Crew Change ผลกระทบธุรกิจขนส่งทางทะเลช่วงโควิด 19

SME Update
23/12/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 7312 คน
Crew Change ผลกระทบธุรกิจขนส่งทางทะเลช่วงโควิด 19
banner

การผลัดเปลี่ยนคนประจำเรือ (Crew Change) นับเป็นเรื่องใหญ่และที่ต่างประเทศให้สนใจมาก แต่ในประเทศไทยกลับมีข้อมูลที่จำกัดอยู่ในเฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น ทั้งยังไม่เป็นที่น่าสนใจในหน้าสื่อหลักที่มุ่งประเด็นที่ทางสังคมในประเทศมากกว่า แต่ทราบหรือไม่ว่าช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ผลพวงจากการระบาดของโควิด 19 มีลูกเรือที่ทำงานในเรือเดินสมุทร แท่นขุดเจาะ ต้องติดค้างไม่สามารถขึ้นฝั่งได้นับหลายแสนคน ซึ่งในจำนวนนี้มีลูกเรือไทยรวมอยู่ด้วยไม่น้อย

ปัญหาเหล่านี้ คนเรือ หรือคนที่ทำธุรกิจด้านขนส่งทางทะเลจะทราบดี และเรียกว่า Crew Change Crisis’ โดยในช่วงการระบาดอย่างรุนแรงตอนต้นปี 2563 ทุกประเทศได้ออกกฎหมาย ข้อกำหนดห้ามสับเปลี่ยนลูกเรือ ห้ามลูกเรือขึ้นฝั่งทุกเมืองท่า ทั้งออกมาตรการความปลอดภัย (Quality And Safety) ป้องกันการระระบาดของไวรัสโควิด 19 ให้คนประจำเรือ ทำให้ที่ผ่านมาหากเกิดปัญหาคนประจำเรือเจ็บป่วย การจะได้รับอนุญาตให้ขึ้นฝั่งไปพบแพทย์ได้หรือไม่นั้น เป็นไปอย่างล่าช้า และขึ้นอยู่กับกฎหมายและข้อกำหนดของเมืองท่าแต่ละประเทศ ตลอดจนดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐที่รับผิดชอบ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ปัญหาที่ตามมา คือทำให้คนประจำเรือต้องทำงานเกินกว่าเวลาสูงสุดที่กำหนดให้ทำงานบนเรือได้ ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยแรงงานทางทะเล พ.ศ. 2549 (MLC 2006–Maritime Labour Convention 2006) ที่มีข้อกำหนดให้คนประจำเรือต้องมีระยะเวลาทำงานบนเรือไม่เกิน 12 เดือน รวมถึงปัญหาเอกสารการทำงานของคนประจำเรือหมดอายุกลางทะเล อาทิ ใบอนุญาตประจำวิชาชีพของคนประจำเรือ หนังสือเดินทาง หนังสือคนประจำเรือ ใบรับรองการตรวจสุขภาพ ฯลฯ ตลอดจนปัญหาด้านสภาพจิตใจอันเนื่องจากการทำงานในทะเลเป็นเวลานาน

ด้านเจ้าของเรือตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากเช่นเดียวกัน การปิดเมืองท่าบางแห่งทำให้เรือไม่สามารถเข้าเทียบท่าเพื่อขนส่งสินค้า และต้องเปลี่ยนเมืองท่ากะทันหัน ทั้งยังต้องประสบปัญหาจากมาตรการการจำกัดการเดินทาง และการไม่มีเครื่องบินพาณิชย์ให้บริการ ทำให้เรือสามารถสับเปลี่ยนคนประจำเรือทำได้เพียงบางส่วน และไม่เป็นไปตามความต้องการแท้จริงของลูกเรือ อันส่งผลต่อประสิทธิภาพการเดินเรือ และคุณภาพชีวิตของคนประจำเรือที่ต้องติดอยู่บนเรือนานเกินกว่าที่ MLC กำหนดไว้

ต่อมาหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยได้มีมาตรการอนุญาตให้เปลี่ยนคนประจำเรือเฉพาะลูกเรือที่มีสัญชาติประเทศนั้นเท่านั้น แต่ลูกเรือต่างชาติยังห้ามมีการสับเปลี่ยนทั้งขึ้นและลงเรือ (ยกเว้นที่สิงคโปร์) แต่การสับเปลี่ยนคนประจำเรือก็เกิดเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นที่เจ้าของเรือต้องแบกรับ อาทิ ค่าใช้จ่ายในการกักตัว 14 วัน ของคนประจำเรือที่ขอขึ้นฝั่ง รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง, ค่าตรวจตรวจโควิด PCR TEST, ค่าตรวจ Fit To Fly, ค่าเดินทาง, ค่าที่พัก, ค่าเบี้ยเลี้ยง และเงินพิเศษ

รวมทั้งกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้น เช่น ลูกเรือจะต้องมีหนังสือรับรองการเดินทางเข้าประเทศ (Certificate Of Entry-COE) ที่ออกโดยกระทรวงต่างประเทศก่อนล่วงหน้า เช่นเดียวกับกรณีการเดินทางกลับเข้าราชอาณาจักรไทยโดยทางเครื่องบิน หน่วยงานต่างๆ จึงจะสามารถให้สับเปลี่ยนคนขึ้นและลงเรือได้ แถมขั้นตอนดังกล่าวมีอุปสรรคมากมายและเป็นไปอย่างล่าช้า

ขณะที่รัฐเจ้าของเรือธง (FSC-Flag State Control) และเจ้าหน้าที่ของรัฐเมืองท่า (PSC-Port State Control) ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ผู้ตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมาย ยังคงจุดยืนในการรักษาระเบียบข้อบังคับต่างๆ อย่างเข้มงวด ทำให้เจ้าของเรือยังคงต้องหามาตรการเฉพาะหน้า หรือแม้แต่ยอมแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เพื่อทำให้การสับเปลี่ยนคนประจำเรือ โดยงัดสารพัดวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามาใช้ในทุกวิถีทางที่พอจะดำเนินการได้ เพื่อลดผลกระทบต่อการดำเนินการขนส่งทางทะเลให้น้อยที่สุด

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันแม้โลกมีวัคซีนโควิด 19 และมีการฉีดให้ประชาชมกลุ่มเสี่ยงไปแล้วหลายประเทศ แต่ความหวังของ กะลาสี ในการขึ้นฝั่งก็อาจต้องรอไปอีกระยะ เพราะด้วยปริมาณการติดอยู่กลางทะเลที่มากมาย ทำให้การสับเปลี่ยนคนประจำเรือต้องใช้เวลาในการทยอยส่งลูกเรือกลับบ้านเช่นกัน

กระนั้นสถานการณ์ระบาดของโควิด 19 ทั่วโลกที่คาดว่าจะบรรเทาลงได้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2564 ส่งผลต่อมาตรการและกฎระเบียบในการเดินทางข้ามพรมแดนที่ผ่อนคลายมากขึ้น และอาจเป็นข่าวดีของเหล่ากะลาสี และเจ้าของธุรกิจขนส่งทางทะเลที่จะทำให้การสับเปลี่ยนคนประจำเรือทำได้ราบรื่นมากขึ้น เพราะอย่าลืมว่าการขนส่งทางทะเลคือเส้นเลือดใหญ่ของห่วงโซ่อุปทาน หากเกิดการติดขัดหรือเกิดปัญหา ย่อมส่งผลกระทบต่อต้นทุนภาคขนส่ง ระยะเวลาในการขนส่ง การนำเข้าส่งออก การแข่งขันทางการค้า หรือแม้แต่การขาดตอนของซัพพลายเชน ซึ่งมองในมุมนี้จะเป็นผลกระทบที่ใกล้ตัวอย่างมาก 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<

 

3 วิธีที่องค์กรควรเลือกใช้ในการทำลายข้อมูลอย่างปลอดภัย

Ransomware ภัยไซเบอร์ที่ธุรกิจยุคดิจิทัลควรระวัง


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1194 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1557 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1842 | 25/01/2024
Crew Change ผลกระทบธุรกิจขนส่งทางทะเลช่วงโควิด 19