“ตะคริว” แค่ปวดรำคาญ หรือสัญญาณอันตราย?

Edutainment
31/05/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 2624 คน
“ตะคริว” แค่ปวดรำคาญ หรือสัญญาณอันตราย?
banner

ตะคริว เป็นอาการที่เกือบทุกคนคงเคยประสบพบพาลกันมาแล้ว บางครั้งเกิดขณะเล่นกีฬา ระหว่างเดินช็อปปิ้ง หรือแม้แต่นอนอยู่ดีๆ ตะคริวกำเริบจนจำต้องตื่นขึ้นมานั่งร้องโอดโอยก็ยังมี

ตะคริวเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย และทุกเวลา ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นประมาณไม่เกิน 2 นาที ถ้าปล่อยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายสักครู่ อาการเจ็บปวดก็จะหายไปเอง แต่หากพยายามเกร็ง หรือบีบนวดในขณะที่กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวยังเกร็งเป็นก้อนแข็ง จะยิ่งทำให้รู้สึกเจ็บปวดมากยิ่งขึ้น

ตะคริวไม่มีอันตราย เพราะเป็นแล้วหายเองได้ในช่วงเวลาสั้นๆ เมื่อหายแล้วไม่มีอาการต่อเนื่อง อันตรายอาจเกิดขึ้นกรณีที่เป็นตะคริวขณะว่ายน้ำ หรือขับรถ และเป็นไปได้ว่าตะคริวอาจเป็นการส่งสัญญาณถึงความผิดปกติอื่นในร่างกาย

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ทำไม เป็นตะคริว

ตะคริวเกิดจากการที่กล้ามเนื้อหดหรือเกร็งตัว ส่งผลให้เกิดความเจ็บปวด กล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวได้ง่ายได้แก่กล้ามเนื้อน่อง และต้นขา สาเหตุอาจมาจาก ภาวะขาดน้ำ ภาวะเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล ซึ่งอาจเกิดจากท้องเสีย เสียเหงื่อมาก กล้ามเนื้อออ่อนล้าจากการใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือทำงานหนักเกินไป กล้ามเนื้อขาดเลือดจากการออกกำลังกายอย่างหนักโดยไม่ได้วอร์มอัพ การอยู่ในท่าที่ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกเป็นเวลานาน รวมถึงคนที่มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งหรือตีบตัน เช่น ผู้สูงอายุ เช่นเดียวกับหญิงตั้งครรภ์ที่มีระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ หรือเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงขาไม่สะดวก

นอกจากนี้ ตะคริวยังอาจเป็นผลจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดไขมันในเลือด ยาลดความดันโลหิต หรืออาจสะท้อนถึงความผิดปกติบางอย่างของร่างกาย เช่น โรคไตวาย เบาหวาน โรคของต่อมธัยรอยด์ น้ำตาลในเลือดต่ำ หรือโรคพาร์คินสัน

เยียวยา ตะคริว

สำหรับคนทั่วไป เมื่อเกิดอาการเป็นตะคริว อย่าฝืนหรือบีบนวดกล้ามเนื้อบริเวณนั้น แต่ให้ค่อยๆ ยืดกล้ามเนื้อออกให้อยู่ในแนวปกติของกล้ามเนื้อบริเวณนั้น อยู่นิ่งๆ สักครู่ อาการเกร็งก็จะหายไปเอง เมื่อกล้ามเนื้อเริ่มคลายตัวแล้ว โดยเฉพาะบริเวณน่อง อาจใช้วิธีเหยียดเข่าตรง แล้วกระดกปลายเท้าขึ้น ก้มเอามือดึงปลายเท้าเข้าหาตัว ค้างไว้ประมาณ 1-2 นาที หรืออาจค่อยๆ บีบนวด โดยบีบไล่จากเอ็นร้อยหวายขึ้นไปจนถึงข้อเข่า เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนกลับไปสู่หัวใจได้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยให้อาการปวดลดลงได้ด้วย

คนที่เป็นตะคริวขณะนอนกลับ โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ และผู้สูงอายุ อาจดื่มนมก่อนนอน เวลานอนใช้หมอนรองบริเวณปลายเท้าให้สูงจากเตียงประมาณ 4-5 นิ้ว แต่หากเป็นตะคริวจากการเสียเกลือ โซเดียม ที่เกิดจากท้องเดิน อาเจียน หรือเหงื่อออกมาก ควรดื่มน้ำเกลือผสมเอง

สำหรับคนที่เป็นๆ หายๆ และเป็นบ่อยๆ ควรไปพบแพทย์ เพราะอาจมีความผิดปกติเกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือดที่ขา หรือมีภาวะหลอดเลือดแข็งจากเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคอื่นๆ

ป้องกันก่อนเกิดอาการ

การดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน คือการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนอาหารให้เพียงพอ และกินอาหารครบ 5 หมู่ ซึ่งจะทำให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยลดการเกิดตะคริวได้


สำหรับคนทั่วไป การเลือกอิริยาบทที่เหมาะสม รวมทั้งการเลือกรองเท้าที่สวมใส่สบาย ไม่ทำให้กล้ามเนื้อเกร็ง หรือทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ช่วยหลีกเลี่ยงการเกิดอาการเป็นตะคริวได้ ส่วนผู้สูงอายุควรขยับแขนและขาช้าๆ หลีกเลี่ยงอากาศเย็นจัด ขณะนอน อาจสวมถุงเท้าเพื่อช่วยให้อบอุ่น


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตรุษจีนยุคใหม่ไร้ Foodwaste เคลียร์ของไหว้เป็นเมนูเด็ด แถมลดโลดร้อน

ตรุษจีนยุคใหม่ไร้ Foodwaste เคลียร์ของไหว้เป็นเมนูเด็ด แถมลดโลดร้อน

ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นประเด็นที่คนทั่วโลกให้ความสนใจ เพราะยิ่งนับวัน การคืบคลานเข้ามาของสภาวะโลกร้อนที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อหลายภาคส่วน…
pin
684 | 07/02/2024
‘เวียดนาม’ โตไวในธุรกิจรักษ์โลก ไทยอยู่อันดับเท่าไหร่ในตลาดอาเซียน

‘เวียดนาม’ โตไวในธุรกิจรักษ์โลก ไทยอยู่อันดับเท่าไหร่ในตลาดอาเซียน

จากข้อมูลโดย ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (sdgmove)  ระบุว่า เดือนเมษายน ปี 2565 ที่ผ่านมา รัฐบาลเวียดนามเผยแพร่ยุทธศาสตร์ชาติ…
pin
9385 | 26/10/2023
#กินเจ2566 เช็ค 8 สถานที่ใกล้ตัว งาน‘เทศกาลกินเจ 2566’ อิ่มท้อง อิ่มใจ ได้บุญ

#กินเจ2566 เช็ค 8 สถานที่ใกล้ตัว งาน‘เทศกาลกินเจ 2566’ อิ่มท้อง อิ่มใจ ได้บุญ

ช่วงเวลาของสายบุญ ที่จะเวียนมาปีละครั้ง สำหรับเทศกาลกินเจ หรือ ประเพณีถือศีลกินผัก ตามประเพณีแบบลัทธิเต๋า รวม 9 วัน โดยกำหนดวันตามจันทรคติ…
pin
12083 | 03/10/2023
“ตะคริว” แค่ปวดรำคาญ หรือสัญญาณอันตราย?