ตลาด Digital Content ในญี่ปุ่น

SME Go Inter
22/12/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 4034 คน
ตลาด Digital Content ในญี่ปุ่น
banner

ประเทศญี่ปุ่นขึ้นชื่อว่าเป็นเจ้าแห่งการผลิตการ์ตูนยักษ์ใหญ่ของโลกมายาวนาน แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาสถานการณ์ตลาดการ์ตูนคาแรคเตอร์ ดิจทัลคอนเทนต์ ก็เปลี่ยนแปลงไปตามสัดส่วนจำนวนประชากรเด็กที่ลดลง และก้าวสู่สังคมสูงวัย

ล่าสุดจากการสำรวจของสถาบันวิจัยยาโนะ พบว่าในปี 2560 ตลาดการ์ตูนคาร์แรคเตอร์ในญี่ปุ่นมีมูลค่า 6.82 แสนล้านบาท อัตราการเติบโตคงที่เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเฉพาะประเภทสิทธิ์การนำคาแรคเตอร์ไปใช้กับสินค้าต่างๆ (Merchandising Right) ซึ่งมีมูลค่า 3.40 แสนล้านบาท ลดลง 1.5% จากปีก่อน ผลจากจำนวนประชากรเด็กลดลงทำให้สินค้าหมวดของเล่น ซึ่งเป็นหมวดที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มนี้ปรับตัวลดลง 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 



อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากลุ่มของเล่นจะปรับตัวลดลง แต่ "ของเล่นประเภทตู้กดอัตโนมัติ" ที่นิยมนำไปวางในร้านอาหารและสนามบินขยายตัวเพิ่มขึ้น จากที่เน้นกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ และกลุ่มที่เป็นสินค้าเครื่องอาบน้ำ (Toiletry) ต่างๆ ซึ่งเป็นการเจาะกลุ่มผู้ใหญ่ก็ขยายตัวขึ้นเช่นกัน ทั้งยังมีการแข่งขันด้านราคาสูง จึงมีผู้นำคาแรคเตอร์มาใช้บนผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความแตกต่างและมูลค่าเพิ่ม

แต่อีกด้านลิขสิทธิ์ที่ได้จากการนำคาแรคเตอร์ไปใช้ในสื่อสิ่งพิมพ์ โฆษณา หรือการเป็นพรีเซนเตอร์ (Copyright) มูลค่า 3.42 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.5% สวนทางกับกลุ่มแรก เนื่องจากมีการนำคาแรคเตอร์ไปจัดทำกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายมากขึ้น

ขณะที่ผลการสำรวจตลาดแอนิเมชั่นปี 2560 มีมูลค่า 6.2 แสนล้านบาท จากรายได้ในการขยายไปยังตลาดต่างประเทศ ซึ่งเติบโตถึง 30% ช่วยชดเชยรายได้ส่วนในประเทศที่หดตัว


แนวโน้มการเติบโตของตลาดกลุ่มแอนิเมชั่นในญี่ปุ่น ก็เปลี่ยนแปลงตามสัดส่วนจำนวนประชากรเด็กที่ลดลงเช่นกัน โดยข้อมูลการสำรวจพบว่า นับจากปี 2558 ปริมาณการผลิตแอนิเมชั่นสำหรับผู้ใหญ่เพิ่มขึ้นขึ้นมากกว่าแอนิเมชั่นสำหรับเด็ก ขณะเดียวกันรัฐบาลญี่ปุ่นมีนโยบายปฏิรูปการทำงาน โดยให้ลดเวลาทำงานของพนักงานลง ทำให้บริษัทผู้ผลิตจำเป็นต้องหาเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพาการผลิต และลดต้นทุน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่า บริษัทเกมและแอนิเมชั่นของญี่ปุ่นหันมาพึ่งพาการใช้ Outsource มากขึ้น โดยมีข้อมูลจากกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) ที่พบว่า แนวโน้มการใช้ Outsource เพิ่มมากขึ้นนับจากปี 2555 กระทั่งปี 2558 มีการใช้ Outsource มากเป็นสัดส่วนถึง 90% และในจำนวนนี้ 30% เป็นบริษัทต่างชาติ เนื่องจากญี่ปุ่นเริ่มขาดแคลนคนวาดการ์ตูน เพราะคนรุ่นใหม่สนใจงานสาขานี้น้อยลง  ข้อมูลนี้สะท้อนว่านี่อาจจะเป็นสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับไทย

แต่ด้วยประชากรวัยเด็กของญี่ปุ่นลดลง และยังญี่ปุ่นยังมีคาแรคเตอร์ที่โด่งดังเป็นของตัวเองจำนวนมาก ดังนั้น ผู้ประกอบการที่ต้องการเจาะตลาดนี้ ควรเน้นคาแรคเตอร์ที่เจาะกลุ่มผู้ใหญ่แทนตลาดเด็ก เช่น รูปแบบกราฟฟิคดีไซน์สินค้าแฟชั่นเสื้อผ้า โดยเจาะตลาดกลุ่มเฉพาะ Niche Market เช่น กลุ่มคนรักศิลปะ คนรักเมืองไทย หรือสร้างสรรค์งานที่มีลักษณะเฉพาะตัว ตลอดจนเพิ่มกลยุทธ์การ Collaboration กับคาแรคเตอร์ท้องถิ่น เพื่อเจาะตลาดให้ง่ายขึ้น


โดยขณะนี้มีหน่วยงานของไทย เช่น กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้มีการจัดโครงการส่งเสริมและพัฒนาและจำหน่ายสินค้าการ์ตูนคาแรคเตอร์ไทยให้คนญี่ปุ่นรู้จัก โดยผ่านนิทรรศการไทยที่จัดขึ้นที่สวนสาธารณะโยโยงิ กรุงโตเกียว และผ่านโซเชียลเน็ตเว็คต่างๆ มาประมาณ 3 ปี ทำให้คนญี่ปุ่นรู้จักคาแรคเตอร์ของไทยมากขึ้น ช่วยให้มียอดการจำหน่ายมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการตั้งโรงเรียนสอนวาดการ์ตูนขึ้นที่ตึกจามจุรี สแควร์ ชื่อ Kadokawa Animation and Design School ผลิตบุคคลากรเพื่อรองรับอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเท็นต์ของญี่ปุ่น

ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ที่ไทยจะสามารถขยายฐานการเป็นแหล่งรองรับงาน Outsource ในอุตสาหกรรมนี้ เนื่องจากนโยบายรัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนและผลักดันการส่งออกสินค้าและบริการในสาขานี้ ซึ่งไทยอาจจะเพิ่มความสัมพันธ์ทางธุรกิจขยายตลาดร่วมกับบริษัทต่างชาติ ด้วยการลงทุนร่วมกันพัฒนาคอนเทนต์ด้านแอพพลิเคชั่นเกมสำหรับสมาร์ทโฟน เพื่อขยายสู่ตลาดท้องถิ่นในอนาคต

เครดิตภาพ : https://kadokawa-ca.co.th/

 

สังคมสูงอายุ โจทย์ใหญ่สมาร์ทซิตี้

แนวโน้มโลกต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุค 5G



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6326 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2033 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5065 | 23/10/2022
ตลาด Digital Content ในญี่ปุ่น