ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างการรับประทานอาหารกับสุขภาพทางร่างกายของคนแล้ว และล่าสุดได้มีการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์กับสุขภาพทางจิตใจ จนกระทั่งนักวิจัยได้ค้นพบเป็นครั้งแรกว่า การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าด้วย
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
นักวิจัยได้เปรียบเทียบลักษณะการรับประทานอาหาร 3 แบบได้แก่ แบบเมติเตอเรเนียน(Mediterranean diet) แบบมังสวิรัติเบื้องต้น (Pro-vegetarian Dietary Pattern) และแบบดัชนีการรับประทานทางเลือกเพื่อสุขภาพปี 2010 (Alternative Healthy Eating Index-2010) โดยผู้เข้าร่วมจะต้องทำการให้คะแนนในระบบเพื่อให้นักวิจัยวัดได้ว่ามีการควบคุมอาหารเคร่งครัดเพียงใด หากได้คะแนนมาก หมายถึงผู้เข้าร่วมการทดลองคนนั้นเคร่งครัดกับการควบคุมอาหารมากและมีการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพมาก อาหารจำพวกเนื้อและของหวาน (อุดมไปด้วยไขมันสัตว์ ไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์) จะได้คะแนนลบ ส่วนอาหารจำพวกถั่ว ผลไม้ และผัก (อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมกา-3 วิตามิน และเกลือแร่) จะได้รับคะแนนบวก
อัลมูเดนา ซานเชส-วิลเลกาส แห่งมหาวิทยาลัยลาส พาลมาส เด กรัน คานาเรีย หัวหน้านักวิจัยเผยว่า การควบคุมอาหารในบางรูปแบบสามารถปกป้องจิตใจของเราได้
การควบคุมอาหารนั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพทางร่างกายล้ว ยังค้นพบว่าอาหารที่ดีก็ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตใจด้วย
"อาหารมีบทบาทในการป้องกันโรคได้ด้วย
โดยที่ถั่วต่างๆ ผลไม้ และผัก (แหล่งของกรดไขมันโอเมกา-3 วิตามิน และเกลือแร่)
สามารถลดความเสี่ยงของการเป็นโรคซึมเศร้าได้"
ในการศึกษาครั้งนี้
มีผู้เข้าร่วมการทดลอง 15,093 คน โดยไม่มีอาการโรคซึมเศร้าเลยในช่วงก่อนเริ่มการทดลอง
ทั้งหมดเป็นอดีตนักเรียนของมหาวิทยาลัยนาวาร์รา ประเทศสเปน
โครงการสำรวจนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ปี 1999 และติดตามผลเรื่อยมา เพื่อวิเคราะห์หาลักษณะการควบคุมอาหาร วิถีชีวิตที่มีผลกระทบต่ออาการบางอย่าง เช่น
โรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคซึมเศร้า
ผู้เข้าร่วมการทดลองได้ตอบแบบสอบถามในตอนเริ่มโครงการ
และตอบอีกครั้งในอีก 10 ปีต่อมา ในจำนวนนี้ 1,550 คน ได้รายงานว่าถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า
หรือใช้ยาต่อต้านโรคซึมเศร้าหลังผ่านไปประมาณ 8.5 ปี
นักวิจัยพบว่า
การกินอาหารตามดัชนีการรับประทานทางเลือกเพื่อสุขภาพปี 2010
มีความเกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้ามากที่สุด
แต่วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการกินอาหารแบบเมดิเตอเรเนียน
สารอาหารที่การควบคุมอาหารทั้งสองแบบมีตรงกันคือ กรดไขมันโอเมกา-3 ผัก ผลไม้
ถั่วต่างๆ และแอลกอฮอล์ในระดับที่พอเหมาะ
สารเหล่านี้อาจจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้
ทั้งนี้มีข้อสังเกตได้ถึงความแตกต่าง เมื่อผู้เข้าร่วมการทดลองเริ่มควบคุมอาหารให้อาหารมีประโยชน์ต่อสุขภาพ
แม้แต่การควบคุมอาหารระดับปานกลางก็มีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงโรคซึมเศร้าได้
แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่เห็นว่าหากควบคุมอาหารในระดับที่เคร่งครัดมากๆจะมีประโยชน์มากเป็นพิเศษ
ดังนั้น หากว่าควบคุมอาหารถึงระดับหนึ่ง ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าก็จะลดลง และเริ่มมีสุขภาพที่ดี ลักษณะข้อมูลแบบนี้สอดคล้องกับสมมติฐานที่ว่า การกินอาหารที่ไม่เพียงพอเช่นขาดอาหารบางประเภทอาจจะหมายถึงความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้ในอนาคต
ข้อจำกัดของการทดลองนี้คือ
การควบคุมอาหารนั้นยังเป็นการรายงานจากผู้เข้าร่วมการทดลองเอง
และข้อมูลโรคซึมเศร้าก็มาจากผู้เข้าร่วมการทดลองเองเช่นกัน ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษากันต่อไป เพื่อทำนายว่าสารอาหารนั้้นมีผลต่อจิตสรีรวิทยาจริงหรือไม่ และเกลือแร่ วิตามิน โปรตีน
หรือคาร์โบไฮเดรต ตัวใดที่ทำให้เป็นโรคซึมเศร้า แต่นี่ก็ถือเป็นทฤษฎียืนยันว่า
อาหารดีมีประโยชน์ต่อสภาพจิตใจ และอาจบรรเทาภาวะซึมเศร้าได้
อ้างอิง : รายงาน http://www.vcharkarn.com/vnews/503133
: ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ