CBEC มองโอกาสสินค้าไทยขยายสู่ตลาดค้าข้ามแดนในจีน

SME Startup
09/11/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 3416 คน
CBEC มองโอกาสสินค้าไทยขยายสู่ตลาดค้าข้ามแดนในจีน
banner

        การค้าออนไลน์ข้ามพรหมแดน (Cross-border e-Commerce) รูปแบบการค้าระหว่างประเทศยุคใหม่ที่เกิดขึ้นทั้งในลักษณะ B2B และ B2C การค้าที่ผู้ซื้อได้ซื้อสินค้าจากบริษัทผู้จัดจำหน่ายโดยตรงในต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันการค้าในลักษณะออนไลน์ข้ามแดนนี้มีทิศทางการเติบโตที่รวดเร็วตามโครงสร้างพื้นฐานอินเทอน์เน็ตและแพลตฟอร์มค้าออนไลน์ยุคใหม่ และสังคมไร้เงินสดที่ทำให้การซื้อขายออนไลน์เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถทำได้อย่างง่ายดาย และเป็นที่ทราบดีว่า ‘จีน’ คือตลาดการค้าออนไลน์ข้ามแดนที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน  


ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 



        ด้วยเหตุนี้ สินค้าไทยมากมายจึงไปเปิดตลาดจีนผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซข้ามแดน หรือ Cross-border e-Commerce ขณะที่คนจีนก็นิยมซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้นจากเดิมซึ่งเป็นผลพวงจากการระบาดของโควิด 19 ซึ่งจากข้อมูลในปี 2562 ระบุว่าประเทศที่มีสัดส่วนนักช้อปออนไลน์สูงที่สุดในโลก 5 ประเทศ คือ 1.สวีเดน 2. เกาหลีใต้ 3.สหราชอาณาจักร 4. นอร์เวย์ และ 5.สหรัฐฯ 


        จากสถิตินี้จะเห็นว่าแม้จีนจะเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก แต่เมื่อเทียบกับสัดส่วนจำนวนประชากรการซื้อออนไลน์ยังมีสัดส่วนเพียง 25.70% ของยอดค้าปลีกทั้งหมดในจีน หรือคิดเป็นมูลค่าค้าปลีกออนไลน์ราว 10.6 ล้านล้านหยวน (สถิติในปี 2562 ของไทยมีค่าเฉลี่ยการซื้อออนไลน์ไม่ถึงร้อยละ 3 เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค้าค้าปลีกทั้งประเทศ

    
        โดยผลพวงจากโควิด 19 ทุกธุรกิจปรับตัวมากขึ้น และใช้ช่องทางการค้าออนไลน์เป็นช่องทางหลัก และตลาดจีนก็ยังคงเป็นตลาดที่ผู้ประกอบการ SME ไทยต่างหมายมั่นบุกตลาดที่มีประชากรกว่า 1,400 ล้านคนนี้ให้ได้ ซึ่งจากตัวเลขการเติบโตของการค้าออนไลน์ในจีน บวกกับสัดส่วนการเพิ่มขึ้นของประชากรจีนในการใช้ช่องทางออนไลน์ มูลค่าตลาดนี้จึงมหาศาล


        โดยในปี2019 จีนมีจำนวนผู้ช้อปปิ้งผ่านแพลตฟอร์ม Cross-border e-Commerce หรือที่ภาษาจีนเรียกว่า ‘ไห่เถา (海淘)’ ประมาณ 154 ล้านคน และคาดว่าในปี2020 จะเพิ่มเป็น 232 ล้านคน ทั้งรูปแบบการค้ายังเป็นทั้งแบบ B2B, B2C และ C2C (Consumer to Consumer)

    
        ขณะที่การขายสินค้าไปจีนในปัจจุบันผ่านช่องทาง Cross-border e-Commerce หรือ CBEC ผู้ประกอบการไม่ต้องจดบริษัทที่ประเทศจีน ก็สามารถนำเข้าสินค้าโดยตรงจาก ต่างประเทศผ่านช่องเขตนำร่องพิเศษ (special pilot channel) ได้ อาทิ 


        การนำเข้าเพื่อเก็บในคลังทัณฑ์บน โดยผู้ประกอบการต้องนำสินค้ามาเก็บที่คลังสินค้าทัณฑ์บน (bonded warehouse) เพื่อจัดเก็บสินค้าคงคลังก่อน/ลูกค้าสั่งซื้อภายหลัง การนำเข้ารูปแบบนี้ทำให้สามารถจัดส่งสินค้าถึงลูกค้าภายใน 3-7 วัน


        และวิธีที่ 2 คือ Direct Mailing Model (B2C) ลูกค้าสั่งซื้อหลังจากนั้น แพลตฟอร์มจะส่งรายละเอียดคำสั่งซื้อ การขนส่ง และการชำระราคาไปยังศุลกากร และสินค้าจะถูกส่งโดยตรงจากต่างประเทศไปถึงลูกค้า  แต่ก็มีข้อเสีย คือ ระยะเวลาจัดส่งสินค้าถึงลูกค้า ค่อนข้างนาน



สำหรับสินค้า หลายคนอาจจะสงสัยว่าช่องทางการค้าข้ามแดนนี้จะใช้กับสินค้าใดได้บ้าง ซึ่งจากข้อมูลในปี  2020 กระทรวงการคลังของจีนได้ปรับเพิ่มหมวดหมู่สินค้าในบัญชีอนุญาต (Positive list)ทำให้ปัจจุบันมีรายการสินค้าที่ได้รับอนุญาตนำเข้าผ่าน Cross-border e-Commerce รวมทั้งสิ้น 1,413 รายการ โดยกำหนดชัดเจนว่า เฉพาะสินค้าที่อยู่ในบัญชีอนุญาต (Positive list) เท่านั้นที่สามารถนำเข้าผ่านช่องทาง Crossborder e-Commerce 

        ทั้งนี้ได้ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบรายการสินค้าที่ได้ที่ http://images.mofcom.gov.cn/cws/202001/20200110143527533.pdf (เป็นภาษาจีน)

        อย่างไรก็ตาม กฎหมายก็เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการที่สนใจตลาดจีนต้องให้ความสำคัญ เพราะตลอดหลายปีที่ผ่านมา จีนออกกฎเกณฑ์ทางการค้าออนไลน์เยอะมาก เพื่อกำกับดูแลทั้งในด้านมาตรฐานและความปลอดภัย ตลอดจนการปกป้องธุรกิจในประเทศ รวมทั้งกฎหมายในด้านของทรัพย์สินทางปัญญา อาทิ การปรับแก้กฎหมายว่าด้วย E-Commerce ของจีนซึ่งได้เพิ่มข้อกำหนดเกี่ยวกับหน้าที่ในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของเเพลตฟอร์ม E-Commerce ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นและมีการกำหนดบทลงโทษหรือค่าปรับไว้อย่างชัดเจน

        และในขณะเดียวกันจีนมีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาคลังสินค้าต่างประเทศ เช่น ส่งเสริมบริษัทการค้าระหว่างประเทศ บริษัท CBEC เเละบริษัทโลจิสติกส์เข้าร่วมการก่อสร้างคลังสินค้าในต่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริมบริษัทคลังสินค้าในต่างประเทศให้เชื่อมโยงกับเเพลตฟอร์ม E-Commerce ทั้งในจีน เเละต่างประเทศ ตลอดจนผลักดันการสร้างเเพลตฟอร์มโลจิสติกส์อัจฉริยะในต่างประเทศ




        ล่าสุด ช่วงเดือนกันยายน ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ประเทศจีนเผยว่าปัจจุบันจีนมีคลังสินค้าธุรกิจ Cross Border E-Commerce (CBEC) จำนวนกว่า 1,900 เเห่งในต่างประเทศ โดยมีพื้นที่รวมกว่า 13.5 ล้านตารางเมตร ซึ่งคลังสินค้าในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป เเละเอเชียคิดเป็น 90% ของคลังสินค้าจีนทั่วโลก

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าภายใต้การเปิดกว้างของตลาดค้าออนไลน์ข้ามแดน จีนเองก็รุกตลาดไปทั่วโลกเช่นกันผ่านการจัดตั้งคลังสินค้าในต่างประเทศและพัฒนาการขนส่งและแพลตฟอร์มค้าออนไลน์ ซึ่งตรงนี้ผู้ประกอบการไทยเองก็สามารถเกาะเกี่ยวโอกาสเหล่านี้ รวมทั้งการใช้กลยุทธ์ KOL (Key Opinion Leader) ซึ่งมีอิทธิพลต่อผู้บริโภคในจีนอย่างมาก จะเป็นการเปิดตลาดสินค้าไทยไปตลาดจีนผ่านช่องทางการค้าออนไลน์ข้ามแดนได้อย่างมีประสิทธิภาพ


แหล่งอ้างอิง สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

4 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ Model Innovation เปลี่ยนโลกใบนี้เป็นสีเขียว

4 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ Model Innovation เปลี่ยนโลกใบนี้เป็นสีเขียว

อย่างที่ทราบดีว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมถือเป็นเรื่องใหญ่ระดับโลก ที่ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่ และกลายมาเป็นโจทย์สำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ…
pin
2304 | 14/02/2023
ไม่ดูตอนนี้ รู้อีกทีปีหน้า! ส่องเทรนด์ธุรกิจมาแรง ที่ SME ห้ามพลาดใน ปี 66

ไม่ดูตอนนี้ รู้อีกทีปีหน้า! ส่องเทรนด์ธุรกิจมาแรง ที่ SME ห้ามพลาดใน ปี 66

หลังจากไทยเผชิญการระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ผู้คนปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต หลายหน่วยงานที่เกี่ยวกับธุรกิจการค้าต่างออกมาวิเคราะห์เทรนด์ธุรกิจที่มาแรงในปี…
pin
4504 | 19/01/2023
ตอบโจทย์ Aging Society! นักวิจัยไทยคิดค้น ‘MONICA’ เกมกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผู้ประกอบการต่อยอดไอเดียได้

ตอบโจทย์ Aging Society! นักวิจัยไทยคิดค้น ‘MONICA’ เกมกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผู้ประกอบการต่อยอดไอเดียได้

‘ไทย’ ได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์แล้ว คิดเป็นประมาณ 18.3% ของประชากรทั้งหมด และไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอดเช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่มีประชากรอายุ…
pin
2277 | 22/12/2022
CBEC มองโอกาสสินค้าไทยขยายสู่ตลาดค้าข้ามแดนในจีน