เจาะลึก Digital Economy แดนอิเหนา

SME Startup
20/05/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 3155 คน
เจาะลึก Digital Economy แดนอิเหนา
banner

อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีบริษัท Startup มากที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา อินเดีย สหราชอาณาจักร และแคนาดา จำนวนทั้งสิ้น 2,193 บริษัท ที่สำคัญมีสตาร์ทอัพระดับ Unicorn 4 บริษัท คือ Gojek, Traveloka, Bukalapak และ OVO

แถมล่าสุด Tokopedia แพลตฟอร์มจองตั๋วเครื่องบินและโรงแรมทั่วโลก ยังก้าวไปอีกขั้นสู่ระดับที่เรียกว่า Decacorn หมายถึงธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าเกิน 10 billions หรือ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขั้นกว่าของ Unicorn แม้จะไม่ถึงขนาดมีมูลค่าเทียบชั้น Hectocorn อันหมายถึงธุรกิจที่มูลค่ามากกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อย่าง Facebook และ Google แต่ก็ไม่แน่ว่าจะไล่ไม่ทัน

คำถามคือ ทำไมสตาร์ทอัพอินโดนีเซียถึงทิ้งห่างเพื่อนๆ ในอาเซียน ไปเป็นประเทศที่มีสตาร์ทอัพหัวแถวของโลกไปแล้ว ก็อาจต้องย้อนไปดูที่โครงสร้างและปัจจัยภายในประเทศ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


โครงสร้างพื้นฐานและประชากร

อินโดนีเซียมีจำนวนประชากร 264 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ของโลก (รองจาก จีน อินเดีย และสหรัฐอเมริกา) โดยมีจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตร้อยละ 64.8 ของประชากรทั้งหมด มีจำนวนผู้ใช้งานการค้าออนไลน์ถึงร้อยละ 44 ของจำนวนผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตในประเทศ (ประมาณ 75 ล้านคน) มีผู้ใช้บริการสมาร์ทโฟน 95.87 ล้านคน

ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ 123.3 ล้านคน อัตราการใช้งานอินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ โดยเฉลี่ยวันละ 4 ชั่วโมง โดยมีจำนวนผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตในอินโดนีเซียสูงสุดบนเกาะชวา และมีการใช้งานสื่อ Social Media ในประเทศสูงที่สุดในโลก

นอกจากนี้โดยผู้ประกอบการอินโดนีเซียนิยมใช้สื่อ Social Media มาทำการตลาดอย่างชาญฉลาด ทั้งบน Facebook, Twitter, Instagram และ WhatsApp ทั้งรัฐบาลอินโดนีเซียให้การสนับสนุนเศรษฐกิจดิจิทัล ทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมและดิจิทัล เพื่อการเข้าถึงและเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ต การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านดิจิทัล และการพัฒนากฎระเบียบต่างๆ เพื่อช่วยเพิ่มการจ้างงาน การส่งออก และรายได้ของประเทศ

 

สังคมไร้เงินสด - Fintech โตกระจาย

ขณะที่ “Fintech Report 2019” ระบุว่า มีผู้บริโภคอินโดนีเซียใช้งานแพลตฟอร์มกระเป๋าเงินดิจิทัลร้อยละ 82.7 การลงทุนด้านดิจิทัลร้อยละ 62.4 การให้บริการชำระเงินภายหลัง (pay-later services) ร้อยละ 56.7 และการให้บริการสินเชื่อ P2P ร้อยละ 21.5

และ Catcha Groups คาดการณ์ว่า ขนาดของตลาด Fintech ในอินโดนีเซียจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากปี 2561 มูลค่า 22,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็น 54,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2568 ซึ่งมีบริการ Fintech 2 ประเภทที่ได้รับความนิยมในอินโดนีเซีย ได้แก่ ระบบชำระเงินแบบดิจิทัล หรือบริการเทคโนโลยีทางการเงิน และการให้กู้ยืมแบบ peer-to-peer

ทั้งนี้ข้อมูลจากธนาคารกลางอินโดนีเซีย ณ เดือนมกราคม 2563 มูลค่าการทำธุรกรรมผ่านระบบ e-money ในตลาดค้าปลีกของอินโดนีเซียสูงถึง 15.8 ล้านล้านรูเปียห์ ประมาณ 1,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 173 เมื่อเปรียบเทียบ 25 กับปีก่อนที่มีมูลค่าการทำธุรกรรม 5.8 ล้านล้านรูเปียห์

การเติบโตของ e-money สำหรับการทำธุรกรรมค้าปลีกเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงสองปีที่ผ่านมา โดยมาจากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนมาทำธุรกรรมที่ไม่ใช่เงินสดมากขึ้น จากเดิมนิยมใช้บัตรเอทีเอ็ม และบัตรเดบิตสำหรับการชำระเงิน

 

ได้แรงหนุนจากภาครัฐ ส่งเสริมอีคอมเมิร์ซ

รายงานของ JP Morgan เกี่ยวกับข้อมูลเชิงลึกอีคอมเมิร์ซอินโดนีเซียปี 2562 กล่าวว่า อินโดนีเซียมีการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซมาจากประชากรวัยรุ่นที่มีอายุโดยเฉลี่ย 30.5 ปี ซึ่งครึ่งหนึ่งของชาวอินโดนีเซียมีอายุต่ำกว่า 30 ปี และกลุ่มชนชั้นกลางมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตและผู้ใช้งานสมาร์ทโฟน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การชำระเงินแบบดิจิทัลเพิ่มขึ้น นอกจากนี้รัฐบาลอินโดนีเซียได้สนับสนุนให้ประชาชนใช้ E-money สำหรับการชำระค่าทางด่วน ค่าโดยสารรถประจำทาง (Transjakarta) และอื่นๆ เพื่อลดการใช้ธุรกรรมเงินสด อินโดนีเซียจึงได้เข้าสู่สังคมไร้เงินสดเมื่อหลายปีก่อน รวมทั้งการปรับใช้ระบบดิจิทัลในการให้บริการของภาครัฐต่อเอกชนและประชาชน อาทิ

1. ผู้ประกอบการกับภาครัฐ : รัฐบาลอินโดนีเซียใช้ระบบการจัดซื้อจัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิสก์ (e-Government Procurement) เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการประมูล สร้างความโปร่งใส และลดปัญหาการคอรับชั่นในระบบราชการ หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐคือ National Public Procurement Agency (Lembaga Kebijiakan Pengadaan Barang/Jasa Pemerintah: LKPP) จัดทำระบบ E-Catalogue เพื่อสามารถจัดซื้อยาและอุปกรณ์การแพทย์สำหรับโรงพยาบาลรัฐของอินโดนีเซีย

2. ภาครัฐกับประชาชน : รัฐบาลอินโดนีเซียให้บริการประชาชนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การคำนวณ การยื่นแบบ และชำระภาษีผ่านอินเตอร์เน็ต การให้บริการข้อมูลทะเบียนธุรกิจ เป็นต้น

ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบอินโดนีเซียกับประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เศรษฐกิจดิจิทัลของอินโดนีเซียมีการเติบโตอย่างรวดเร็วจากภูมิศาสตร์และจำนวนประชากร โดยปี 2562 เศรษฐกิจดิจิทัลของอินโดนีเซียมีมูลค่า 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยจะเป็นผู้นำในการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล ปี 2568 เศรษฐกิจดิจิทัลของอินโดนีเซียคาดว่าจะมีมูลค่าถึง 133,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นครึ่งหนึ่งของมูลค่าตลาดในภูมิภาค

ธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจดิจิทัลของอินโดนีเซียครอบคลุม e-commerce, online travel, online media และ ride-hailing รวมถึงการชำระเงินดิจิทัลและบริการบนแอพพลิเคชั่น โดยเมื่อปี 2558 ธุรกิจ online travel ประสบความสำเร็จมากที่สุด แต่ในปี 2562 ธุรกิจ e-commerce เพิ่มขึ้นร้อยละ 88 จากปี 2558 โดยมีมูลค่าสินค้ารวม (Gross Merchandise Value : GMV) 21,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในกรุงจาการ์ตาและ 9 ปริมณฑล (Jabodetabek: Jakarta, Bogor, Depok, Tangerang, Bekasi) มี GMV ต่อคนอยู่ที่ 555 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ online travel มีมูลค่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ride-hailing มูลค่า 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ online media มูลค่า 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ขณะเดียวกันธุรกิจ e-commerce และ ride-hailing ในอินโดนีเซียได้เปิดโอกาสให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs และประชาชนมีงานทำมากขึ้น การให้บริการ ride-hailing ได้รับความนิยมอย่างมากในอินโดนีเซีย ส่งผลให้มีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเป็นห้าเท่า ทั้งนี้ในปี 2561 ยูนิคอร์นของอินโดนีเซียมีเงินทุนทั้งสิ้น 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่ผ่านมารัฐบาลอินโดนีเซียวาง Roadmap ในการสนับสนุนเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างต่อเนื่องและชัดเจน ทั้งด้าน  E-commerce, Fintech และสนับสนุนการใช้อินเทอร์เน็ตในการทำธุรกรรมต่างๆ รวมทั้งมาตรการด้านภาษี ทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมและออกกฎระเบียบต่างๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล รวมทั้งการควบคุมการดำเนินงานและการคุ้มครองข้อมูลของผู้บริโภค

เศรษฐกิจดิจิทัลของอินโดนีเซียเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยส่วนใหญ่มาจากภาคอีคอมเมิร์ซและการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค ที่หันมาซื้อสินค้าและบริการออนไลน์เพิ่มขึ้น การท่องเที่ยวออนไลน์ การโฆษณาออนไลน์ รวมถึงการใช้บริการแอพพลิเคชั่นออนไลน์ ทั้งการให้บริการด้านรถจักรยานยนต์รับจ้างและจัดส่ง อาหาร ส่งผลให้มีการพัฒนาด้าน Fintech โดยเฉพาะการใช้กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์เพื่อชำระค่าสินค้าและ บริการเพิ่มขึ้นเช่นกัน

ที่ผ่านมารัฐบาลอินโดนีเซียให้การสนับสนุนเศรษฐกิจดิจิทัลและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ รวมถึงการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อสร้างโอกาสการจ้างงานและการพัฒนาทักษะแรงงานในประเทศให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งกำลังดำเนินการแก้ไขประเภทธุรกิจที่เปิดให้ต่างประเทศสามารถลงทุนในอินโดนีเซีย เพื่อช่วยเปิดโอกาสให้แก่นักลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถลงทุนในอินโดนีเซียในอนาคตได้ด้วย


เห็นได้ชัดว่าภายใต้ความพยายามของอินโดนีเซียในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล วันนี้ผลงานได้ปรากฏชัดขึ้นแล้ว ที่สำคัญยังสามารถลบข้อด้วยบางจุดในด้านกฎระเบียบที่เข้มงวดด้านมาตรการทางภาษี และก่อตั้งธุรกิจใหม่อันเป็นข้อจำกัดของธุรกิจสตาร์ทอัพภายในประเทศ ที่อาจจะสู้สิงคโปร์ไม่ได้ในแง่ระบบนิเวศที่เอื้อต่อการทำธุรกิจสตาร์ท แต่อินโดนีเซียมีโครงสร้างพื้นฐานและประชากรที่โดดเด่น รัฐมีแผนการพัฒนาที่ชัดเจน และธุรกิจมีความพร้อมที่เอื้อต่อการทำธุรกรรมออนไลน์ในทุกประเภทที่เหนือกว่าสิงคโปร์อย่างไม่ต้องสงสัย

 

แหล่งอ้างอิง  : รายงานเศรษฐกิจดิจิทัลของอินโดนีเซีย  จัดทำโดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงจาการ์ตา 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


ส่องธุรกิจสตาร์ทอัพที่จะปังในปี 2020

ส่อง 11 สตาร์ทอัพยูนิคอร์นเกาหลีใต้


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

4 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ Model Innovation เปลี่ยนโลกใบนี้เป็นสีเขียว

4 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ Model Innovation เปลี่ยนโลกใบนี้เป็นสีเขียว

อย่างที่ทราบดีว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมถือเป็นเรื่องใหญ่ระดับโลก ที่ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่ และกลายมาเป็นโจทย์สำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ…
pin
2314 | 14/02/2023
ไม่ดูตอนนี้ รู้อีกทีปีหน้า! ส่องเทรนด์ธุรกิจมาแรง ที่ SME ห้ามพลาดใน ปี 66

ไม่ดูตอนนี้ รู้อีกทีปีหน้า! ส่องเทรนด์ธุรกิจมาแรง ที่ SME ห้ามพลาดใน ปี 66

หลังจากไทยเผชิญการระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ผู้คนปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต หลายหน่วยงานที่เกี่ยวกับธุรกิจการค้าต่างออกมาวิเคราะห์เทรนด์ธุรกิจที่มาแรงในปี…
pin
4515 | 19/01/2023
ตอบโจทย์ Aging Society! นักวิจัยไทยคิดค้น ‘MONICA’ เกมกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผู้ประกอบการต่อยอดไอเดียได้

ตอบโจทย์ Aging Society! นักวิจัยไทยคิดค้น ‘MONICA’ เกมกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผู้ประกอบการต่อยอดไอเดียได้

‘ไทย’ ได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์แล้ว คิดเป็นประมาณ 18.3% ของประชากรทั้งหมด และไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอดเช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่มีประชากรอายุ…
pin
2285 | 22/12/2022
เจาะลึก Digital Economy แดนอิเหนา