โคเนื้อ-โคขุน โอกาสปศุสัตว์ไทยรุก AEC

SME in Focus
27/06/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 16006 คน
โคเนื้อ-โคขุน โอกาสปศุสัตว์ไทยรุก AEC
banner

ปี 2561 อุตสาหกรรมเลี้ยง โคเนื้อ โคขุน ได้กลายเป็นอุตสาหกรรมการเกษตรขนาดใหญ่ในประเทศไทยและจะเป็นอีกอุตสาหกรรมช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเติบโตเพราะความต้องการผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)หลังผนึกรวมกันมาตั้งแต่เมื่อปี 2558 ทำให้มีประชากร 10 ประเทศ รวมกันทั้งหมดกว่า 640 ล้านคน

ปัจจุบันเกษตรกรผลิตโคเนื้อ โคขุน ไม่ทันต่อความต้องการของตลาด นับเป็นโอกาสของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ โคขุน รายใหม่สามารถยึดเป็นอาชีพมั่นคงได้  โดยปีที่ผ่านมาเกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อ โคขุน ทั่วประเทศ มีความสามารถผลิตได้เพียงแค่ 5 ล้านตัว คิดเป็นมูลค่าเงินหมุนเวียนกว่า 60,000-70,000  ล้านบาทต่อปี ที่ผ่านมารัฐพยายามเดินหน้าสานต่อนโยบายมุ่งเน้นส่งเสริมให้เกษตรกรไทยยึดอาชีพดังกล่าวเป็นอาชีพหลักเพราะสร้างรายได้มั่นคง นอกเหนือจากทำไร่ทำนา เพราะเลี้ยงโคเนื้อ โคขุน ไม่เพียงแต่ตลาดภายในประเทศเท่านั้นที่ต้องการบริโภคไม่ต่ำกว่า 1 ล้านตัว แต่ตลาดต่างประเทศมีความต้องการบริโภคอีกหลายเท่าตัว

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme 

ก่อนหน้านี้ตลาดหลักโคเนื้อ โคขุนของไทย คือ จีน และ เวียดนาม แต่ภายหลังจากเปิดเออีซี ทำให้ตลาดโคเนื้อ โคขุน มีความต้องการมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศอินโดนีเซีย และ มาเลเซีย ซึ่งเป็นตลาดใหญ่มีกำลังซื้อสูง เพราะประเทศดังกล่าวล้วนเป็นชาวมุสลิมนิยมบริโภคเนื้อวัวเป็นหลัก ทำให้อุตสาหกรรมเลี้ยงโคเนื้อ โคขุน ของไทย จะกลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญและเติบโตยั่งยืนหากทำเป็นอาชีพอย่างจริงจัง เพราะตราบใดที่ประชากรอาเซียนและเอเชียยังบริโภคเนื้อสัตว์ อุตสาหกรรมนี้ก็ยังเติบโตตามสภาวะความต้องการตลาด

จะเห็นได้ว่าเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ราคาโคเนื้อ โคขุน อยู่ที่ 130-150 บาทต่อกิโลกรัม แต่ปี 2561 ราคาพุ่งขึ้นอยู่ที่ 250-320 บาทต่อกิโลกรัม และมีแนวโน้มราคาพุ่งทะลุกว่า 400 บาทต่อกิโลกรัมเนื่องจากปัจจุบันโคเนื้อ โคขุน กำลังขาดตลาด


โคเนื้อ โคขุน สร้างความยั่งยืนเกษตรกรไทย

ด้วยเหตุนี้อนาคตเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ โคขุน จะสร้างรายได้มั่นคงยั่งยืนแน่นอน เป็นการยืนยันจากปาก นายสุรชัย เปี่ยมคล้า ผู้จัดการสหกรณ์โคเนื้อกำแพงแสน จ.นครปฐม ในฐานะเลขาธิการสมาคมโคเนื้อแห่งประเทศไทย ว่านี่ไม่ใช่ความฝันแต่เป็นเรื่องจริง ไม่เพียงแต่ตลาดจีนและเวียดนามต้องการเป็นจำนวนมากเท่านั้น ตลาดกลุ่มอาเซียน หรือ เอเชีย ก็มีความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ไม่น้อยกว่ากัน ทำให้ปัจจุบันความต้องการเป็นจำนวนมาก อีกทั้งทุกวันนี้ มีร้านอาหารญี่ปุ่นและเกาหลี ซึ่งเป็นร้านอาหารประเภทปิ้งย่างขยายสาขาครอบครับทั่วอาเซียนและเอเชีย ยิ่งทำให้ความต้องการเนื้อสัตว์เลิศรสเพื่อบริการลูกค้าตลอดทั้งปี

“นี่คือโอกาสของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ โคขุน ที่จะเร่งสร้างผลผลิตตอบสนองความต้องการของตลาด แต่จุดด้อยของเกษตรกรไทยเมื่อเลี้ยงโคเนื้อ โคขุน จำนวนมากสู่ท้องตลาด กลายเป็นการฉวยโอกาสของพ่อค้าคนกลางกดดราคาซื้อ อ้างสารพัดสินค้าล้นตลาด ไม่ได้มาตรฐานบ้าง ส่วนนี้อยากให้รัฐเข้าไปดูแลเป็นพิเศษ กำหนดยุทธ์ศาสตร์การขับเคลื่อนอย่างแท้จริง ตลาดโคเนื้อ โคขุน ของไทยจะสร้างรายได้มูลค่ามหาศาลต่อปี หากได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างจริงจังและชัดเจน เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ โคขุน สามารถยึดอาชีพสร้างรายได้เป็นร่ำเป็นสันได้” นายสุรชัย กล่าว

สอดคล้องกับ นายธงชัย วังวงษ์ ประธานกรรมการสหกรณ์การเกษตรหนองสูง อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร เห็นด้วยกับแนวคิดของนายสุรชัย  หากรัฐส่งเสริมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ โคนม ด้วยการพัฒนาต่อยอดเป็นอาชีพอย่างจริงจัง  ยกตัวอย่างภายใน 4 ปีข้างหน้า  หากเกษตรกรายหนึ่งที่เลี้ยงโคขุนจำนวน 10 ตัว จะมีรายได้ประมาณ 1.2 ล้านบาทต่อปี ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงแม่โคจำนวน 5 ตัว เพื่อผลิตลูกโคเนื้อ โคขุนจำหน่าย จากเดิมมีรายได้ 142,000 บาทต่อปี ก็จะมีรายได้ขึ้นเป็น 165,000 บาทต่อปี

“ที่ผ่านมาเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนจ.มุกดาหาร ประสบความสำเร็จ ส่วนใหญ่ล้วนได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ทำให้เกษตรกรสามารถลืมตาอ้าปากได้และสร้างอาชีพยั่งยืนให้กับชาวบ้าน โดยภายในปี 2565 กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนตั้งเป้าพัฒนาระบบการเลี้ยงให้ได้มาตรฐานสากล ตั้งเป้าส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 300 ล้านบาท เป็น 500 ล้านบาทต่อปี” นายธงชัย กล่าว

ด้านนายฤชัย วงศ์สุวัตย์ ประธานกรรมการ สหกรณ์โคเนื้อพัทลุง  กล่าวว่า กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ประกอบด้วย สุราษฎร์ธานี พัทลุง ชุมพร และ นครศรีธรรมราช ได้ร่วมมือกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี พัฒนาคุณภาพการแปรรูปเนื้อโคภายใต้แบรนด์ "โคขุนศรีวิชัย" ซึ่งได้เริ่มส่งผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดเมื่อปีที่ผ่าน กระแสตอบรับจากผู้บริโภคดีเกินคาด โดยเฉพาะกลุ่มชาวมุสลิมทั่วโลกนิยมบริโภคโคเนื้อโคขุน ดังนั้นชื่อมั่นได้เลยว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ โคขุน จะกลายเป็นเศรษฐีในอนาคต

ขณะที่กรมปสุตว์รายงานระบุว่า มูลค่าของตลาดโคเนื้อ โคขุน ในประเทศไทยมีมูลค่าสูงถึง 41,810 ล้านบาทต่อปี จำแนกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

1.กลุ่มตลาดระดับบน (เนื้อโคขุนที่มีไขมันแทรก) 1 % จำนวน 12,000 ตัวต่อปี ซึ่งมีอัตราการเติบโตความต้องการสูงถึงร้อยละ 10

2.กลุ่มตลาดระดับกลาง (เนื้อแดง) 40 % จำนวน 500,000 ตัวต่อปีซึ่งมีอัตราการเติบโตความต้องการน้อยมากเพียงแค่ร้อยละ 0.1

3.กลุ่มตลาดระดับล่าง (เศษเนื้อ ลูกชิ้น) 59 % จำนวน 740,000 ตัวต่อปี ซึ่งมีอัตราการเติบโตความต้องการน้อยมากเพียงแค่ร้อยละ 0.1 


เลี้ยงโคเนื้อ โคขุน 2 ปีปลดหนี้

หลังจาก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์ ร่วมกับสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมชลประทาน และจ.สระแก้ว จัดทำโครงการ โคบาลบูรพา เพื่อช่วยฟื้นฟูเกษตรกร ในพื้นที่ประสบภัยแล้ง โดยเปลี่ยนจากการปลูกพืชในพื้นที่ไม่เหมาะสมไปเลี้ยงปศุสัตว์ ส่งเสริมปศุสัตว์ให้เกษตรกร ในพื้นที่ ส.ป.ก. ที่ยึดคืน ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่มีศักยภาพในการเลี้ยงสัตว์  โดยมีเป้าหมายพัฒนาให้จ.สระแก้ว เป็นเมืองแห่งปศุสัตว์ เนื่องจากลักษณะพื้นที่เหมาะสม เป็นเขตเศรษฐกิจชายแดน เชื่อมต่อกับประเทศกัมพูชา มีศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมโคเนื้ออย่างครบวงจร ลดการนำเข้าเนื้อสัตว์ โดยเริ่ม ตั้งแต่ปี 2560-2565 และได้ดำเนินการแล้ว 3 อำเภอ คือ วัฒนานคร โคกสูง และอรัญประเทศ

นายพรม วระจันทร์ สมาชิกสหกรณ์ โคบาลบูรพา วัฒนานคร กล่าวว่า รัฐได้ลงมาช่วยเกษตรกร ทำได้ถูกวิธีแล้ว เนื่องจากพื้นที่ อ.วัฒนานคร ส่วนมากเป็นที่สูง ทำนาได้ผลเพียง 40 % ไม่มีเงินเก็บ ถ้าเลี้ยง ออกลูก เป็นตัวเมียเขาก็ไม่ขาย ถ้าเป็นตัวเมีย 20 ตัว ลูกออกมากอีก 20 ตัว เป็น 40 ตัว สามารถทำเงินได้ถึงปีละ 200,000 – 300,000 บาท และเกษตรกรก็ไม่ได้ไปลงทุนอะไรมากมาย เพราะสามารถนำสัตวร์เลี้ยงไปเลี้ยงตามทุ่งสาธารณะทั่วไป ดีกว่าทำไร่ ทำนาแต่ละปีต้องลุ้นกันว่าราคาจะแพงขึ้นหรือตกต่ำ แต่หากเลี้ยงโคเนื้อ โคขุน มีแต่กำไร แถมมูลเต็มคอกสามารถนำไปขายสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง

“ตอนแรกก็คิดว่า โครงการนี้จะไปรอดหรือ แต่เมื่อได้เข้าโครงการ ตอนนี้ก็มีวัวตัวเมีย 15 ตัวแล้ว ปีนี้ก็คาดว่าได้วัว 30 ตัว ตัวเมียก็เอาไว้ทำพันธ์ ตัวผู้ก็เอาไว้ขุน ขึ้นปีที่ 3 ก็เห็นเป็นรูปธรรมแล้ว เอามูลวัวไปทำปุ๋ย เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยถึง 30 % ดังนั้นการที่เขาลดต้นทุน การที่เขาไม่ใช้เงิน คือเขาได้เงิน ตอนแรกก็อาจลำบากเพราะต้องคืนโครงการ ต่อไปก็จะสบายขึ้น ตอนนี้เราเพิ่งจะเริ่มต้น วัวมีจำนวนน้อย ไม่พอกับผู้บริโภค

สำหรับที่บ้านนางามจะมีพื้นที่สาธารณะประโยชน์ เกือบ 3,000 ไร่ ใช้เลี้ยงวัวได้ไม่เดือดร้อน และในอีก ปี 2 ปี ชาวโคบาลจะสบายแล้ว เกษตรกรจะสามารถเลี้ยงตัวเองได้สามารถปลดหนี้ได้ภายใน 2 ปีได้ไม่ยาก เพราะตลาดโคเนื้อ โคขุน ขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว เพราะมีราคาสูงกว่าเนื้อหมู และเนื้อไก่หลายเท่าตัว แต่การบริโภคในประเทศและต่างประเทศยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง แต่ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความ


โอกาส และอุปสรรคของโคเนื้อไทย

น.ส.มนิสา นวลเต็ม นักวิชาการพาณิชย์ปฏิบัติการ สำนักงานนโยบาย และยุทธศาสตร์การค้า กล่าวว่า ปัจจุบันไทยมีพ่อแม่พันธุ์โคเนื้อชั้นดีอยู่ในประเทศเป็นจานวนมากพอสมควร ที่สำคัญการเลี้ยงดูพ่อแม่พันธุ์โคเนื้อชั้นดีของไทย เป็นไปตามมาตรฐานฟาร์มโคเนื้อของกรมปศุสัตว์ นอกจากนี้ ไทยยังมีทั้งเทคโนโลยีการเลี้ยง และการปรับปรุงพันธุ์ที่มีศักยภาพเหนือประเทศผู้ผลิตอื่นๆ ในอาเซียนอีกด้วย ปัจจัยเหล่านี้นับว่าเป็นจุดแข็งด้านการผลิตของไทย คือ ไทยมีความหลากหลายในการผลิตอาหารสัตว์ เพื่อใช้ในการขุนโคเนื้อ ซึ่งจะทำให้เนื้อโคที่ผลิตได้มีคุณภาพดี ส่วนโอกาสด้านการตลาดมองว่าการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะทำให้ตลาดเนื้อโคใหญ่ขึ้น จากประชากรกว่า 640 ล้านคน ซึ่งความต้องการบริโภคเนื้อโคย่อมสูงขึ้นตามไปด้วย

อย่างไรก็ตามสิ่งที่ควรระวังสำหรับการผลิตโคเนื้อ โคขุน ของไทย คือ การเปิดเสรีทางการค้า(FTA) กับนิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ โคขุน ต้องแข่งขันกับคู่แข่งที่มีศักยภาพสูงทั้งจากออสเตรเลียและจากนิวซีแลนด์นอกจากนี้ การไม่ควบคุมกฎหมายอย่างเคร่งครัด ทำให้เกิดปัญหาลักลอบนำเข้าโคเนื้อมีชีวิต และเนื้อโคจากประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอินเดียดังที่เห็นในปัจจุบันมีการลักลอบเข้ามาเป็นจำนวนมาส่งผลกระทบต่อราคาโคเนื้อ โคขุน ของไทย


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ แห่งแรกของไทย โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ หรือ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวข้าว จัดตั้งโดย บริษัท ยนต์ผลดี จำกัด…
pin
259 | 25/03/2024
3 ผู้บริหารหญิงยุคใหม่ กับแนวคิดใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจรับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

3 ผู้บริหารหญิงยุคใหม่ กับแนวคิดใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจรับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

ไขเคล็ดลับและแนวคิดที่ผลักดันให้ผู้นำหญิงในโลกธุรกิจขึ้นมายืนแถวหน้า นักธุรกิจหญิงแกร่งที่ทรงพลังต่อการขับเคลื่อนธุรกิจ จนทำให้พวกเธอสามารถขึ้นมายืนแถวหน้าอย่างภาคภูมิ…
pin
427 | 22/03/2024
พลังหญิง เปลี่ยนโลก 3 บทบาทของผู้บริหารหญิงในการขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวที่สร้างแรงบันดาลใจด้านสิ่งแวดล้อม

พลังหญิง เปลี่ยนโลก 3 บทบาทของผู้บริหารหญิงในการขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวที่สร้างแรงบันดาลใจด้านสิ่งแวดล้อม

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลต่อธุรกิจ เมื่อหลายประเทศทั่วโลกเริ่มออกกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น…
pin
335 | 20/03/2024
โคเนื้อ-โคขุน โอกาสปศุสัตว์ไทยรุก AEC