป้วนเปี้ยนใกล้บริเวณช่องเปิดตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น ตา จมูก ปาก ของตัวเอง ซึ่งเรื่องนี้เพิ่มความน่าหวั่นเกรงเข้าไปอีก เมื่อมีกระแสข่าวปล่อยออกมาว่ามีคนกลุ่มหนึ่งทั้งชายหญิงมีความพยายามในการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด-19 ผ่านการถมน้ำลายตามที่สาธารณะ เช่น ลิฟท์ ประตูวัด ราวห้อย โหน จับ ฯลฯ ดังนั้นนี่จึงเป็นเทคนิคเลี่ยง-รู้ เพื่อเอาตัวให้อยู่รอด ปลอดจากโควิด-19
10เรื่องต้องรู้ เพื่อเอาตัวให้อยู่รอด ปลอดจากโควิด-19
1. ใส่ใจมือไม้และระมัดระวังการสัมผัสสิ่งของในที่สาธารณะเป็นพิเศษ
สืบเนื่องจากมือเป็นเหตุชักนำเอาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
ดังนั้นการโฟกัสอยู่กับมือของตัวเองในทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะหยิบ จับ ทำอะไร
ในที่สาธารณะทั่วไปจึงเป็นเรื่องที่ควรทำ ในสภาวะที่หน้ากากอนามัยขาดตลาด
ผลิตได้ไม่พอใช้ และมีคนค้าขายเอากำไรบนความทุกข์ใจของผู้คน การวางมือ ป้องกัน
ไว้ไม่ให้ซุกซน จึงเป็นหนทางเซฟตัวเองในขั้นแรก
2. ล้างมือให้สะอาดครบทุกกระบวนท่า ล้างมือบ่อยๆ
ทุกครั้งที่มีการสัมผัสพื้นผิวใดๆ จามที่สาธารณะด้วยสบู่ เจลฆ่าเชื้อ หรือ แอลกอฮอล์
ทุกครั้งหลังการสัมผัสข้าวของในที่สถานะหรือในสถานที่ไม่รู้จัก
โดยการล้างมือที่ดีจะต้องล้างทั้งในส่วนง่ามนิ้วมือจรดปลายนิ้วทุกนิ้ว ด้านหน้าฝ่ามือ
ด้านหลังฝ่ามือหลังมือ ง่ามนิ้วโป้ง ข้อมือทั้งสองข้าง
ตลอดจนถึงขัดถูเครื่องประดับที่สวมใส่บนมือ ทั้งในส่วนของกำไร หรือแหวนทุกชิ้น
เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อโรค
เรื่องนี้ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑาหัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สภากาชาดไทย กล่าวว่า ในการศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนพบว่า มีแนวโน้มที่จะมีการเอามือสัมผัสหน้าตัวเองเฉลี่ย 23 ครั้งต่อชั่วโมง โดยสัมผัสที่ผิวหน้า 56 % ตามด้วยปาก 36% และ ตา 31% นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญว่าทำไมต้องทำความสะอาดมือบ่อยๆ
3. พกพาแอลกอฮอล์ความเข้มข้น 70%.ติดตัวไปด้วยทุกครั้ง ดร.นพ.พลวัฒน์ ติ่งเพ็ชร สาขาวิชาจุลชีววิทยาและภูมิคุ้มกันวิทยา
สถานวิทยาศาสตร์พรีคลินิกคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า
จากการทดลองในต่างประเทศ พบว่าต้องใช้แอลกอฮอล์เข้มข้นเกิน 70% เชื้อถึงจะตาย
ขณะที่เอทานอล (Ethanol) ต้องมีความเข้มข้น
70-95% เชื้อถึงจะตาย ฉะนั้นต้องกลับไปดูเจลล้างมือที่เราใช้ว่าเอทานอลเข้มข้นเท่าใด
ถ้าเพียงแค่ 50% หรือ 65% คงไม่พอ เชื้อไม่ตาย ดังนั้นการพกพาแอลกอฮอล์ชนิดล้างแผลสีฟ้าๆ
ใส่ขวดสเปย์ขนาดพกพาติดตัวออกจากบ้าน จึงเป็นการพกพาตัวช่วยฆ่าเชื้อโรค
ไว้ใช้ฉีดเสเปย์ฆ่าเชื้อทำความสะอาดสิ่งต่างๆ ก่อนใช้มือสัมผัส หากจำเป็นต้องจับราว โหน ห้อย
ใช้เก้าอี้ กดปุ่มลิฟท์ หรือ หายใจในอากาศร่วมกับกลุ่มคนที่พลุกพล่าน ก็จะมีเกราะป้องกันเบื้องต้นที่ช่วยให้ห่างไกลจากเชื้อไวรัสโควิด–19
ได้
4. สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อต้องออกจากบ้านหรืออยู่ในที่พลุกพล่าน
หน้ากากอนามัยเป็นสิ่งที่จำเป็นและหายากมากในช่วงเวลานี้
เมื่อไหร่ที่ต้องออกจากบ้าน หรือต้องสงสัยว่าตัวเองเสี่ยงจะติดเชื้อโควิด-19 ควรใส่ปิดหน้าไว้ หากเป็นผู้ป่วยควรใช้หน้ากากอนามัยเป็นประจำ
ตามเหตุผลที่กล่าวอ้างมาแล้วข้างต้น ในคนปกติแข็งแรงดี หน้ากากผ้าธรรมดาก็สามารถช่วยป้องกันได้ในระดับหนึ่ง
5. หลีกเลี่ยงการใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสถานที่คนพลุกพล่าน
สถานที่ประชุมชนแหล่งผู้คนพลุกพล่าน
ในสถานการณ์แบบนี้ควรเลี่ยงการเดินทางไปทำธุรกรรมใดๆ ตามแหล่งชุมชน
เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย
6. ทานอาหารปรุงสุกเสร็จใหม่เท่านั้น คำแนะนำจากองค์การอนามัยโลก(WHO) ระบุว่าเชื้อไวรัสโควิด-19
ไม่ทนความร้อนและถูกทำลายได้ในอุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ดังนั้น
(1)
ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารจากสัตว์ที่ดิบหรือปรุงไม่สุก
(2) จัดการกับเนื้อสัตว์ดิบ นมดิบ
หรืออวัยวะของสัตว์ด้วยความระมัดระวัง เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเข้าสู่ผลิตภัณฑ์อาหารที่รับประทานสดโดยระบุว่า เชื้อไวรัส COVID-19 ไม่ทนความร้อน และถูกทำลายได้ด้วยวิธีการประกอบอาหารที่อุณหภูมิ 70
องศาเซลเซียส
การดูแลตัวเองในช่วงนี้จึงควรเลือกทานอาหารที่ปรุงสุก
เสร็จใหม่ เสิร์ฟจากเตาร้อนๆ
จะช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อที่อาจปนเปื้อนติดอยู่กับอาหารหรืออากาศในสภาพแวดล้อมได้
เพราะเมื่อเชื้อไว้รัสโควิด-19 ยึดติดอยู่กับพื้นผิววัตถุใดๆ ก็ตามในอุณหภูมิห้องปกติ
มันจะสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 9 วัน
และยังมีฤทธิ์สามารถแพร่เชื้อต่อได้
7. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอตามชั่วโมงที่ร่างกายต้องการใช้พักฟื้น
หลังจากการกรำงานหนักมาทั้งวันนานต่อเนื่อง 7-9 ชั่วโมงต่อคืน เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้เลี่ยงการติดเชื้อ
ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเมื่อไหร่ที่ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ
จะทำให้ป่วยและรับเชื้อได้ง่าย แม้แต่หวัดธรรมดาก็โจมตีร่างกายได้สบายๆ
แล้วจะรอดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไปได้อย่างไร หากไม่ใส่ใจเรื่องการนอน่ายๆ
ให้ดีในขณะนี้
8. หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้อื่น ในช่วงขณะเวลาที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 วลีที่ว่า “รู้หน้าไม่รู้ใจ” อาจยังไม่พอ
เพราะต่อให้รู้หน้า รู้ใจก็อาจจะไม่ปลอดภัยจากการติดเชื้อได้ หากไม่ทราบถึงวิถีชีวิต
กิจกรรม หรือสถานที่ที่คนๆ หนึ่งทำอยู่ ก็ควรเลี่ยงการใช้ข้าวของร่วมกับผู้อื่น
ไม่ว่าจะเป็น เพื่อน ญาติพี่น้อง หรือ เพื่อนร่วมงาน
ก็ควรเลี่ยงไว้และท่องเอาไว้ว่า ผู้ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการของโรคภายใน 14 วันแรก และ เชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถมีชีวิตอยู่ได้ตามพื้นผิววัตถุได้นาน
9 วัน ดังนั้นการใช้ของร่วมกันในช่วงนี้จึงไม่ควร
9. หมั่นออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรง การออกกำลังกายเป็นหนทางต้านโรคร้ายได้หลายโรค
แม้แต่มะเร็งยังห่างไกลคนที่ชอบออกกำลังกาย กับเชื้อไวรัสโควิด-19 การออกกำลังกายก็ช่วยต้านได้ไม่แพ้กัน
เพราะการออกกำลังกายเป็นประจำทำให้หัวใจ อวัยวะภายในและปอดแข็งแรงขึ้น
การออกกำลังกายทำให้ปอดรับออกซิเจน และขับคาร์บอนไดออกไซน์ออกจากปอด
หากออกนอกบ้านไม่ได้ให้ใช้วิธีขยับตัวอยู่ในบ้าน ฝึกสูกลมหายใจเข้าออกลึกๆ
กลั้นลมหายใจไว้ 10 วินาที อย่างน้อยวันละ 10 ครั้ง
จะทำให้ปอดขยายและแข็งแรง หากปอดและร่างกายแข็งแรง ก็จะเป็นตัวช่วยต้านการติดเชื้อไวรัสโควิด-19
ได้ ด้วยโรคนี้จะเข้าโจมตีปอดของคนเราเป็นหลัก และกัดแทะเหมือนปลวกจนปอดย่ำแย่
นอกจากนี้หากร่างกายแข็งแรงดี มีภูมิคุ้มกันมากพอ การติดเชื้อก็จะสามารถรักษาให้หายได้ทันภายในเวลาไม่นาน
และไม่มีอาการย่ำแย่
10. หากมีอาการ ไข้ ไอ จาม หรือป่วยด้วยโรคระบบทางเดินลมหายใจ รีบปรึกษาแพทย์ด่วน อาการไอ จาม หวัด นั้นมีตามปกติทั่วไป แต่ไม่ควรชะล่าใจหากพบอาการเหล่านี้ในช่วงเวลานี้ เพราะการปล่อยให้เป็นเรื้อรังไม่รักษาให้หายขาดอาจเกิดภาวะเสี่ยง หากวันหนึ่งเลี่ยงการรับเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่ได้ ก็อาจกลายเป็นอาการทรุดหนักด้วย เนื่องจากร่างกายโดนโจมตีจากเชื้อโรคหลายตัว ดังนั้นการไปหาหมอนอกจากจะเป็นการเช็คร่างกายให้แน่ใจว่าไม่เสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้ว ยังเป็นการลดความเสี่ยงให้ร่างกายได้อยู่รอดปลอดภัยดีท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ด้วย
ทั้งหมดนี้เป็นคำแนะนำที่จะทำให้ใช้ชีวิตได้อยู่รอดปลอดภัย
ท่ามกลางสถานการณ์ของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยที่กำลังอยู่ในระยะที่ 2 และคาดว่ากำลังจะเข้าสู่ระยะที่
3 ในอีกไม่นาน โดสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19
แบ่งออกเป็น 3 ระยะ (ประเทศไทยอยู่ในระยะที่ 2)
ระยะ 1 :
ผู้เดินทางจากประเทศที่มีการแพร่ระบาดเดินทางเข้ามาในประเทศไทย
และล้มป่วยลงด้วยโรคโควิด-19 ซึ่งในระยะนี้ทางภาครัฐจะทำการคัดกรองที่สนามบิน
เพื่อตรวจหาผู้ป่วยที่มีเกณฑ์ติดเชื้อ แต่เจ้าหน้าที่จะไม่สามารถคัดกรองได้ทั้งหมด
100%
ระยะที่ 2 :
เมื่อผู้เดินทางบางรายติดเชื้อมาแล้ว แต่ไม่แสดงอาการในช่วงแรก
จนสามารถผ่านจุดคัดกรองที่สนามบินมาได้ จากนั้นผู้เดินทางได้แพร่เชื้อให้กับคนไทย
เช่น แท็กซี่, ไกด์, พนักงานภาคบริการประเภทต่างๆ
ระยะที่ 3 : เมื่อทางภาครัฐพบว่า
มีผู้ป่วยติดเชื้อภายในประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มที่เพิ่มจำนวนขึ้นนี้
ไม่ได้มีประวัติเดินทางไปในประเทศกลุ่มเสี่ยง และไม่สามารถสืบค้นได้ว่า ผู้ป่วยติดเชื้อมาจากใคร
แหล่งอ้างอิง :
https://www.thaihealth.or.th/Content/51317
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2006903
https://www.tnnthailand.com/content/30167